รู้เรื่องสายไฟ ปลอดภัยอย่างมืออาชีพ

ในเรื่องของกระแสไฟฟ้า เป็นเรื่องที่สำคัญมากหากทำผิดพลาด อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต ทั้งการติดตั้ง การเลือกใช้ต้องใส่ใจและระมัดระวัง ทำให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยอย่างที่สุด กระแสไฟฟ้าที่เราใช้ภายในบ้านนั้น เป็นกระแสไฟที่ถูกส่งมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านสายส่ง สายไฟ มิเตอร์วัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เข้าสู่ตู้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งการติดตั้งหรือเดินสายไฟภายในบ้านก็จะประกอบด้วย ตู้เมน สายส่งไฟฟ้า สายไฟฟ้า สายดิน และมิเตอร์ไฟฟ้า

ทำความรู้จักอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า หรือเซอร์กิต คือ ชุดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าธรรมดาเส้นหนึ่ง ซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟไปยังตัวรับกระแสเทคนิคการติดตั้งแผงวงจรไฟฟ้า
  1. กำหนดจำนวนปลั๊กกระแสไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ทั้งห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ฯ ว่าแต่ละห้องต้องมีปลั๊กกี่จุด ติดตั้งตัวตัดกระแสไฟฟ้า เบรกเกอร์และตัวตัดไฟฟ้าดูด เบรกเกอร์ในแต่ละปลั๊ก

  2. กำหนดจำนวนของสวิตซ์ (อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิด) ว่ามีกี่จุด จากนั้นติดตั้งตัวเบรกเกอร์ไว้ในแต่ละปลั๊ก

  3. กำหนดขนาดของแผงวงจรให้เผื่อการเพิ่มขยายในอนาคตอย่างน้อย 25%
แผงควบคุมหลัก (ตู้ไฟฟ้า) คือ ตู้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าชนิดต่างๆ เช่น เบรคเกอร์ ช่วยตัดไฟเวลาเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

ตัวนำไฟฟ้า คือ สายไฟ หรือสิ่งที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า

กล่องสวิตซ์ ใช้เพื่อกำหนดจัดวางต้นกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากสายหลักและเพื่อติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการเดินสายไฟฟ้า เช่น ปลั๊ก สวิตซ์

ปลั๊ก คือ อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ โดยการเสียบเข้ากับเต้ารับที่กล่องสวิตซ์

สวิตซ์ คือ อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดของแหล่งกำเนิดแสง หรือควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ที่ต้องเปิดกระแสไฟฟ้า เช่น ปั๊มน้ำ

หลอดไฟและดวงโคมต่างๆ คือ แหล่งกำเนิดแสงสว่างโดยรับพลังงานกระแสไฟฟ้ามาจากจุดปล่อยกระแสไฟภายในบ้าน

สายดิน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเดินสายไฟฟ้า เพราะสายดินจะปล่อยกระแสไฟฟ้าลงสู่ใต้ดิน เมื่อเกิดไฟรั่ว ไฟช็อต โดยไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมนุษย์ ฉะนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องไม่ลืมติดตั้งสายดินด้วย

เทคนิคการติดตั้งสายดิน

  1. ปลั๊กแบบสามขา ห้ามหักหรือเอาขาที่สามของปลั๊กออก เพราะนั้นคือสายดิน ซึ่งเต้ารับก็ต้องเป็นเต้ารับที่มีสามช่องด้วย

  2. เชื่อมต่อสายไฟทั้งหมดกับโครงสร้างโลหะแล้วทิ่มลงในดินในปริมาณความลึก กว่า 10 ฟุต (ต้องไม่มีอะไรกีดขวางแท่งโลหะที่ใต้ดิน เพื่อให้กระแสไฟ ไหลลงสู่พื้นดินได้สะดวก)

  3. มีสวิตซ์หรือเบรคเกอร์ ที่ตัดกระแสไฟฟ้าทันทีที่มีกระแสไฟรั่วหรือลัดวงจร

  4. ในพื้นที่ปิดและเปียกชื้น เช่น ห้องน้ำ ระบบท่อทั้งหมดควรเชื่อมต่อกับหลักดินหรือสายดินเพื่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำร้อน น้ำเย็น ท่อระบายน้ำ ท่อส่งความร้อน ท่อส่งแก๊ส

สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและความผิดปกติของการใช้ไฟฟ้า

การใช้ไฟฟ้ามากเกินไป เป็นความผิดปกติที่เกินจากมีกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเกินกว่าปกติ เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป โหลดหรือเชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าเดียวกัน ทำให้รางร้อยสายมีความร้อนสูงกว่าปกติ ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการที่สายเฟสและสายนิวทรัลของตัวนำไฟฟ้า (สายไฟ) มาสัมผัสกันโดยไม่มีฉนวนป้องกัน ซึ่งเกิดจากความทรุดโทรม ระหว่างเกิดการลัดวงจร ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นมากทำให้ตัวนำไฟฟ้าหรือคอนดักเตอร์ละลายในจุดที่มีการสัมผัสกัน เกิดความร้อนสูงและประกายไฟ เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งเทอร์โม-แมกเนติกเซอร์กิตเบรกเกอร์แบบอัติโนมัติ ช่วยตัดกระแสไฟฟ้า การชำรุดของฉนวน อาจเกิดจากการใช้งาน รอยฉีกขาดที่เกิดขึ้นในตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟสายหนึ่งหรือมากกว่าอยู่ภายใน หรือการประกบหุ้มฉนวนไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดไฟฟ้ารั่ว ส่งผลให้ไฟฟ้าดูดผู้ใช้อุปกรณ์ได้
อุปกรณ์ป้องกัน : ติดตั้งสวิตซ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว เพื่อช่วยตัดกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านร่างกายมนุษย์
 
บทความอื่นๆ
Tips
รู้จักประเภทท่อน้ำและวิธีเดินท่อประปาภายในบ้านและอาคาร
Tips
รู้ก่อนซื้อจะได้ไม่พลาด! ทริคการเลือกซื้อหลอดไฟ LED
Tips
รับมือภัยแล้ง เตรียมพร้อมติดตั้ง 'แท็งค์น้ำ-ถังเก็บน้ำ
Featured Idea
เรียนรู้ Smart Lighting นวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างอัจฉริยะ
Featured Idea
แต่งสวนด้วยไฟสนามโซล่าเซลล์กับ 10 ข้อดีที่ยากจะปฏิเสธ
Featured Idea
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ..เลือกอย่างไรให้ประหยัดไฟ แล้วทุกคนในบ้านได้แฮปปี้
Featured Idea
โคมไฟฮวงจุ้ย' ปรับแต่งให้ถูกหลัก กระตุ้นพลังงานบวก เสริมโชคลาภให้บ้าน
Featured Idea
เรื่องต้องรู้! มาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร
 
เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