โฮมกูรู

กันก่อนแก้ กับปัญหาดาดฟ้าหลังคารั่ว ที่พบบ่อยช่วงหน้าฝน

กันก่อนแก้ กับปัญหาดาดฟ้าหลังคารั่ว ที่พบบ่อยช่วงหน้าฝน

ช่วงหน้าฝน ปัญหาที่เจ้าของบ้านเจอส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นปัญหารั่วซึมจากน้ำฝนจากภายนอก โดยเฉพาะดาดฟ้าหลังคาที่กว่าจะเจอปัญหารั่วซึม ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสียหายลามไปถึงฝ้าเพดานภายในบ้านแล้ว รู้ตัวอีกทีก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายบานปลายในการซ่อมแซม ดังนั้น อย่ารอให้เกิดปัญหาจนควบคุมไม่ได้ รีบจัดการกับต้นตอของปัญหารั่วซึมก่อนสายเกินแก้

 สิ่งที่เราอาจคาดไม่ถึง เกี่ยวกับสาเหตุของดาดฟ้าหลังคารั่วซึม

1. ดาดฟ้าหลังคารั่วซึมเพราะมีรอยแตกร้าว

รอยแตกร้าวบนพื้นผิวดาดฟ้า สาเหตุเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทั้งจากแสงแดด ความเย็น หรือฝน ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้พื้นผิวคอนกรีตดาดฟ้าหลังคาเกิดการยืดและหดตัวจนเกิดเป็นรอยแตกร้าว หากไม่มีการตรวจสอบและปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำ กันซึมดาดฟ้า เมื่อฝนตกและเวลาผ่านไป น้ำอาจซึมเข้าสู่รอยแตกร้าวจนลึกเข้าไปถึงโครงสร้างจนเกิดเป็นสนิมได้

2. ขอบมุมพื้นและผนังดาดฟ้าหลังคาเกิดรอยแตกร้าว แต่ไม่ได้รับการแก้ไข

รอยต่อตามขอบมุมบนดาดฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอยต่อระหว่างพื้นกับกำแพง ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการรั่วซึม หากปล่อยไว้นาน ไม่จัดการกับรอยต่ออย่างเหมาะสม หรือไม่มีการติดตั้งระบบ กันซึมดาดฟ้า รอยแตกร้าวต่างๆ จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการปกป้อง เมื่อฝนตก น้ำและความชื้นจะสะสมอยู่ตามขอบมุมรอยแตกร้าว ทำให้เกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำ และน้ำซึมเข้าไปสู่โครงสร้างได้เช่นกัน

3. ดาดฟ้าหลังคารั่วซึมเนื่องจากมีการติดตั้งวัสดุอื่นบนดาดฟ้า ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าว

การติดตั้งสิ่งของต่างๆ เช่น แทงก์น้ำหรือการต่อเติมดาดฟ้า ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ดาดฟ้าเกิดการแตกร้าวรั่วซึม การทำระบบ กันซึมดาดฟ้า ที่มีความยืดหยุ่นสูง จะช่วยลดความเสี่ยงที่พื้นผิวจะฉีกขาดจนเกิดเป็นรอยให้น้ำเข้าได้

4. ดาดฟ้าหลังคารั่วซึม เพราะช่องระบายน้ำอุดตัน

สาเหตุนี้เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และแก้ไขได้ง่ายที่สุด แต่เราก็มักจะปล่อยปะละเลยมากที่สุดอีกเช่นกัน ดังนั้น หมั่นขึ้นไปตรวจสอบดาดฟ้าอย่าให้มีเศษใบไม้กิ่งไม้ทับถมช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังบนดาดฟ้า เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องดาดฟ้ารั่วซึมได้เป็นอย่างดี

5. ดาดฟ้าหลังคารั่วซึม เพราะคิดว่ามีการทำกันซึมดาดฟ้า เอาไว้แล้ว จึงไม่ได้จัดการอะไรต่อ

น้ำยาที่ใช้ผสมคอนกรีตตอนนำมาใช้เทสร้างดาดฟ้า ไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันน้ำรั่วซึมอย่างที่เข้าใจ การทำงานของมันคือ ช่วยลดน้ำในคอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีความแน่นและมีความทึบน้ำ น้ำจึงเข้าไปได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในส่วนนี้ถ้าไม่ได้มีการติดตั้งระบบ กันซึมดาดฟ้า เพิ่มเติม เนื้อคอนกรีตก็ยังต้องเผชิญแดด ฝน สุดท้ายแล้วก็จะเกิดการแตกร้าว น้ำรั่วซึมเข้าไปได้เช่นเดิม

