ทำไม ค่าไฟแพงผิดปกติ? สาเหตุเกิดจากอะไร ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่าง ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นได้
ในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงที่ Work From Home นับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น เพราะมีอัตราการใช้ไฟมากกว่าปกติ ถ้าทำงานไปพร้อม ๆ กับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูง ก็ยิ่งทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนมากแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูง ทำให้มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าแพง คือ • เครื่องปรับอากาศ และคอมเพลสเซอร์ • พัดลมไอน้ำ • เครื่องฟอกอาอากาศ • ตู้เย็น • ไมโครเวฟ แน่นอนว่า ในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงที่มีการ Work From Home จะทำให้อัตราการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เช่น การเปิด-ปิด ตู้เย็นบ่อยครั้ง หรือการแช่ของหรือตุนของกินเอาไว้ในตู้เย็นในปริมาณมาก ยังไม่นับรวมถึงเครื่องปรับอากาศที่จะทำงานหนักตามอุณหภูมิภายนอก เพราะฉะนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ค่าไฟแพงผิดปกติ ได้ค่าไฟแพงผิดปกติ จากโครงสร้างอัตราค่าไฟ
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โครงสร้างอัตราค่าไฟของบ้านเราจะคิดแบบขั้นบันได หรือก็คืออัตราก้าวหน้า หมายความว่า ยิ่งใช้ไฟเยอะมากเท่าไหร่ ค่าไฟก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยอัตราการเก็บค่าไฟสามารถสรุปได้ดังนี้ 1.1 หน่วยที่ 0 – 150 อัตราหน่วยละ 3.2484 บาท 1.2 หน่วยที่ 151 – 400 อัตราหน่วยละ 4.2218 บาท 1.3 หน่วยที่ 400 ขึ้นไป ราคาหน่วยละ 4.4217 บาท นอกจากนี้ หากเป็นบ้านหลังใหญ่ที่รับไฟ 3 เฟสจากการไฟฟ้า มีการติดตั้งมิเตอร์แบบ TOU หรือ Time of use จะมีการคิดค่าไฟต่อหน่วยแตกต่างออกไป โดยจะคิดตามช่วงเวลาของวัน • On Peak จ – ศ เวลา 09.00 – 22.00 น. หน่วยละ 5.7982 บาท • Off Peak จ – ศ เวลา 22.00 – 09.00 น. หน่วยละ 2.6369 บาท • วันหยุดเสาร์อาทิตย์ คิดตามราคา Off Peak สำหรับการคิดค่าไฟฟ้าจะนำหน่วยเหล่านี้มาคูณ พร้อม ๆ ค่าบริการ ค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft) ส่วนลดค่าไฟ และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เพราะฉะนั้น หากใช้ไฟมากขึ้นหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักมากกว่าเดิม ก็สามารถทำให้ ค่าไฟแพงผิดปกติ จากเดิมได้หน้าร้อน สาเหตุที่ทำให้ ค่าไฟแพงผิดปกติ
อีกหนึ่งสาเหตุของ ค่าไฟแพงเกิดจาก อุณหภูมิในหน้าร้อน โดยเฉพาะบ้านหรือคอนโดที่เปิดแอร์เป็นประจำ ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิภายนอกร้อนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้คอมเพลสเซอร์แอร์ทำงานหนักมากขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะเปิดแอร์อุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม ซึ่งจากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง จะพบว่าในปี 2561 – 2563 หน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยสูงมากขึ้น นับตั้งแต่เดือน เมษายน - มิถุนายน ซึ่งก็สอดคล้องกับอุณหภูมิในหน้าร้อนที่สูงขึ้น จนนำมาสู่อัตราค่าไฟที่สูงตามไปด้วยมาตรการลดค่าไฟฟ้าจากภาครัฐ
