ท่อสุขภัณฑ์ไม่ตรง ที่มาหลากปัญหากวนใจ..แก้ได้!
รู้ก่อนแก้ไข..ระบบท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์แบบไหนที่บ้านเราใช้งาน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าระบบท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์นั้นแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ท่อน้ำทิ้งออกผนัง หรือ P-Trap และท่อน้ำทิ้งลงพื้น หรือ S-Trap [caption id="attachment_2508" align="aligncenter" width="640"] ท่อสุขภัณฑ์ไม่ตรง ที่มาหลากปัญหากวนใจ..แก้ได้![/caption] [caption id="attachment_2498" align="aligncenter" width="800"] ลักษณะท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์ P-Trap และ S-Trap[/caption] สำหรับท่อน้ำทิ้งออกผนังนั้น หากมีปัญหาระยะท่อไม่พอดีกัน และตัวบ้านไม่ใช่ผนัง Precast ก็สามารถแก้ไขโดยการเจาะผนังเพื่อเดินท่อใหม่ได้เลยครับ แต่สำหรับท่อลงพื้นจะค่อนข้างแก้ไขปัญหาได้ยากกว่า เพราะในขั้นตอนการก่อสร้างจะมีการเตรียมตำแหน่งท่อไปพร้อมๆ กับการเทพื้นคอนกรีตด้วยครับ ซึ่งวิธีการแก้ไขท่อน้ำทิ้งลงพื้นไม่ได้ระยะ ต้องดูหน้างานประกอบกันว่าเป็นปัญหาไม่ได้ระยะแบบไหน และสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีใดบ้างการสกัดพื้น..แก้ปัญหาระยะท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์แบบลงพื้นได้หรือไม่
การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐานนั้น ท่อน้ำทิ้งจากคอห่านชักโครกต้องเชื่อมต่อแบบแนบสนิทพอดีกับท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้ และมีประเก็นกันกลิ่นสำหรับปิดรอยต่อเพื่อป้องกันการเกิดน้ำรั่วซึมและกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ หากผิดไปจากนี้ นอกจากปัญหาที่ได้กล่าวไปทั้งหมดจะมีโอกาสเกิดขึ้นสูงแล้ว ยังมีผลกับเรื่องความสวยงามของห้องน้ำที่เกิดจากการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ได้ระยะอีกด้วยครับ การแก้ปัญหาที่ช่างส่วนใหญ่นิยมทำในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่ต้องการเปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ใหม่ คือ การสกัดพื้นเพิ่มเติมเพื่อปรับระยะท่อ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการสไลด์รูท่อนั่นเองครับ วิธีการทั่วไปหลังจากการสกัดพื้นบริเวณท่อออกจนเป็นแอ่งคือการนำชักโครกมาวางบนพื้นให้ได้ระยะใหม่โดยไม่ได้สวมกับท่อระบายน้ำ ซึ่งการทำแบบนี้แม้จะมีการใช้แหวนกันกลิ่นหรือยาแนวรอบโถสุขภัณฑ์แล้ว แต่โอกาสเกิดปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์และปัญหาน้ำรั่วซึมทุกครั้งที่มีการกดชำระล้างก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มากครับ [caption id="attachment_2500" align="aligncenter" width="800"] การสกัดพื้น หรือภาพรูท่อที่ทำการสไลด์แล้ว[/caption] ซึ่งหากต้องการแก้ไขด้วยวิธีนี้จริงๆ ก็สามารถทำได้ครับ แต่แนะนำให้ใช้ข้องอ 45 องศา ช่วยในการเชื่อมต่อเพื่อลดพื้นที่ว่างระหว่างท่อตามรอยสกัดพื้น ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้เฉพาะห้องน้ำชั้นบนบางกรณีเท่านั้น เนื่องจากตัวแปรเรื่องเนื้อที่บริเวณพื้นและใต้พื้น ซึ่งต้องทะลวงพื้นเพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสมครับ ข้อควรระวังอีกข้อหนึ่งของการสกัดพื้น คือ ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนเหล็กเสริมที่อยู่ในพื้นคอนกรีต เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาโครงสร้างเนื่องจากประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของตัวบ้านลดลงครับ หากจำเป็นต้องสกัดพื้นส่วนที่มีเหล็กเสริมจริงๆ ควรปรึกษาวิศวกรก่อนลงมือทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในระยะยาวครับถ้าไม่สกัดพื้น..จะแก้ปัญหาท่อน้ำทิ้งสุขภัณฑ์แบบลงพื้นไม่ได้ระยะอย่างไร
โดยส่วนมากแล้ว สุขภัณฑ์ที่มีท่อน้ำทิ้งแบบต่อลงพื้นจะมีระยะห่างจากกึ่งกลางท่อน้ำทิ้งถึงผนังโดยมาตรฐานที่ 30.5 ซม. โดยประมาณ หากระยะห่างมากหรือน้อยกว่านี้จำเป็นต้องทำการแก้ไขก่อนการติดตั้งวัสดุตกแต่งผิวครับ ซึ่งวิธีการแก้ไขก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะห่างว่ามีมากน้อยเพียงใดกรณีระยะท่อน้ำทิ้งห่างจากผนังน้อยกว่า 30.5 ซม.
