โฮมกูรู

ลวดเชื่อมไฟฟ้า มีติดบ้านไว้ งานเชื่อมแบบไหนก็สะดวก!

ลวดเชื่อมไฟฟ้า มีติดบ้านไว้ งานเชื่อมแบบไหนก็สะดวก!
ลวดเชื่อมไฟฟ้า ถือเป็นอุปกรณ์เครื่องมือช่างพื้นฐานอีกประเภทหนึ่งที่ควรมีติดบ้านไว้ เพราะใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สามารถตอบโจทย์การทำงานภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะใช้เชื่อมต่อเติมโรงรถ ซ่อมแซมรั้วบ้าน เป็น ลวดเชื่อมอลูมิเนียมไฟฟ้า หรือเชื่อมอุปกรณ์โลหะและสแตนเลสต่าง ๆ ที่อยู่ในบ้านได้ด้วยตัวเอง ช่วยประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่หลาย ๆ คนเริ่มหันมาสนใจงาน DIY กันมากขึ้น ลวดเชื่อมไฟฟ้า ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ HomeGuru จึงขอถือโอกาสพาทุกคนไปรู้จักว่า ลวดเชื่อมไฟฟ้าใช้ทำอะไร และ การเลือกซื้อลวดเชื่อม ควรพิจารณาจากอะไรบ้างครับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า คือ

ทำความรู้จักกับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า

หลายคนสงสัยว่า ลวดเชื่อมไฟฟ้าใช้ทำอะไร ต้องตอบว่าลวดเชื่อมไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่างที่จำเป็นต้องใช้ในงานเชื่อมโดยเฉพาะ ซึ่งช่างที่ทำงานด้านการเชื่อมจะคุ้นเคยดี สามารถทำการเชื่อมวัสดุได้หลายแบบเพื่อให้ชิ้นงานผสานเข้าเป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันลวดเชื่อมไฟฟ้านั้นมีหลากหลายประเภท การเลือกซื้อลวดเชื่อม จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ รวมถึงช่างหรือผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้ในรายละเอียดของงานเพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเพื่อป้องกัน อันตรายจากงานเชื่อมไฟฟ้า จากการเลือกใช้ ลวดเชื่อมไฟฟ้า ผิดประเภทด้วยครับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า

ลวดเชื่อมไฟฟ้ามีกี่ประเภท ?

ลวดเชื่อมไฟฟ้า ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้ครับ

1. ลวดเชื่อมแบบก้านธูป หรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ (Covered Welding Electrode)

เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากในบรรดาช่างเชื่อมครับ ลักษณะของลวดเชื่อมไฟฟ้าชนิดนี้จะคล้ายกับธูปหุ้มด้วยฟลักซ์ ซึ่งด้านในแกนกลางเป็นโลหะ เช่น ลวดเชื่อมเหล็กเหนียว , ลวดเชื่อมสแตนเลส , ลวดเชื่อมอลูมิเนียมไฟฟ้า ,ลวดเชื่อมทองเหลืองไฟฟ้า , ลวดเชื่อมเหล็กแข็ง เป็นต้น และจะมีหลายขนาดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ขนาด 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 , 5.0 มิลลิเมตร ลวดเชื่อมไฟฟ้าชนิดนี้มีข้อดีคือใช้งานง่าย พกพาสะดวก ราคาไม่แพง และไม่ต้องใช้แก๊ส จึงเหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมพื้นฐาน โครงสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงเหมาะกับช่างมือใหม่ด้วยครับ ลวดเชื่อมแบบก้านธูป หรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์