บางครั้งสาเหตุของ ค่าไฟแพงเกิดจาก มาตรการลดค่าไฟของภาครัฐเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกรณีที่เราคิดว่าใช้ไฟน้อยกว่าเดิมแต่ต้องจ่ายเท่าเดิม ซึ่ง HomeGuru จะขออธิบายมาตรการดังกล่าวนี้ให้เข้าใจกันมากขึ้น • ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย ใช้ไฟฟ้าฟรีใน 90 หน่วยแรก • เกิน 150 หน่วย แต่น้อยกว่าหรือเท่ากับค่าไฟฟ้าในเดือน เม.ย. 64 คิดค่าไฟตามจริง • มากกว่าค่าไฟเดือน เม.ย. 64 แต่ไม่เกิน 500 หน่วย คิดค่าไฟเท่าเดือน เม.ย. 64 • มากกว่าค่าไฟเดือน เม.ย. 64 ตั้งแต่ 500 – 1,000 หน่วย คิดเท่ากับเดือน เม.ย. 64 แต่บวกส่วนเกิน 50% • มากกว่าค่าไฟเดือน เม.ย. 64 ตั้งแต่ 1,000 หน่วยขึ้นไป คิดค่าไฟเท่ากับเดือน เม.ย. 64 แต่บวกส่วนเกิน 70% อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกว่าค่าไฟจากใบแจ้งค่าไฟฟ้าที่ใช้ ไม่สัมพันธ์กับการใช้จริง มีอัตราการจ่ายที่มากผิดปกติ จนรู้สึกว่าเกิดจาก ไฟรั่วค่าไฟแพง หรือไม่ อาจจะต้องแจ้งไปที่การไฟฟ้าเพื่อให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่หากเกิดจากความผิดปกติของมิเตอร์ไฟฟ้า หรือจากระบบไฟของการไฟฟ้า ก็จะได้รับการชดเชยในส่วนนี้ให้เทคนิคง่าย ๆ กับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ “ประหยัดไฟ”
ถึงแม้ว่าหน้าร้อนจะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นจากการทำงานหนักของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการ Work From Home จะทำให้ต้องใช้ไฟมากกว่าเดิม แต่การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน ซึ่งวันนี้เราจะนำเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณสามารถประหยัดค่าไฟได้1. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ
อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ควรใช้คือ 25 หรือ 26 องศา ตามการแนะนำของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับร่างกาย แต่หากมีความรู้สึกว่าไม่ค่อยเย็น อาจจะเลือกเปิดพัดลมเพื่อเพิ่มความเย็น เนื่องจากพัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่กินไฟ ช่วยทำให้ค่าไฟถูกลงได้ หรืออาจะใช้ Dehumidifier เพื่อลดความชื้นในห้อง ทำให้ประหยัดไฟเพิ่มขึ้น2. ล้างแอร์ปีละ 2 ครั้ง เป็นอย่างต่ำ
การล้างแอร์หรือทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ควรล้างอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี เป็นอย่างต่ำ เพื่อทำให้ตัวเครื่องสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้ เฉลี่ย 5% – 7% ต่อปี3. หากใช้ตู้เย็นบ่อย ควรเช็กขอบยางประตู
เชื่อหรือไม่ว่า ค่าไฟแพงเกิดจาก การเปิด-ปิด ประตูตู้เย็นบ่อยครั้งเช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้เครื่องทำงานหนักแล้ว การเปิด-ปิด บ่อยเกินไป ก็ทำให้ขอบยางปิดไม่สนิทดี จนทำให้ตู้เย็นกินไฟตามไปด้วย4. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายเครื่อง
ถึงแม้การอยู่บ้านจะพ่วงมากับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่าง แต่ขอแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการใช้พร้อม ๆ กัน ในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ ค่าไฟแพงผิดปกติ ไปจากเดิมได้ เช่น การเปิดทีวีพร้อมกันหลายเครื่อง ในกรณีที่สมาชิกในบ้านแยกกันดูทีวี นอกจากนี้ กรณีที่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ไดร์เป่าผม ฯลฯ และหากไม่ได้ใช้ก็ควรถอดปลั๊กหรือปิดสวิตช์ทุกครั้ง เพื่อตัดวงจรไฟและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร5. เปลี่ยนหลอดธรรมดา ให้กลายเป็นหลอด LED
อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณเซฟค่าไฟได้ ก็คือ การเปลี่ยนหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ภายในบ้าน ให้กลายมาเป็นหลอดไฟแบบ LED เพราะหลอดไฟประเภทนี้จะกินไฟน้อยกว่า แถมยังใช้งานได้นานกว่าเช่นกันสอบถามบริการเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service : https://bit.ly/3Bj8Yzs