โฮมกูรู

แก้ปัญหา ดาดฟ้ารั่วซึม ด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณ

แก้ปัญหา ดาดฟ้ารั่วซึม ด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณ
อากาศชุ่มฉ่ำ ลมเย็นที่โชยมาพร้อมฝนตกทุกเช้าเย็น กับพายุที่โหมกระหน่ำ เป็นช่วงฤดูกาลที่ต้องพกร่มเพื่อกันเปียก และสำหรับบ้านที่มีดาดฟ้าคงต้องระวังเรื่องปัญหาหลังคาหรือ "ดาดฟ้ารั่วซึม" เป็นพิเศษ เพราะยิ่งมีฝนตกหนัก พายุเข้าทุกวัน หลังคาดาดฟ้ายิ่งทำงานอย่างหนัก จึงควรใส่ใจในการหาวิธีแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม HomeGuru จึงชวนคุณมาทำความเข้าใจปัญหาว่าจุดไหนที่ไม่ควรมองข้าม และการซ่อมแซมดาดฟ้ารั่วซึมที่ถูกวิธี

สาเหตุดาดฟ้ารั่วซึม?

ทุกคนอาจจะลืมไปว่าหลังคาดาดฟ้าบ้านมีการใช้งานอย่างหนักทั้งลมแดด ลมฝน ฉะนั้นก่อนจะเข้าหน้าฝน จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหมั่นตรวจว่า มีจุดไหนที่หลังคาดาดฟ้ารั่วซึม โดยสังเกตง่ายๆ จากพื้นรอยร้าว รอยแยก รอยแตกบนพื้นดาดฟ้า หรือรอยคราบน้ำที่เกิดการซึม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานวันอาจเกิดดาดฟ้ารั่วซึม  และซึมเข้าไปถึงโครงสร้างเหล็กด้านในได้ จากการที่คอนกรีตเสื่อมสภาพ หรือกันซึมหมดอายุการใช้งาน และอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ดาดฟ้ารั่วซึม คือ ปัญหาช่องระบายน้ำอุดตัน จากสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ทำให้เกิดน้ำขังสะสม และหากมีการน้ำขังอยู่เป็นเวลานานก็จะเกิดรั่วซึมได้โดยปริยาย และน้ำขังเหล่านี้นอกจากจะทำให้ดาดฟ้ารั่วซึมแล้ว ยังอาจส่งผลให้ผนังรั่วซึมตามมาอีกด้วย

วิธีแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม

ส่วนใหญ่ปัญหา ดาดฟ้ารั่วซึมเกิดจากพื้นคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยระบบอะคริลิคมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5 ปี ระบบโพลียูรีเทนประมาณ 10 ปี วิธีเบื้องต้นที่คุณสามารถแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม คือ การกวาดพื้น ขัดทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดชะล้างสิ่งสกปรก หรือฝุ่นละอองต่างๆให้พื้นผิวเรียบ และสะอาดที่สุด มิฉะนั้นฝุ่นละอองจะทำให้เคลือบน้ำยาไม่ติดทน และอย่าลืมขัดล้างพวกตะไคร่น้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา แล้วตรวจสอบพื้นทื่ที่มีรอยแยก รอยร้าว ก่อนซ่อมแซมรอยนั้นๆ ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงทากันซึมทับลงบนพื้นดาดฟ้า ด้วยน้ำยากันซึม หรืออะคริลิกกันซึม
ดาดฟ้ารั่วซึม ดาดฟ้ารั่วซึม ดาดฟ้ารั่วซึม
ดาดฟ้ารั่วซึม

มารู้จักวัสดุประสาน และอุดรอยรั่วซึมที่จำเป็น

ถ้าพูดถึงวิธีแก้ปัญหา ดาดฟ้ารั่วซึม พระเอกและนางเอกของเรื่องนี้คือ ซีเมนต์กันซึม และ อะคริลิกกันซึม สองชนิดนี้มีการทำหน้าที่เหมือนกัน คืออุดรอยรั่วซึม แต่ทั้งสองชนิดนี้มีข้อแตกต่างที่ความหยืดหยุ่น ในการรองรับการรั่วซึม
  • ซีเมนต์กันซึม ปกปิดร้อยร้าวไม่เกิน 0.75 มม. แถมยังสามารถทนแรงดันนํ้าได้มากกว่า 1.5 bar และมีความพิเศษให้แรงยึดเกาะสูงมากกว่า 2 Mpa โดยสามารถทากับกระเบื้องเดิมที่รั่วซึมก่อนปูกระเบื้องใหม่ได้
  • อะคริลิกกันซึม จุดเด่นคือ ป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีตได้ดี ได้มากกว่า 5 เท่า มีความหยืดหยุ่นไม่หลุดล่อน ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง และรังสี UV ได้
ซีเมนต์กันซึม ซีเมนต์กันซึม ซีเมนต์กันซึม

การเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันดาดฟ้ารั่วซึม

เพื่อให้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมหมดไป เราต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นทาง ทั้งการก่อสร้างดาดฟ้าที่ต้องมีการออกแบบให้ดาดฟ้ารองรับทิศทางของน้ำ เมื่อเวลาฝนตกน้ำต้องไม่ขังรวมในจุดๆเดียว ต้องมีความลาดเอียงไปสู่ท่อระบายน้ำได้ตามองศา ต่อมาควรติดตั้งท่อระบายน้ำบริเวณดาดฟ้า ควรใช้ท่อขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 3 นิ้ว และควรมีมากกว่า 2 จุด เพื่อระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว และหมั่นกำจัดเศษใบไม้ เศษผงไม่ให้ปิดกั้นทางระบายน้ำ โดยวัสดุก่อสร้าง ที่เป็นหัวใจหลักอย่างคอนกรีต ควรเลือกคอนกรีตที่มีมาตรฐาน 100% ซึ่งคอนกรีตของดาดฟ้า ควรมีความหนา 12-15 ซม. เพื่อให้มีความทึบน้ำ เพื่อหน่วงน้ำฝนให้ไหลลงท่อระบายน้ำได้หมด
เทปกาวบิวทิว โพลียูรีเทนสำหรับอุดรอย โพลียูรีเทนสำหรับอุดรอย
พูดได้เลยว่า การแก้ไขปัญหาหลังคาหรือ ดาดฟ้ารั่วซึม ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราควรศึกษา และเข้าใจกับปัญหานี้ เพื่อนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม ได้อย่างถูกต้อง เพราะปัญหานี้หากไม่รีบแก้ไขให้ทันท่วงที

ทำให้บ้านเสื่อมประสิทธิภาพ และเกิดผลกระทบไปยังผู้อยู่อาศัยได้โดยตรง


สอบถามบริการแก้ไขดาดฟ้า ร้าว รั่ว ซึม เพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284