ขั้นตอนการทำกันซึมดาดฟ้าหลังคาอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว

1. ทำความสะอาดดาดฟ้าหลังคาเพื่อเตรียมพื้นผิว

ขูดแซะวัสดุกันซึมเดิมและปูนที่เสื่อมสภาพออก รวมถึงขัดล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยแล้วทาน้ำยา เพื่อกำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำบนดาดฟ้าให้หมดไป จากนั้นทิ้งให้แห้งแบบไม่ต้องล้างน้ำออก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

2. อุดโป๊รอยแตกร้าวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม

ใช้ซีลแลนท์ ซึ่งเป็นซีลแลนท์อุดโป๊ที่มีความยืดหยุ่นสูง กันน้ำได้ และทนต่อสภาวะอากาศได้ดีเยี่ยม

3. เริ่มทาอะคริลิกกันซึมแบบผสมน้ำ เพื่อทาเป็นชั้นรองพื้น

ใช้อะคริลิกกันซึมดาดฟ้า เมื่อเปิดฝาแล้ว กวนให้เข้ากัน จากนั้นตักแบ่งออกมาเพื่อผสมน้ำ ใช้อัตรา กันซึมดาดฟ้า 3 ส่วน ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร คนให้เข้ากันกับน้ำ แล้วทาเป็นชั้นรองพื้น อย่าลืมทายกขอบเป็นแนวบัวผนัง ประมาณ 10 เซนติเมตร

4. เสริมความแข็งแรงตามขอบมุม และรอยแตกร้าวบนดาดฟ้าหลังคา

วางแผ่นทีโอเอ ไฟเบอร์ เมช (TOA Fiber Mesh) ตามขอบมุมและตามรอยแตกร้าวต่างๆ ใช้ลูกกลิ้งหรือแปรงรีดแผ่นตาข่าย ทีโอเอ ไพเบอร์ เมช ให้แนบสนิทไปกับ กันซึมดาดฟ้า ที่ทาเป็นชั้นรองพื้น ในขณะที่ชั้นรองพื้นยังหมาดอยู่ เสร็จแล้วทิ้งให้แห้งประมาณ 2-4 ชั่วโมง

5. ทาอะคริลิกกันซึมบนดาดฟ้าหลังคาอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ

เมื่ออะคริลิกกันซึมดาดฟ้า ชั้นรองพื้นแห้งดีแล้ว ให้ทากันซึมดาดฟ้ารูฟเซิล ซ้ำอีก 2 รอบ แบบไม่ต้องผสมน้ำ ในแต่ละเที่ยวการทา ให้ทาไขว้กันตามภาพ เช่น รอบที่ 1 : ทาขึ้นหรือลง แล้วรอแห้ง 2-4 ชั่วโมง รอบที่ 2 : ทาแนวขวางจากซ้ายไปขวา แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย

                                                                   Before                                                                                   After

อะคริลิกกันซึมดาดฟ้า หลังคา เลือกแบบไหนดี?

การเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา นั้นง่ายมาก เพียงแค่ตอบคำถามในใจคุณเองให้ได้ว่า

1.ต้องการความทนทานนานแค่ไหน  2.ลักษณะการใช้งานของชั้นใต้ดาดฟ้าหลังคานั้นเป็นอย่างไร เท่านี้ก็จะเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว

การแก้ไขปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมที่ยังไม่หนักมาก เจ้าของบ้านอย่างเราๆ ยังสามารถทำเองได้ ด้วยการเลือก กันซึมดาดฟ้า หลังคา ที่มีคุณภาพ และทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ แต่ถ้าเกิดปัญหาหนักจนฝ้าบวม ฝ้าทะลุ ควรต้องเรียกช่างที่มีความชำนาญมาช่วยแก้ไข ส่วนบ้านไหนที่ดาดฟ้าไม่รั่วก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ หมั่นขึ้นไปตรวจสอบดาดฟ้าบ่อยๆ ให้แน่ใจว่าดาดฟ้ายังแข็งแรงดี มีรอยแตกร้าวบริเวณไหนบ้าง ป้องกันเอาไว้ก่อนดีกว่าตามมาแก้ไขภายหลังอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ ภาพและบทความจาก www.toagroup.com