โฮมกูรู

รีโนเวทบ้าน ต้องเตรียมตัว..วางแผนยังไงไม่ให้ปัญหาตามมา!

รีโนเวทบ้าน ต้องเตรียมตัว..วางแผนยังไงไม่ให้ปัญหาตามมา!
รีโนเวทบ้าน เรื่องใหญ่ในชีวิตที่วางแผนผิดชีวิตเปลี่ยนได้เลย! เพราะแม้ว่าบ้านจะเป็นวิมานของใครหลายคน แต่บ้านที่ทรุดโทรม ไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมให้เรียบร้อยสวยงามนั้นย่อมเป็นบ้านที่ไม่น่าอยู่อาศัย ไม่ว่าจะในมุมมองของความสวยงาม ความสะดวกสบาย หรือความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินก็ตาม สำหรับคนที่มีบ้านอยู่แล้วการรีโนเวทบ้านจึงเป็นทางออกของทุกปัญหาที่ว่ามา แต่ไม่ว่าจะเป็นการ รีโนเวทบ้านไม้ ที่ผ่านกาลเวลามานาน การ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานมากขึ้น หรือแม้แต่การ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยก็ล้วนแต่ต้องวางแผนให้รอบคอบ เพราะถ้าผิดพลาดไปนิดเดียวก็อาจกระทบกับงานส่วนอื่น ๆ จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ แต่ใครไม่เคยมีประสบการณ์ รีโนเวทบ้าน มาก่อนอาจไม่รู้ว่าต้องวางแผนยังไง HomeGuru เลยมีคำตอบมาให้แล้ว!

• รีโนเวทบ้าน ทั้งทีต้องวางแผนอย่างดี อย่าให้มีปัญหา!

1. ประเมินงบประมาณก่อนเป็นขั้นตอนแรก 2. ตั้งเป้าหมายการรีโนเวทบ้านให้ชัดเจน 3. รวบรวมข้อมูลและหารูปแบบบ้านที่ชอบ 4. ลองหาแหล่งวัสดุด้วยตัวเอง 5. สำรวจพื้นที่ก่อนลงมือรีโนเวท 6. กำหนดขอบเขตของงานรีโนเวท 7. จัดเตรียมงบประมาณล่วงหน้า 8. เลือกผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญ 9. วางแผนการทำงานและติดตามงาน

• ขั้นตอนการวางแผน รีโนเวทบ้าน

อย่างที่บอกไปแล้วว่าการรีโนเวทบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นอะไรที่ต้องใช้ความรอบคอบมาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์รีโนเวทด้วยตัวเองมาก่อน เพราะไม่ว่าจะเป็นการ รีโนเวทบ้านไม้ การ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว การ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น หรือการรีโนเวทบ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือที่พักอาศัยแบบไหนก็ตาม หากไม่ได้ผ่านการวางแผนที่ดีก็มักจะมีปัญหางบประมาณบานปลายจากงานงอกในส่วนที่ไม่คิดมาก่อนว่าต้องทำตรงนี้ด้วย! หรือเรียกง่าย ๆ ว่าคุมงบไม่อยู่นั่นเอง และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าก่อนจะรีโนเวทบ้านสักหลังควรทำอะไรบ้าง! รีโนเวทบ้าน

1. ประเมินงบประมาณก่อนเป็นขั้นตอนแรก

ขึ้นชื่อว่าการรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการรีโนเวทบ้านทั้งหลัง หรือรีโนเวทแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง อย่าง รีโนเวทห้องน้ำ รีโนเวทห้องครัว ก็ย่อมต้องใช้งบประมาณเป็นเงินก้อนไม่มากก็น้อย ดังนั้น ก่อนจะคิดข้ามขั้นไปไกลว่าอยากให้บ้านกลายเป็นแบบไหน ขั้นตอนแรกให้ลองถามตัวเองก่อนว่าหากจะรีโนเวทบ้านตอนนี้จะเป็นไปได้ไหม จะทำให้สถานการณ์การเงินภายในบ้านตึงมือเกินไปหรือเปล่า เรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ งบรีโนเวทก็ส่วนหนึ่ง แต่งบสำรองเผื่อฉุกเฉินก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องมีไว้เช่นกัน