หากท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้มีระยะอยู่ในช่วง 22-30.5 ซม. แนะนำให้เปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ใหม่ โดยเลือกใช้โถสุขภัณฑ์ที่มีข้อต่อท่อน้ำทิ้งแบบปรับได้ (Adjustable Trap) ซึ่งจะสามาถปรับระยะท่อน้ำทิ้งจากโถสุขภัณฑ์ได้ตามระยะหน้างานในช่วงระยะ 22-30.5 ซม. ครับ แต่หากท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้มีระยะน้อยกว่า 22 ซม. แนะนำให้เปลี่ยนโถสุขภัณฑ์ใหม่ โดยเลือกใช้โถสุขภัณฑ์ที่มีท่อออกผนัง ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบแขวนผนังและแบบวางตั้งพื้น จากนั้นให้ต่อท่อลงพื้นให้ระยะตรงกับท่อที่เตรียมไว้ ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องก่อผนังด้านหลังเพิ่มขึ้นอีกชั้น ดังนั้น ในกรณีห้องน้ำแคบจึงต้องคำนึงถึงพื้นที่ด้านหน้าที่เหลือด้วยว่าสามารถใช้งานได้สะดวกหรือไม่ และควรคำนึงถึงท่อน้ำตันอีกด้วย [caption id="attachment_2504" align="aligncenter" width="800"] ภาพจำลองการแก้ปัญหาแต่ละแบบ[/caption]กรณีระยะท่อน้ำทิ้งห่างจากผนังมากกว่า 30.5 ซม.
หากท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้มีระยะห่างจากผนังเกิน 10 ซม. ขึ้นไป แนะนำให้ก่อผนังหลังโถสุขภัณฑ์เพิ่มอีกชั้น เพื่อไม่ให้ตัวโถสุขภัณฑ์ดูเหมือนวางตั้งลอยๆ อยู่กลางห้องน้ำ โดยอาจก่อผนังให้สูงขึ้นมาตลอดแนวผนัง หรือหากมีงบประมาณไม่มาก อาจก่อผนังขึ้นมาให้ความสูงอยู่ประมาณ 1 ม. แล้วตกแต่งใหม่ให้สวยงาม หรือเจาะช่องสำหรับเก็บของก็ได้ครับ หากท่อน้ำทิ้งที่เตรียมไว้มีระยะห่างจากผนังน้อยกว่า 10 ซม. แนะนำให้แก้ปัญหาเหมือนกันกับช่วงระยะห่าง 10 ซม. ขึ้นไป เพียงแต่ให้กลับด้านแคบของอิฐมอญก่อขึ้นไปแทนด้านปกติ เพื่อลดความกว้างของผนังที่ก่อขึ้นใหม่ หรืออาจก่ออิฐให้สูงขึ้นมาสัก 10 ซม. แล้วเลือกใช้ผนังโครงเบามาช่วยเสริมด้านบนแทนการใช้อิฐทั้งหมด นอกจากจะไม่เป็นภาระกับโครงสร้างเรื่องการรับน้ำหนักเพิ่มแล้วยังช่วยประหยัดเวลาในการก่อสร้างด้วยครับ ส่วนในกรณีที่มีระยะห่างระหว่างท่อน้ำทิ้งกับผนังประมาณ 2-3 ซม. ก็สามารถแก้ปัญหาโดยการเสริมผนังด้านหลังด้วยการฉาบปูนเพื่อเพิ่มความหนาของผนังให้หนาพอดีกับตัวโถสุขภัณฑ์ได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดท่อระบายน้ำตันครับ [caption id="attachment_2502" align="aligncenter" width="640"] ภาพจำลองการแก้ปัญหาแต่ละแบบ[/caption]พอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับว่าการแก้ปัญหาท่อสุขภัณฑ์ไม่ตรง ไม่ยากอย่างที่คิด แต่ทางที่ดีที่สุดคือต้องป้องกันปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างด้วยการตรวจสอบระยะท่อน้ำทิ้งที่ช่างเตรียมไว้ให้ถูกต้องก่อนขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต เพื่อป้องกันปัญหาจุกจิกกวนใจที่อาจเกิดตามมาส่วนในกรณีบ้านมือสองที่พบปัญหานี้ก็สามารถนำความรู้ข้างต้นไปลองปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละบ้านได้เลยครับ
สอบถามบริการติดตั้งสุขภัณฑ์ เพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284