'ฉนวนกันความร้อน' คือ? เลือกแบบไหนคลายร้อนให้บ้านคุณ |
"ฉนวนกันความร้อน" (Insulation) คือ วัสดุป้องกันความร้อน
โดยการต้านทานพลังงานความร้อนให้เหลือลดน้อยลงก่อนส่งผ่านกระทบวัตถุอื่นๆ โดยวงการ
“วัสดุก่อสร้าง”นิยมติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว, อลูมิเนียมฟอยล์, แผ่นสะท้อนความร้อน ,
โฟมกันความร้อน ชนิดต่างๆ เพื่อการป้องกันความร้อนใต้หลังคา ฝ้าเพดาน และผนังบ้าน
อีกทั้งยังช่วยคุณประหยัดพลังงานพัดลมแอร์และเซฟเงินค่าไฟได้อีกด้วย
แต่...คุณรู้ข้อมูลคุณสมบัติฉนวนแต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน
แล้วควรเลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้คลายร้อนให้บ้านและอาคารของคุณ HomeGuru มีคำตอบ ?
|
ฉนวนกันความร้อน แต่ละประเภทการใช้งาน?
1.1 ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น
ฉนวนกันความร้อน
แบบแผ่นเป็นที่นิยมสำหรับวงการวัสดุก่อสร้าง เพราะฉนวนกันความร้อนราคามีหลายระดับ หาซื้อง่าย
ติดตั้งง่ายได้ด้วยตนเองในบางกรณี แต่ควรสวมหน้ากากและชุดป้องกันให้มิดชิด
ส่วนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นควรติดตั้งไว้ฝ้าเพดานหรือใต้หลังคาบ้านในระยะสูงกว่า 1
เมตรขึ้นไป โดยวัสดุกันร้อนประเภทนี้มี 4 ชนิด ได้แก่
|
|
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiber Glass) หรือ
ไมโครไฟเบอร์ใยแก้วช่วยดูดซับความร้อนและดูดซับเสียงสะท้อน
พร้อมหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ซึ่งฉนวนชนิดนี้ได้รับความนิยมมาก
เนื่องจากเป็นฉนวนกันความร้อนราคาไม่สูงมาก ทนความร้อนสูง ปลอดภัยไม่ติดไฟ มีความหนายืดหยุ่น
ป้องกันความชื้น แมลงหรือเชื้อรา ติดตั้งง่ายได้ด้วยตนเองได้ทั้งบนฝ้า ใต้หลังคา และผนังบ้าน
สำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใยแก้ว ต้องไม่มีรอยฉีดขาด หากพบปัญา ควรใช้เทปกาวปิดให้สนิท
เพื่อป้องกันการเกิดความชื้นจนทำให้ฉนวนใยแก้วเสื่อมประสิทธิภาพ : สินค้าฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
|
|
ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือ
"แผ่นสะท้อนความร้อน" มีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่ลามไฟ
ติดตั้งง่ายไว้ใต้หลังคาโดยใช้คู่กับอลูมิเนียมฟอยล์เทป
อีกทั้งยังเป็นฉนวนกันความร้อนราคาถูกกว่าฉนวนใยแก้ว จึงได้รับความนิยม
ส่วนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ ควรเลือกแบบหุ้มฟอยล์ 2 ด้าน
เพื่อป้องกันการติดไฟและช่วยสะท้อนความร้อนสูงสุด และติดตั้งคู่กับฉนวนใยแก้ว
เพื่อช่วยการดูดซับความร้อนได้ดียิ่งขึ้น : สินค้าฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ราคาถูก
|
|
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam)
หรือ โฟม PE เป็นแผ่นโฟมกันความร้อนแบบหนา เหนียว นุ่ม
พร้อมหุ้มแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน มีน้ำหนักเบา ทนแรงกระแทก
ทนการกัดกร่อนของกรดและความชื้น ไม่ลามไฟ เป็นที่นิยมตามโรงงาน
แต่ระยะหลังวงการวัสดุก่อสร้างเลือกติดตั้งไว้บนฝ้าและใต้โครงหลังคาบ้านมากขึ้น
เพราะเป็นฉนวนกันความร้อนราคาค่อนข้างถูก ติดตั้งง่าย และป้องกันความร้อนได้ดี :
สินค้าฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน PE
|
|
ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือ
โฟม PS, โฟม EPS, โฟมขาว, แผ่นฉนวนสำเร็จรูป
มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกพร้อมหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์ทั้งสองด้าน
เป็นโฟมกันความร้อนและความเย็นได้ในตัวและไม่ลามไฟ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายง่าย
มีจำหน่ายทั้งแบบแผ่นหรือติดคู่แผ่นยิปซัม
และยังสามารถทำเป็นฝ้าเพดานหรือต่อเติมผนังบ้านได้โดยไม่ต้องติดฉนวนอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย
|
|
1.2. ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นและแบบพ่น
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane Foam)
หรือ โฟม PU หรือ โฟมเหลือง เป็นโฟมกันความร้อน ทนความชื้น ทนกรดด่าง กันสนิม อุดรอยรั่วซึม
ไม่ลามไฟ ซึ่งมีทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น
โดยแบบแผ่นผลิตด้วยการฉีดสารเคมีโพลียูริเทนเคลือบแผ่นหลังคาแต่ละประเภท
มีจำหน่ายทั่วไป-ติดตั้งง่าย ส่วนแบบพ่นใช้ฉีดบนฝ้า บนหลังคา และใต้หลังคา ติดตั้งยุ่งยาก
ต้องใช้บริษัทช่างเชี่ยวชาญ
|
|
1.3.ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น
ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น หรือ เรียกว่า โฟมกันความร้อน
เป็นที่นิยมสำหรับอาคารและโรงงาน และการติดตั้งฉนวนความร้อนราคาค่อนข้างสูง
เนื่องจากติดตั้งยุ่งยาก ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ แต่ข้อดี คือ
สามารถฉีดพ่นโฟมเข้าถึงได้ทุกจุดทุกซอกมุมตามต้องการ
พร้อมยังใส่สารกันแมลงต่างๆจึงไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบแผ่น
ทั้งนี้ วัสดุกันร้อนประเภทนี้มี 2 ชนิด ได้แก่
|
|
|
|
คุณสมบัติค่ากันความร้อนของฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนมีค่ากันความร้อนระบุไว้ในฉลากของบรรจุภัณฑ์ แนะนำให้ดู 2 ค่าสำคัญ คือ ค่า
R ค่าการต้านทานความร้อน (Resistivity) กับ ค่า K
ค่าการนำพาความร้อน ( K-value หรือ conductivity) โดยฉนวนกันความร้อนที่ดี ควรมี ค่า
R มาก และ ค่า K น้อย เพื่อประสิทธิภาพการกันความร้อนที่สูงสุด
ทั้งนี้ หากสนใจสินค้าฉนวนกันความร้อนราคาถูก : คลิ๊ก หรือ
สินค้าวัสดุก่อสร้างหรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน : คลิ๊ก
และสินค้ารายการอื่นๆพร้อมโปรโมชั่นและบริการหลังการขาย สามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ที่ Homepro
Online หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูล Call Center Homepro 1284
|
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก
เพื่อเพิ่มรายการโปรดของคุณ