ภาชนะแบบไหนบ้างที่
ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ เป็นความรู้คู่ครัวที่พ่อบ้านแม่บ้านทุกคนควรทราบ! เพราะไมโครเวฟถือเป็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำห้องครัวที่แทบทุกครัวเรือนต้องมี เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายสุดๆ โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับการลงมือทำอาหารเท่าไรนัก การนำอาหารสำเร็จรูปบรรจุลงในภาชนะและนำเข้าไปอุ่นใน
ไมโครเวฟจึงเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดเวลาอย่างมาก แต่ทราบหรือไม่ว่าภาชนะบางชนิดห้ามนำเข้าไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าที่คิด ซึ่ง
HomeGuru ได้รวบรวมมาให้แล้วว่าภาชนะ อะไรเข้าไมโครเวฟไม่ได้ ผ่านบทความนี้ครับ
อันตรายจากภาชนะที่ ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ
หากนำ วัสดุโลหะ เข้าไมโครเวฟ
การนำภาชนะใส่อาหารที่เป็นโลหะ ช้อนโลหะ ส้อมโลหะ หรือแม้แต่ฟอยล์ห่ออาหารเข้าไมโครเวฟ คลื่นความร้อนจากไมโครเวฟเมื่อกระทบกับโลหะจะทำให้คลื่นไมโครเวฟสะท้อนกลับ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของไมโครเวฟสั้นลง เป็นผลมาจากอุปกรณ์ภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดประกายไฟจากวัสดุที่อาจลุกลามไปจนทำให้ไฟลุกไหม้ได้ จึงไม่ควรนำ วัสดุโลหะ เข้าไมโครเวฟ เด็ดขาดครับ
หากนำ ถ้วยกระดาษ เข้าไมโครเวฟ
ถ้วยกระดาษ หรือกล่องกระดาษ ดูเป็นภาชนะที่ไม่น่าจะเป็นอันตรายอะไรหากนำเข้าไมโครเวฟ แต่ถ้วยหรือกล่องกระดาษแบบที่มีสีสัน ลวดลาย หรือตัวอักษาจากการพิมพ์ลายต่างๆ หากได้รับความร้อนก็อาจทำให้สารเคมีจากหมึกพิมพ์ละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ เพราะฉะนั้นแม้จะเป็นภาชนะที่ผลิตจากกระดาษแต่หากมีการพิมพ์ลายก็ไม่แนะนำให้นำ ถ้วยกระดาษ เข้า
ไมโครเวฟ ครับ
หากนำ แก้ว เข้าไมโครเวฟ
ต้องบอกก่อนว่าแก้วในที่นี้หมายถึง
แก้วน้ำนะครับ ไม่ใช่ภาชนะที่ทำจากแก้ว! แม้แก้วน้ำกับไมโครเวฟอาจดูไม่ค่อยเป็นอันตรายเมื่อใช้งานร่วมกัน แต่แท้จริงแล้วการนำ แก้ว เข้าโมโครเวฟ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลยครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นแก้วเซรามิกหรือแก้วชนิดใดก็ตาม หากใช้แก้วที่เก่าเกินไปมาอุ่นก็มีโอกาสที่ตัวแก้วอาจถูกเคลือบด้วยวัสดุที่ทำให้เกิดรังสี และมีตะกั่ว หรือโลหะหนักที่เป็นอันตราย และหากอุ่นแก้วในเตาไมโครเวฟบางรุ่นที่ไม่มีจานหมุนเป็นเวลานาน ความร้อนจากการอุ่นจะอัดตัวอยู่ในน้ำ เมื่อนำแก้วออกมาและขยับแก้วเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้น้ำในแก้วนั้นปะทุขึ้นมาหรือระเบิดขึ้นมาได้เลยครับ
หากนำ กล่องโฟมหรือพลาสติก เข้าไมโครเวฟ
เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยชินกับการซื้ออาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ และเห็นพนักงานบริการนำอาหารที่บรรจุใน
กล่องโฟมหรือกล่องพลาสติก เข้าไมโครเวฟ เพื่ออุ่นอาหารให้พร้อมรับประทานทันที ทำให้เข้าใจไปว่าภาชนะประเภทโฟมหรือพลาสติกนั้นสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิดครับ พลาสติกที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้อย่างปลอดภัยต้องเป็นพลาสติกที่สามารถทนความร้อนสูงได้และมีคุณภาพดีอย่าง Polyethylene terephthalate (PET) หรือ Polypropylene (PP) แต่หากเป็นพลาสติกชนิดอื่นที่ไม่ได้มีคุณสมบัติทนความร้อนก็อาจทำให้พลาสติกละลายจนเกิดสารปนเปื้อนในอาหารและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งรวมถึงพลาสติกแรปอาหารที่เมื่อโดนความร้อนแล้วจะทำให้เกิดไอน้ำบนแผ่นพลาสติกไหลลงสู่อาหาร เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นกันครับ