2. ลวดเชื่อมสแตนเลส 308แอล-16

เป็นลวดเชื่อมคาร์บอนต่ำพิเศษชนิดรูไทล์ที่มีส่วนผสมโลหะอื่นสูง ใช้สำหรับเชื่อมเหล็กโครเมียม- นิกเกิลโครงสร้างเสถียรและไม่เสถียร มีส่วนผสมโครเมียม 18% นิกเกิล 8% ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนในบรรยากาศและทนต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง ที่อุณหภูมิสูง จนถึง 350 องศาเซลเซียสได้ ให้การเชื่อมที่ค่อนข้างนิ่ม ทำให้การเริ่มต้นเชื่อมและการต่อแนวทำได้ง่าย แนวเชื่อมจะออกมาเรียบเป็นคลื่นละเอียด สแล็กร่อนออกง่าย ควันน้อย เหมาะกับงานสแตนเลสทั่วไป และงานเชื่อมที่ต้องการเน้นคุณภาพสูง เช่น งานเชื่อมถังบอยเลอร์ , งานเชื่อมถังอุตสาหกรรมอาหาร , งานเชื่อมในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น ลวดเชื่อมสแตนเลส 308แอล-16

3. ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ

เป็นลวดเชื่อมสำหรับงานซ่อมแซมชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กหล่อ เช่น เหล็กหล่อสีเทา , เหล็กหล่อเหนียว เป็นต้น ที่แกนของลวดเชื่อมจะมีส่วนผสมของนิกเกิลเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งลวดเชื่อมเหล็กหล่อที่มีนิกเกิลผสมอยู่มาก ราคาก็จะสูงขึ้นตามปริมาณของนิกเกิลที่ผสมอยู่ด้วย ลวดเชื่อมเหล็กหล่อทั่วไปจะแบ่งเป็นลวดเชื่อมเหล็กหล่อที่มีนิกเกิลอยู่ 55% และลวดเชื่อมเหล็กหล่อที่มีนิกเกิล 98% ครับ สำหรับลวดเชื่อมเหล็กหล่อ NI-55 นั้นเป็นลวดเชื่อมเหล็กหล่อหุ้มฟลักซ์กราไฟต์ โดยแกนลวดเชื่อมมีนิกเกิล 55% สามารถใช้งานกลึงแต่งได้ดี ต้านทานการแตกร้าวได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับงานเชื่อมซ่อมแซมเหล็กหล่อชนิดต่าง ๆ ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในราคาไม่สูงมากนัก ลวดเชื่อมไฟฟ้า

4. ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง

ลวดเชื่อมไฟฟ้าประเภทนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าลวดเชื่อมเหล็กแข็ง สามารถทนแรงดึงสูงระดับ 70,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ชนิดไฮโดรเจนต่ำ เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติทางกลดีเยี่ยมอีกชนิดหนึ่ง สามารถผ่านการตรวจสอบด้วยการเอกซ์เรย์ได้ดี ทนต่อการแตกร้าว จึงเหมาะสำหรับงานเชื่อมเหล็กโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น อาคารสูง , อู่ต่อเรือ , สะพาน , งานปิโตรเคมี และภาชนะทนแรงดันต่าง ๆ ครับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า
ลวดเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อมเหล็ก
ลวดเชื่อมอลูมิเนียมไฟฟ้า

ลวดเชื่อมไฟฟ้าเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน ?

การเลือกซื้อลวดเชื่อม นอกจากจะต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ และทราบรายละเอียดของงานแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงขนาดที่เหมาะสมระหว่างลวดเชื่อมไฟฟ้าและตัวชิ้นงานเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวก และเพื่อป้องกัน อันตรายจากงานเชื่อมไฟฟ้า ครับ ซึ่งการใช้งานลวดเชื่อมไฟฟ้าแต่ละขนาดให้พิจารณาตามความเหมาะสมดังนี้ครับ 1. ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 1.6mm. เหมาะสำหรับเหล็กบาง 0.8 - 1.0 mm. และงาน DIY ทั่วไป 2. ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 2.0mm. เหมาะสำหรับเหล็กบางประมาณ 1mm. 3. ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 2.6mm. เหมาะสำหรับเหล็กตัวซี , เหล็กกล่อง และเหล็กทั่วไป 4. ลวดเชื่อมไฟฟ้าขนาด 3.2mm. เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป และงานเชื่อมเรือเดินทะเล
ลวดเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อมไฟฟ้า
การเลือกซื้อลวดเชื่อม