2. ตั้งเป้าหมายการ รีโนเวทบ้าน ให้ชัดเจน

หลังประเมินตัวเองแล้วว่าถ้าแบ่งงบมารีโนเวทบ้านแล้วจะไม่เดือดร้อน ขั้นตอนต่อมาก็คือการตั้งเป้าหมายในการรีโนเวทบ้านให้ชัดเจนว่าอยากจะทำอะไรตรงส่วนไหนบ้าง เพื่อที่เวลาลงมือทำขึ้นมาจริง ๆ จะได้ไม่วอกแวกหรือลังเล เช่น ถ้าจะ รีโนเวทบ้านไม้ ที่ทรุดโทรมตามกาลเวลา อยากให้ซ่อมแซมแค่เฉพาะส่วนที่เสียหายหรืออยากจะทุบรื้อแล้วทำใหม่เป็นบ้านปูนทั้งหมดไปเลย หากจะ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว ให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นจำเป็นต้องต่อเติมไหม หรือแค่ปรับฟังก์ชั่นภายในบ้านใหม่ก็เพียงพอแล้ว ส่วนใครที่อยากจะ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น ให้ชั้นล่างเป็นสำนักงานหรือร้านค้าต้องเคลียร์พื้นที่ส่วนหน้าบ้านให้โล่งกว้างขึ้นไหม ต้องทุบรื้อตรงไหนหรือต้องทำพื้นที่จอดรถเพิ่มขึ้นหรือเปล่า เป็นต้น ปัจจัยทั้งหมดที่ว่ามานี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของการรีโนเวททั้งหมด ถ้าตั้งเป้าหมายส่วนนี้ไว้ไม่ชัดเจนย่อมมีผลต่อขั้นตอนต่อ ๆ ไป และมีผลต่อเรื่องงบประมาณด้วย

3. รวบรวมข้อมูลและหารูปแบบบ้านที่ชอบ

ชอบบ้านแบบไหน อยากให้บ้านออกมาเป็นแบบไหน ขั้นตอนนี้ให้รวบรวมรายละเอียดและข้อมูลมาให้เต็มที่ อยาก รีโนเวทบ้านไม้ ก็หาแบบบ้านไม้สวย ๆ อยาก รีโนเวทบ้านชั้นเดียว หรือ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น ก็หารูปแบบที่ชอบ ฟังก์ชั่นที่ใช่เอาไว้เป็นแนวทางในการรีโนเวทก่อน หรือหากใครตั้งใจติดต่อนักออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญมาทำงานนี้อยู่แล้วก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษาหารือกันก่อนก็ได้ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน รีโนเวทบ้าน
ไม้ฝา SHERA ไม้ฝา DURAONE ไม้ฝา

4. ลองหาแหล่งวัสดุด้วยตัวเอง

ไม่ว่าจะตั้งใจคุมงานรีโนเวทบ้านด้วยตัวเอง หรือตั้งใจจะว่าจ้างสถาปนิก ผู้รับเหมา หรือช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยดูแล สิ่งสำคัญเรื่องหนึ่งที่เราควรหาข้อมูลติดตัวไว้บ้างคือแบบบ้านที่ต้องการรีโนเวทนั้นเป็นรูปแบบไหน ส่วนใหญ่ใช้วัสดุอะไร ราคาในท้องตลาดอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เช่น หากจะ รีโนเวทบ้านไม้ จากไม้เก่าที่มีปัญหาปลวกมาเป็นไม้เทียม ก็ควรหาข้อมูลไว้บ้างว่าไม้เทียมมีกี่ประเภท ควรจะเลือกใช้ไม้เทียมแบบไหน แบบที่ใช้ภายในและภายนอกบ้านนั้นต่างกันหรือไม่ มีแบรนด์ไหนที่น่าสนใจบ้างและจะหาซื้อได้จากที่ไหน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้วัสดุที่ต้องการในราคาสมเหตุสมผลภายในงบประมาณที่เรากำหนดไว้นั่นเอง