หากนำ จานกระเบื้อง เข้าไมโครเวฟ
จานกระเบื้องเป็นหนึ่งใน ภาชนะที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แต่ก่อนจะนำ จานกระเบื้อง เข้าไมโครเวฟ ควรต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนะครับว่าจานกระเบื้องนั้นๆ มีลวดลายการเคลือบสีอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะหากเป็นภาชนะที่มีการเคลือบสี โดยเฉพาะสีเงินและสีทอง นอกจากจะมีโอกาสเกิดสารปนเปื้อนในอาหารแล้วยังสามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟจนก่อให้เกิดประกายไฟได้เลยทีเดียว
ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ เด็ดขาด หากไม่ใช่ภาชนะทนความร้อนสูง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วจะเห็นได้ว่าภาชนะหลายชนิดเหมือนจะปลอดภัย แต่เอาเข้าจริงกลับใช้งานกับไมโครเวฟไม่ได้ เพราะ ภาชนะที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้ ต้องมีคุณสมบัติทนความร้อนสูง อย่างจานสำหรับไมโครเวฟโดยเฉพาะ , ภาชนะประเภทเซรามิก , ภาชนะประเภทเครื่องแก้วแบบทนความร้อน , ภาชนะพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แต่เนื่องจากภาชนะแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไปตามรุ่นและยี่ห้อ หากจะให้แบ่งแยกอย่างชัดเจนว่า อะไรเข้าไมโครเวฟได้ อะไรเข้าไมโครเวฟไม่ได้ ก็อาจจะค่อนข้างลำบากสักหน่อย ดังนั้นหากไม่มั่นใจจริงๆ ก็อาจต้องใช้วิธีการทดสอบระดับการทนความร้อนของภาชนะ เพื่อให้มั่นใจว่าภาชนะชิ้นนั้นๆ สามารถใช้เข้าไมโครเวฟได้หรือไม่ครับ
วิธีทดสอบว่าภาชนะชิ้นไหน ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ เด็ดขาด
หลักการทำงานของ
ไมโครเวฟ คือ การทำปฏิกิริยากับของเหลวที่อยู่ภายในภาชนะ ดังนั้น วิธีง่ายๆ ที่จะใช้ทดสอบว่าภาชนะชิ้นไหนสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ และภาชนะชิ้นไหนห้ามนำเข้าไมโครเวฟ คือการนำน้ำเย็น 1 ถ้วย หรือประมาณ 250 มล. มาใส่ในภาชนะที่ต้องการทดสอบ จากนั้นนำเข้าไมโครเวฟ เปิดให้ไมโครเวฟเริ่มทำงานด้วยความร้อนสูงสุดเป็นเวลา 1 นาที จึงปิดการทำงาน จากนั้นให้ลองสัมผัสภาชนะตรงบริเวณเหนือน้ำที่ใส่ไว้ว่ามีความร้อนมากหรือไม่ หากพบว่าร้อนมากจนไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยมือเปล่าก็แปลว่าภาชนะชิ้นนั้นๆ ไม่สามารถทนความร้อนได้มากเพียงพอจะใช้งานกับไมโครเวฟครับ
สัญลักษณ์ ภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้
อีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าภาชนะชิ้นนี้สามารถใช้กับไมโครเวฟได้โดยไม่ต้องเสียเวลาทำการทดสอบ คือ การมองหาสัญลักษณ์ Microwave Safe ที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่น เพื่อแสดงว่าเป็นภาชนะปลอดภัยสามารถใช้งานกับไมโครเวฟได้ที่ระบุไว้บนภาชนะชิ้นนั้นๆ ครับ
และทั้งหมดนี้คือสิ่งสำคัญและข้อพึงระวังเรื่องความปลอดภัยเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้ามครับ สำหรับใครที่เคยเผลอนำภาชนะต้องห้ามเหล่านี้เข้า
ไมโครเวฟ แต่โชคดีที่ยังไม่เกิดอันตรายร้ายแรงก็ควรระมัดระวังในการใช้งานครั้งต่อๆ ไป และช่วยกันนำข้อมูลดีๆ เรื่องภาชนะ
ห้ามนำเข้าไมโครเวฟ ที่
HomeGuru ได้รวบรวมมานี้ไปบอกต่อเพื่อเป็นประโยชน์กับคนที่คุณรักด้วยนะครับ