แต่งบ้านเย็น เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ใช้วัสดุกันความร้อน |
การแต่งบ้านเย็น
เป็นเรื่องง่ายๆและสำคัญ เพราะบ้านต้องรับความร้อนโดยตรงยิ่งกว่าเรา
โดยเฉพาะอากาศร้อนแบบบ้านเราที่เรียกได้เลยว่า ร้อนมากและร้อนตลอดเกือบทั้งปี
การเตรียมบ้านให้พร้อมรับความร้อนในประเทศไทยจึงเป็นปัจจัยหลัก
ที่จะช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านให้เย็นลงได้
โดยส่วนใหญ่มักจะจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็จะมีค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น
อีกทั้งความร้อนจากการทำงานของเครื่องได้ส่งผลให้อากาศโดยรอบบ้านร้อนขึ้น
ดังนั้นการเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับร้อนนี้จึงไม่ใช่แค่การคลายร้อนจากภายใน
แต่ต้องเริ่มกันที่ตัวบ้านตั้งแต่ภายนอก เพื่อให้ภายในบ้านนั้นเย็นจริง
โดยมีหลากหลายวิธีการแต่งบ้านเย็นและการใช้วัสดุกันความร้อนที่เจ้าของบ้านสามารถนำไปทำเอง
|
รู้จักเลือกนวัตกรรมวัสดุกันความร้อนรอบบ้าน
บริเวณพื้นรอบบ้าน สามารถใช้วัสดุกันความร้อนแบบบล็อกปูพื้น Cool Plus
แทนการเทพื้นด้วยซิเมนต์
ซึ่งผิวด้านบนของ Cool Plus นั้นจะช่วยดูดซับน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ในตัวก้อน
เมื่อมีความร้อนหรือแสงแดดมากระทบที่ตัวก้อน จะทำให้น้ำที่กักเก็บไว้ในตัวก้อน ค่อยๆ
ระเหยกลายเป็นไอออกมาช่วยให้อุณหภูมิโดยรอบลดลงและรู้สึกเย็นสบาย ข้อแนะนำคือ ควรปูบล็อก Cool
Plus โดยใช้พื้นที่ขั้นต่ำประมาณ 25 ตารางเมตรจากจุดศูนย์กลาง และโรยทรายบริเวณขอบทั้ง 4
ด้านที่เป็นรอยต่อระหว่างบล็อก เพื่อลดการกระแทก
|
|
เลือกใช้วัสดุกันความร้อนที่ช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อนได้จริง
70% ของความร้อนภายในบ้านมาจากหลังคา
ดังนั้นจึงไม่ควรเสียดายเงินในการวางระบบและเลือกซื้อวัสดุที่ดีที่จะช่วยป้องกันความร้อนที่ไหลมาทางหลังคา
บ้านใหม่ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาป้องกันความร้อนที่สามารถติดตั้งได้ในบ้านสร้างใหม่เท่านั้น
ส่วนบ้านเก่าสามารถป้องกันความร้อนจากหลังคาด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อนจากโถงหลังคาไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านใช้ได้ทั้งบ้านเก่า
และบ้านสร้างใหม่ ข้อแนะนำสำคัญคือ หลังคาทรงจั่วจะสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคาทรงแบน
หรือหลังคาดาดฟ้า ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
|
|
เลือกวัสดุกันความร้อนป้องกันความร้อนจากหลังคา
เพราะหลังคาเป็นจุดรับแดดแบบเต็มพื้นที่
ควรติดฉนวนกันความร้อนช่วยลดอุณหภูมิความร้อนที่จะส่งผลสู่ภายในบ้าน
ซึ่งฉนวนก็มีให้เลือกทั้งแบบที่เป็นวัสดุอลูมิเนียมฟอยล์ , โฟมพอลิเอทิลีน และแบบใยแก้ว
- ฉนวนกันความร้อนแบบอลูมิเนียมฟอยล์ ผิวฟอยล์จะสะท้อนความร้อนได้ดี ทนความชื้น ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย - ฉนวนกันร้อนแบบโฟม คงสภาพเดิมแม้โดนน้ำหรือความชื้น ทนต่อกรดและด่าง น้ำหนักเบา แข็งแรง - ฉนวนกันร้อนแบบใยแก้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าไมโครไฟเบอร์ ที่มีโพรงอากาศเล็กๆ ช่วยให้เก็บกักความร้อนได้ดี รวมถึงช่วยดูดซับเสียงได้ในระดับหนึ่งด้วย และสามารถทนไฟได้ประมาณ 300 องศาเซสเซียส |
|
ทาสีกันร้อนให้ตัวบ้าน อีกทางเลือกยอดนิยมของวัสดุกันความร้อน
โดยรอบตัวบ้านก็สามารถรับความร้อนได้ไม่แพ้ความร้อนจากหลังคา การป้องกันความร้อนให้ตัวบ้าน
ด้วยการทาสีให้ช่วยสะท้อนแสง
จึงเป็นอีกตัวช่วยให้อุณหภูมิภายในลดลงได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นสีโทนอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสง เช่น สีเบจ สีครีม หรือสีขาว กลุ่มสีโทนอ่อนจะช่วยสะท้อนแสงได้ดีกว่าสีโทนเข้ม - เลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างทำความสะอาดได้ เมื่อมีคราบสกปรกหรือคราบน้ำกระเด็น |
|
ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าต่าง - ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าต่าง
- ติดกันสาดช่วยบังแสง - ลดแสงด้วยการติดกันสาดเฉียงประมาณ 45 องศา บริเวณหน้าต่างที่ได้รับแสงมากจะช่วยลดแสงที่เข้ามาในห้องได้ถึง 65-77% วัสดุกันความร้อน หลีกไป แค่ปลูกต้นไม้ง่ายๆ ติดระแนงช่วยบังแสง
รอบบ้านควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดปริมาณแสงแดดที่จะส่องเข้าสู่ตัวบ้าน หรือติดระแนงไม้
ช่วยบังแสงในส่วนที่ต้องรับแสง ทั้งยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์จากออกซิเจนที่ไหลเวียนรอบบ้าน
การทำสวนแนวตั้ง การทำน้ำตก น้ำพุ จะช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้นโดยตรง
|
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก
เพื่อเพิ่มรายการโปรดของคุณ