รับมือภัยแล้ง เตรียมพร้อมติดตั้ง 'แท็งค์น้ำ-ถังเก็บน้ำ' |
เพราะ “น้ำดื่ม”คือสิ่งจำเป็นสิ่งแรกสำหรับการดำรงชีวิตในภาวะสถานการณ์ภัยพิบัติ
ดังนั้นในภาวะปกติการเก็บกักตุนน้ำให้พอเพียงกับการใช้งานในวันที่น้ำไม่ไหล หรือในภาวะภัยแล้ง
จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเหมือนเช่นบ้านไทยในอดีตที่มักมีตุ่มน้ำเรียงรายเก็บกักน้ำฝนไว้ดื่มกิน
แต่รูปแบบในวันนี้อาจเปลี่ยนจากตุ่มเรียงแถว มาเป็น “แท็งค์น้ำ – ถังเก็บน้ำ”
ใบใหญ่ที่แค่เพียงปล่อยน้ำเข้า ก็มีน้ำใช้ไปได้นาน แล้วแท็งค์น้ำขนาดเท่าใดกัน
จึงจะเหมาะและพอเพียงกับสมาชิกในแต่ละครอบครัว
มาทำความรู้จักกับแท็งค์น้ำว่าแท็งค์แบบใดที่จะเหมาะกับครอบครัวของเรา
รูปแบบของแท็งค์น้ำ
แท็งค์น้ำมีด้วยกันหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน สถานที่ติดตั้ง
ขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละบ้าน รวมถึงงบประมาณที่พอเหมาะพอควร
|
Stainless Steel Tank
ถังเก็บน้ำแบบสแตนเลส ทนแดด ทนฝน นำ้หนักน้อย ไม่เป็นสนิม ไม่เกิดกลิ่น
เมื่อเก็บน้ำเป็นเวลานานติดตั้งและทำความสะอาดง่าย มีท่อระบายตะกอนที่ก้นแท็งค์น้ำ ข้อควรระวัง
ควรระวังเรื่องรอยเชื่อมต่ออาจเกิดการรั่วซึมและเป็นสนิมได้ ไม่เหมาะกับการบรรจุน้ำกร่อย
น้ำทะเล
FiberGlass Tank
ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เหมาะกับระบอุตสาหกรรม ติดตั้งได้ทั้งแบบบนดินและฝังดิน ไม่เป็นสนิม
ซึ่งเป็นถังที่ไม่ควรเก็บน้ำดื่ม ข้อควรระวัง
ในการใช้งานระยะยาวใยไฟเบอร์กลาสอาจเสื่อมและหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำทำให้มีกลิ่นเหม็น
ทำความสะอาดยาก และมีน้ำหนักมากเคลื่อนย้ายลำบาก
|
|
Polymer ELIXIR Tankถังเก็บน้ำโพลีเมอร์ ทนต่อแสงอัลตราไวโอเลต
ไม่แตกกรอบง่าย ทึบแสง ไม่เป็นตะไคร่ เหมาะที่จะใช้เพื่อเป็นถังเก็บน้ำโดยเฉพาะ
มีรูปทรงและสีสันสวยงามเหมาะกับบ้านยุคใหม่ทุกสไตล์ ข้อควรระวัง ล้างตะกอนยาก
เพราะท่อระบายน้ำอยู่ด้านข้างของถัง ต้องระวังเรื่องข้อต่อต่างๆ อาจหลุดออกจากกันได้ง่าย
ตัวถังมีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายและติดตั้งยาก
PE Tankถังเก็บน้ำพลาสติก
ทนการกัดกร่อนของกรดและสารเคมีบางชนิดได้ ไม่มีรอยต่อ ไม่เป็นสนิม มีทั้งแบบบนดินและฝังดิน
ซึ่งถ้าเป็นพลาสติกเกรดดีๆ ก็สามารถบรรจุน้ำดื่มได้ ข้อควรระวัง อาจมีเมือกลื่นเกาะในถัง
ทำความสะอาดยาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวก มีกลิ่นเหม็นของเนื้อ
|
|
แท็งค์น้ำขนาดไหนที่เหมาะกับครอบครัวเรา
โดยเฉลี่ยแล้ว หนึ่งคนจะใช้น้ำอยู่ที่ 200 ลิตร/วัน/คน
ซึ่งน้ันหมายความว่าขนาดถังเก็บน้ำสำรองก็ควรจะคิดจากปริมาณของสมาชิกในบ้านคูณด้วยปริมาณการใช้น้ำต่อวัน
(เมื่อได้ผลลัพธ์ควรคูณด้วย 2 อีกที เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉินน้ำไม่ไหลมากกว่า 1 วัน)
ส่วนถังเก็บน้ำฝน ขอให้เลือกขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีพื้นที่จัดวาง
เพราะต้องเก็บน้ำฝนให้ได้มากพอสำหรับการรอหน้าฝนอีก 1 ปี ข้างหน้า
การติดตั้งที่ต้องรู้
เมื่อได้แท็งค์น้ำที่ต้องการแล้วตำแหน่งการจัดวางและติดตั้งต้องรู้ด้วยว่าบ้านของเราจะติดตั้งแท็งค์ไว้ตรงไหนได้
ที่สำคัญแท็งค์น้ำขนาดใหญ่จะขนเข้าบ้านได้อย่างไรนั้นห้ามละเลยเด็ดขาด ว่าจะขนข้ามรั้ว
ยกผ่านประตูบ้านได้หรือไม่
|
|
|
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก
เพื่อเพิ่มรายการโปรดของคุณ