5. สำรวจพื้นที่ก่อนลงมือรีโนเวท

เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนและรูปแบบบ้านในใจที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือต้องสำรวจบ้านอย่างละเอียด โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงว่ามีส่วนไหนที่ยังใช้ได้ มีส่วนไหนที่ต้องซ่อมแซมหรือทำใหม่บ้าง ยิ่งหากเป็นการ รีโนเวทบ้านไม้ ที่เคยเจอปัญหาปลวกมาก่อนก็อาจต้องมาพิจารณาความแข็งแรงของไม้ว่าผุพังจากปลวกไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว หรือหากต้อง รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น ไม่ว่าจะแค่ชั้นบนหรือชั้นล่างก็ต้องพิจารณาความแข็งแรงของทั้ง 2 ชั้นเช่นกัน ส่วนการ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว ที่ต้องการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็อาจต้องพิจารณาไปถึงสภาพดินบริเวณนั้นด้วยว่าจำเป็นต้องลงเข็มไว้เป็นฐานรากป้องกันการทรุดตัวหรือไม่ ต้องใช้เสาเข็มแบบไหน หรือแค่ใช้แบบฐานแผ่ก็เพียงพอแล้ว เพื่อความชัดเจนและครบถ้วนในขั้นตอนนี้ แนะนำให้ลองทำเป็นรายการแบบ Check List ในแต่ละส่วนของบ้านไปเลย หรืออาจแบ่งเป็นประเภทของงานไปด้วยก็ได้ เช่น Check List งานโครงสร้างหลังคา งานฝ้า งานพื้น งานผนัง งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปา งานระบบสุขาภิบาล งานระบบปรับอากาศของแต่ละห้องแต่ละโซน เป็นต้น และเมื่อตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมดอย่างละเอียดแล้วก็แนะนำให้ลองกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขของแต่ละปัญหาในเบื้องต้นเอาไว้เลย แต่สำหรับบางคนที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องการปรับปรุงบ้านมากนักก็อาจขอคำปรึกษาจากสถาปนิก วิศวกร หรือช่างผู้เชี่ยวชาญก็ได้เหมือนกัน

6. กำหนดขอบเขตของงานรีโนเวท

หลังจากสำรวจพื้นที่ที่ต้องการรีโนเวทมาอย่างละเอียดและครบถ้วนแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมานั่งสรุปงานปรับปรุงกันต่อ โดยรวบรวมข้อมูลจากการทำ Check List ที่ผ่านมา รวมถึงข้อมูลรูปแบบบ้านที่ชอบมารวมไว้ในที่เดียวกันเพื่อไม่ให้พลาดรายละเอียดสำคัญอะไรไป การกำหนดขอบเขตของงานรีโนเวทนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ๆ เพราะเป็นขั้นตอนที่จะกำหนดรายละเอียดการทำงานแทบทุกอย่างอย่างครอบคลุม ทั้งขอบเขตพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุง วิธีการจัดการพื้นที่ส่วนต่าง ๆ วัสดุที่ต้องการใช้งาน ไปจนถึงเรื่องของงบประมาณที่กำหนดไว้ หากเป็นการทำงานร่วมกันกับสถาปนิกหรือผู้เชี่ยวชาญก็จำเป็นต้องแจ้งความต้องการทั้งหมดให้ละเอียดและครบถ้วนให้มากที่สุด เพื่อกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ในการรีโนเวทให้ออกมาตรงตามความต้องการให้มากที่สุดแบบงบประมาณไม่บานปลายภายหลังนั่นเอง รีโนเวทบ้านไม้
กันสาดโพลีคาบอร์เนต กันสาด ติดตั้งกันสาด

