กันซึมดาดฟ้า ถือเป็นตัวช่วยจบปัญหา
ดาดฟ้ารั่วซึมที่เป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ในขั้นตอนเดียว ลงทุนทำแล้วอยู่ได้ยาวเป็นปี อีกทั้งขั้นตอนการดำเนินการ ทาสีกันซึมดาดฟ้า ก็ง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่มากเลยครับ ข้อดีมากมายแบบนี้
HomeGuru เลยขอพาทุกคนไปหาสาเหตุของปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม และทำความรู้จักกับ กันซึมดาดฟ้า กันให้มากขึ้นก่อนครับ
• กันซึมดาดฟ้า จบทุกปัญหารั่วซึมจากหลากหลายสาเหตุ
1. สาเหตุของปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม 2. ระบบกันซึมดาดฟ้าที่เป็นที่นิยม • สาเหตุของปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม
ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ทั้งกับบ้านที่ใช้การมุมหลังคาทั่วไป และอาคารต่าง ๆ โดยเฉพาะกับอาคารที่ด้านบนเป็นลักษณะของดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเจอทั้งแดดและฝน และทำหน้าที่เป็นเหมือนกับพื้นและหลังคาไปด้วยพร้อม ๆ กัน ด้วยโครงสร้างลักษณะแบบนี้เองที่ทำให้บ้านหรืออาคารที่มีดาดฟ้าเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ง่าย และเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุดังนี้ครับ
1. ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเพราะไม่มีระบบป้องกันการรั่วซึม
หลายคนอาจไม่ทราบว่าการก่อสร้างอาคารนั่นจำเป็นต้องวางแผนเพื่อเตรียมรับมือกับการรั่วซึมของดาดฟ้าด้วย เนื่องจากหากมองด้วยตา โครงสร้างของอาคารและดาดฟ้าอาจดูแน่นหนาแข็งแรงดี แต่ความจริงแล้วปัญหาน้ำรั่วซึมนั้นอาจเกิดจากการที่น้ำซึมผ่านรูพรุนของเนื้อคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะโดยธรรมชาติของคอนกรีตจะมีรูพรุนขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อฝนตก มีระบบน้ำรั่ว หรือท่อน้ำแตกบริเวณดาดฟ้าที่ไม่ได้ ทากันซึมดาดฟ้า ไว้จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมผ่านเข้ามาตามรูพรุนของคอนกรีตนั่นเองครับ
2. ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเพราะเกิดรอยแตกร้าวที่ไม่ได้รับการแก้ไข
ปัญหาเรื่อง
รอยร้าว บริเวณดาดฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของน้ำรั่วซึมที่พบเจอได้บ่อย ส่วนหนึ่งมาจากการที่ดาดฟ้าต้องเจอทั้งลม ฝน แดดจัด ความเย็น หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้พื้นผิวคอนกรีตเกิดการยืดตัวและหดตัวจนเกิดเป็นรอยร้าวขึ้น รวมไปถึงรอยร้าวในบริเวณขอบมุมต่าง ๆ บนดาดฟ้าที่อาจเกิดจากพื้นคอนกรีตหลุดร่อน คอนกรีตไม่ได้มาตรฐาน หรือขั้นตอนในการก่อสร้างอย่างการผสม การบ่ม และการเทคอนกรีตไม่ได้มาตรฐานจนทำให้คอนกรีตไม่มีอัตราการรับกำลัง นอกจากนี้รอยร้าวยังสามารถเกิดจากการทรุดตัวของอาคาร การไม่ได้ติดตั้งเสาเอ็นหรือคานทับหลัง เกิดรอยร้าวใต้ท้องพื้นจากการแอ่นตัวของพื้นคอนกรีต จากน้ำหนักบรรทุกเกินมาตรฐานอย่างการตั้งแท้งค์น้ำที่มีน้ำหนักมาก ๆ