เทคนิคเลือกซื้อ ลวดเชื่อมไฟฟ้า ไม่ให้พลาด

นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ใน การเลือกซื้อลวดเชื่อม ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีเทคนิคในการเลือกซื้อลวดเชื่อมไฟฟ้าอีกหลายข้อเพื่อประกอบการพิจารณาครับ

1. ความแข็งแรงของชิ้นงาน

ก่อนทำการเชื่อมจะต้องรู้คุณสมบัติเชิงกลของโลหะตัวชิ้นงานก่อนครับ ถ้าเป็นเหล็กกล้าผสมต่ำควรเลือกใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าจากค่าความแข็งแรง โดยให้ใกล้เคียงกับโลหะงานมากที่สุด ถ้าเป็นเหล็กกล้าละมุน (เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ) ควรเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้าในกลุ่ม 6013 ซึ่งเป็นลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเชิงกลใกล้เคียงกับโลหะงานที่สุดครับ

2. ชนิดของกระแสไฟที่ใช้

ควรเลือกใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะสมกับกระแสไฟเชื่อม เพราะลวดเชื่อมไฟฟ้าบางชนิดจะสามารถเชื่อมได้ดีกับไฟกระแสตรงเท่านั้น หรือบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสสลับเท่านั้น อันตรายจากงานเชื่อมไฟฟ้า

3. ท่าเชื่อม

ให้ดูจากสัญลักษณ์ที่กําหนดใน ลวดเชื่อมไฟฟ้า เช่น ระบบ AWS จะกําหนดตัวเลขตัวที่ 3 เป็นการบอกถึงตําแหน่งท่าเชื่อมไว้ว่าสามารถเชื่อมได้ในท่าเชื่อมใด

4. ลักษณะของแนวต่อ และรอยต่อประชิด

ยกตัวอย่างเช่น รอยต่อที่ไม่มีการบากหน้างาน ควรเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีการอาร์คแบบนิ่มนวล เพราะจะให้เกิดการซึมลึกน้อย และยังเหมาะกับงานที่เป็นวัสดุแบบบางด้วย ส่วนงานที่เป็นวัสดุหนาจะต้องเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีการอาร์ครุนแรง โดยพิจารณาจากตัวเลขตัวที่ 4 สําหรับมาตรฐาน A.W.S. ครับ

5. ข้อกําหนดเกี่ยวกับงาน

ควรพิจารณาส่วนผสมของลวดเชื่อมไฟฟ้าให้ตรงกับคุณสมบัติการใช้งานของชิ้นงานนั้น ๆ เช่น งานที่รับแรงกระแทก , งานเชื่อมที่นําไปใช้งานในที่อุณหภูมิต่ำ หรืออุณหภูมิสูง และนอกจากจะต้องพิจารณาส่วนผสมของลวดเชื่อมไฟฟ้าแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหนียวและความต้านทานต่อแรงกระแทก ซึ่งลวดเชื่อมไฟฟ้าที่เหมาะแก่สภาพการใช้งานดังกล่าว จะได้แก่ลวดไฮโดรเจนต่ำครับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า ทั้งหมดนี้คือเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ ลวดเชื่อมไฟฟ้า รวมทั้งเทคนิคการเลือกซื้อลวดเชื่อมไฟฟ้าสำหรับใช้งานที่ HomeGuru ได้รวบรวมมาฝากกัน นอกจากจะเป็นเครื่องมือช่างที่ช่วยให้การซ่อมแซม หรือ DIY ชิ้นงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบายแล้ว ยังเป็นเครื่องมือช่างอีกชิ้นที่หากมีติดบ้านไว้จะสามารถใช้งานได้บ่อย ๆ แน่นอนครับ