7. จัดเตรียมงบประมาณล่วงหน้า

เมื่อได้ขอบเขตการทำงานทั้งหมดมาแล้ว การจัดเตรียมงบประมาณก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแต่ต้องลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน ว่าต้องจ่ายอะไรบ้าง หรือลำดับการจ่ายก่อนจ่ายหลังอย่างไร ซึ่งสำหรับการรีโนเวทบ้านโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือค่าออกแบบโดยสถาปนิก มัณฑณากร วิศวกรโครงสร้าง และวิศวกรงานระบบต่าง ๆ หากเป็นงานรีโนเวทเล็ก ๆ ที่เจ้าของบ้านควบคุมงานเองได้ก็อาจไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนถัดมาคือค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ทั้งค่าแรงช่าง ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดำเนินการต่าง ๆ ในระหว่างการรีโนเวท และค่าใช้จ่ายส่วนสุดท้ายที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย นั่นคือค่าดำเนินการขออนุญาตในการก่อสร้างต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการในกรณีที่ต้องยื่นขออนุญาต หรือค่าบริการที่ปรึกษาก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องมีงบประมาณสำรองไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉิน และควรตั้งงบประมาณให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้งบบานปลายด้วย

8. เลือกผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญ

ก่อนจะถึงขั้นตอนลงมือรีโนเวทบ้าน อีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องตัดสินใจเลือกคือ ต้องการจ้างสถาปนิกกับผู้รับเหมาแบบแยกส่วนกันหรือไม่ การเลือกจ้างสถาปนิกแยกกันกับการจ้างผู้รับเหมาจะทำให้ขั้นตอนการรีโนเวทเป็นไปอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแบบบ้านให้ตรงกับความต้องการได้ผ่านทางการพูดคุยกับสถาปนิกผู้ออกแบบ โดยสถาปนิกจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องแนวทางในการรีโนเวท ดูแลเรื่องการออกแบบให้ออกมาตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด รวมทั้งรับหน้าที่ตรวจงานผู้รับเหมาในขณะรีโนเวทบ้านร่วมกันกับเจ้าของบ้านด้วย ในขณะที่การจ้างสถาปนิกและผู้รับเหมารายเดียวกันก็ค่อนข้างสะดวกกับเจ้าของบ้าน เพราะจะมีผู้ประสานงานเพียงคนเดียวตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบบ้านไปจนการรีโนเวทบ้านเสร็จสมบูรณ์

9. วางแผนการทำงานและติดตามงาน

ก่อนการลงมือรีโนเวทบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว หรือ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น และไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ก็ควรให้สถาปนิกผู้ออกแบบหรือผู้รับเหมาวางแผนและแจกแจงรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจนเสียก่อน ทั้งการลำดับงานปรับปรุงซ่อมแซมในส่วนที่กำหนด หรืองานส่วนที่ต้องทำเพิ่มเติมเพื่อให้บ้านออกมาดูดีขึ้น และเมื่อถึงขั้นตอนการลงมือรีโนเวทก็ควรติดตามผลงาน หรือหมั่นเข้าไปดูความคืบหน้าหน้างานอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไขหรือมีเรื่องให้ตัดสินใจได้ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในกรอบของงบประมาณที่ตั้งไว้แต่แรกด้วย รีโนเวทบ้านชั้นเดียว ทั้งหมดนี้คือ 9 ขั้นตอนวางแผน รีโนเวทบ้าน ที่ไม่ว่าจะเป็นการ รีโนเวทบ้านชั้นเดียว การ รีโนเวทบ้าน 2 ชั้น การ รีโนเวทบ้านไม้ ที่ผ่านกาลเวลามานาน หรือบ้านปูนที่ยังสภาพดีแต่ต้องการตกแต่ง ต่อเติม ก็สามารถนำเทคนิคดี ๆ ที่ HomeGuru นำมาฝากกันนี้ไปลองปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมเลย รับรองเลยว่าจะเป็นงานรีโนเวทแบบไหน งานเล็กหรืองานใหญ่ก็ออกมาสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการได้แน่นอน และหากต้องการคำปรึกษาเรื่องบ้านหรือสินค้าและบริการเกี่ยวกับบ้านก็เข้ามาติดต่อทีมช่างมืออาชีพได้ที่โฮมโปรทุกสาขา หรือช้อปสินค้าเพื่อบ้านง่าย ๆ ได้ทาง www.homepro.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ HomePro Call Center โทร 1284