หรือออกแบบเหล็กเสริมไม่เพียงพอ การต่อเติมดาดฟ้า ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการใช้วัสดุยาแนวบริเวณรอยต่อของวัสดุอย่างไม่เหมาะสม หรือวัสดุยาแนวไม่มีคุณภาพ เกิดการเสื่อมสภาพ รวมถึงสามารถเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น รอยร้าวที่เกิดจากรากต้นไม้ รอยร้าวที่เกิดจากความชื้นสะสมของเชื้อรา ตะไคร่น้ำ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้น้ำสามารถไหลซึมผ่านดาดฟ้าเข้ามาภายในตัวบ้านหรืออาคารได้ หากปล่อยทิ้งเอาไว้ไม่รีบจัดการซ่อมแซมรอยร้าวเหล่านี้ก็จะยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในที่สุดครับ
นอกจากปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้วอย่างขั้นตอนการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การบ่ม และการเทคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐานจนทำให้คอนกรีตไม่มีอัตราการรับกำลัง ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยที่เกิดจากช่างก่อสร้างไม่เชี่ยวชาญพอ หรือไม่สามารถทำตามแบบก่อสร้างได้ เช่น เทคอนกรีตไม่ได้ระดับตามแบบก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังบนผิวหน้าคอนกรีตจนกลายเป็นปัญหา
ดาดฟ้ารั่วซึม การปิดหรืออุดจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่เกิดระหว่างการก่อสร้างไม่มีคุณภาพ รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้อิฐมวลเบาที่มีคุณสมบัติดูดซึมน้ำสูงในพื้นที่ที่ต้องเจอกับฝนหรือความชื้นอยู่เป็นประจำ ก็ถือเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึมได้เช่นกันครับ
4. ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเพราะระบบระบายน้ำมีปัญหา
เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่พบได้บ่อย ๆ แม้จะมีการ ทาสีกันซึมดาดฟ้า แล้วก็ตาม นั่นเพราะดาดฟ้าอาคารเป็นพื้นที่ที่หลาย ๆ บ้านอาจไม่ได้ใช้งาน หรือไม่ได้ขึ้นไปตรวจสอบความเรียบร้อยและทำความสะอาดมากนัก ดังนั้น จึงมีโอกาสที่รางระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำต่าง ๆ ที่อยู่บนดาดฟ้าจะเกิดการอุดตันจากสิ่งสกปรก ตะไคร่น้ำ หรือเศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่ทับถมกันจนทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้สะดวก ซึ่งเป็นอีกสาเหตุของปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมนั่นเองครับ
5. ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเพราะใช้ผลิตภัณฑ์ กันซึมดาดฟ้า ผิดประเภท
เป็นปัญหาที่มักเกิดจากความเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์กันซึมแต่ละประเภทนั้นสามารถใช้งานแทนกันได้ หรือมีประสิทธิภาพในการป้องกันการรั่วซึมเหมือนกัน จึงมีการนำผลิตภัณฑ์กันซึมผิดประเภท หรือผลิตภัณฑ์กันซึมที่เหลือใช้จากส่วนอื่น ๆ ของตัวบ้านไปใช้กับพื้นที่ดาดฟ้า เช่น การนำอะคริลิคซีลแลนท์สำหรับอุดโป๊วรอยแตกร้าวภายในบ้านไปอุดโป๊วบนดาดฟ้า เมื่อถูกแสงแดดจัดก็เกิดการแตกร้าวเช่นเดิม เพราะอะคริลิคซีลแลนท์เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ร่ม หรือการนำปูนฉาบที่ไม่มีความยืดหยุ่นไปฉาบปิดรอยแตกร้าวบนดาดฟ้า เมื่อถูกแดดและฝนนาน ๆ ก็กลับมาแตกร้าวรั่วซึมเหมือนเดิม เป็นต้น การ ทาสีกันซึมดาดฟ้า จึงต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมด้วยครับ
