ซีเมนต์กันซึม ช่วยป้องกันบ้านร้าวรั่วซึม
ระบบกันซึมของซีเมนต์กันซึม โดยทั่วไปแบ่งออกดังนี้
- ประเภทสารผสมเพิ่ม (Waterproof Admixture) ใช้ผสมลงในระหว่างการผสมคอนกรีต - ประเภทสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต (Waterproofing by Crystallization) ระบบกันซึมประเภทนี้มีทั้งชนิดที่เป็นผงและน้ำยา โดยเมื่อสารเคมีเข้าไปในเนื้อคอนกรีต จะเกิดการสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต ผลึกที่เกิดขึ้นช่วยทำให้คอนกรีตมีลักษณะทึบมากขึ้น สามารถป้องกันการรั่วซึมอันเกิดจากรูพรุนในเนื้อคอนกรีตได้การเตรียมพื้นผิวสำหรับซีเมนต์กันซึม
- ใช้ป้องกันการรั่วซึมได้ทั้งภายนอก และภายในอาคาร
- ใช้ได้กับพื้นผิวหลายประเภท เช่น คอนกรีต, ปูนฉาบคอนกรีต, อิฐบล็อก เป็นต้น
- พื้นผิวต้องแข็งแรงสะอาดปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน เศษปูน สีที่หลุดลอก และสิ่งสกปรกอื่นที่ส่งผลต่อการยึดเกาะควรซ่อมรอยแตกร้าว
- หากพื้นผิวมีรู โพรง รอยร้าว ควรซ่อมแซมพื้นที่เสียหายก่อน
- พรมน้ำเพื่อบ่มพื้นผิวให้ชื้นก่อนการทำงาน โดยขณะทำงานไม่ควรมีน้ำขัง
ระบบกันซึมของซีเมนต์กันซึม โดยทั่วไปแบ่งออกดังนี้
- ประเภทสารผสมเพิ่ม (Waterproof Admixture) ใช้ผสมลงในระหว่างการผสมคอนกรีต - ประเภทสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต (Waterproofing by Crystallization) ระบบกันซึมประเภทนี้มีทั้งชนิดที่เป็นผงและน้ำยา โดยเมื่อสารเคมีเข้าไปในเนื้อคอนกรีต จะเกิดการสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต ผลึกที่เกิดขึ้นช่วยทำให้คอนกรีตมีลักษณะทึบมากขึ้น สามารถป้องกันการรั่วซึมอันเกิดจากรูพรุนในเนื้อคอนกรีตได้การผสมปูนซีเมนต์กันซึม
การผสมซีเมนต์กันซึม ตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วน A (ซีเมนต์) ส่วน B (อะคริลิคโพลิเมอร์) A/B=3/1 จากนั้นทำให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยเครื่องผสม หลังผสมแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 30 นาที เมื่อส่วนผสมเริ่มแข็งตัวห้ามเติมน้ำโดยเด็ดขาด และทิ้งไว้ให้แห้งสนิทประมาณ 7 วัน คำแนะนำในการใช้งานซีเมนต์กันซึม- ทำความสะอาดเครื่องมือต่างๆ ทันทีด้วยน้ำสะอาด
- ไม่ควรทำงานกลางแดดจัด หรือทำงานบนพื้นผิวที่ร้อน
- ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรด
สอบถามบริการ ร้าว รั่ว ซึม เพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284