• ระบบกันซึมดาดฟ้าที่เป็นที่นิยม
หากต้องการ ทาสีกันซึมดาดฟ้า สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ ระบบกันซึมดาดฟ้านั้นมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะการใช้งาน คุณสมบัติ และความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป แต่คุณสมบัติหลัก ๆ ที่เหมือนกันของ กันซึมดาดฟ้า คือสามารถปกปิดรอยแตกร้าวและป้องกันการรั่วซึมได้ มีความยืดหยุ่นสูงเพื่อช่วยสมานรอยแตกร้าว และมีทั้งแบบที่ใช้ภายในและภายนอกอาคาร แต่สำหรับบริเวณดาดฟ้าแล้ว ระบบกันซึมที่เป็นที่นิยมมีดังนี้ครับ
1. ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบอะคริลิค : ACRYLIC WATERPROOF
ด้วยคุณสมบัติของอะคริลิคที่มีความยืดหยุ่นสูงเป็นพิเศษ สามารถปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี ช่วยลดปัญหาการขยายตัวของชั้นปูน ทนทานต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ทนต่อรังสียูวี อุณหภูมิ และแรงขีดข่วนได้อย่างดีเยี่ยม มีแรงยึดเกาะสูง สามารถยึดเกาะได้ดีกับพื้นผิวแทบทุกประเภท อีกทั้งยังน้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระกับโครงสร้างอาคาร อะคริลิคกันซึมจึงเป็นวัสดุ ทากันซึมดาดฟ้า อันดับแรก ๆ ที่ช่างนึกถึงและเป็นที่นิยมมากครับ
2. ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบโพลียูริเทน : POLYURETHANE
โพลียูริเทน หรือ PU ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยถือเป็นอีกประเภทหนึ่งของวัสดุกันซึมดาดฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำรั่วซึมสูงและเป็นที่ยอมรับ เนื่องจาก PU นั้นผลิตมาจากยางสังเคราะห์ มีแรงยึดเกาะสูงต่อพื้นผิวหลากหลายประเภท มีความยืดหยุ่นและค่าทนแรงดึงสูง ทนต่อการฉีกขาดและต่อสารเคมีได้ดี นอกจากนี้ยังทนทานต่อน้ำและรังสียูวี ช่วยปกปิดรอยแตกร้าวจากอุณหภูมิและสภาพอากาศที่รุนแรงได้ จึงเหมาะกับงานกันซึมบริเวณดาดฟ้าอาคารมาก ๆ ครับ
3. ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบเมมเบรน : MEMBRANE WATERPROOF
เป็นระบบกันซึมดาดฟ้าแบบที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่ถือเป็นระบบกันซึมที่มีประสิทธิภาพสูงไม่แพ้การกันซึมแบบอื่น ๆ เพราะลักษณะของการกันซึมรูปแบบนี้จะเป็นกันซึมแบบแผ่นเมมเบรนที่ผลิตจากยาง มีความบางแต่ขนาดค่อนข้างใหญ่ นำมาแปะบนพื้นผิวดาดฟ้าเรียงต่อกันอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นวิธีติดตั้งที่ค่อนข้างง่ายดายและรวดเร็ว เหมาะกับการติดตั้งบนดาดฟ้าอาคาร รวมไปถึงบริเวณระเบียง หรือติดตั้งในพื้นที่เปียก เช่น บ่อน้ำภายนอก โครงสร้างใต้ดินภายนอก หรือติดตั้งเพื่อเป็นระบบกันซึมให้สระน้ำ เป็นต้น
4. ระบบกันซึมดาดฟ้าแบบบิทูมินัส : BITUMINOUS WATERPROOF
คำว่าบิทูมินัสนั้นอาจฟังดูไม่ค่อยคุ้นหู แต่หากพูดถึงคำว่ายางมะตอย หลาย ๆ คนคงร้องอ๋อขึ้นมาทันที ซึ่งบิทูมินัส หรือยางมะตอยที่เราคุ้นเคยกันดีนี้จะมีสารผสมที่เรียกกันว่าสารบิทูเมน เป็นสารที่กำเนิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นของเหลวกึ่งแข็ง จึงมีความยืดหยุ่นสูงมาก รวมทั้งมีแรงยึดเกาะสูงกับพื้นผิวแทบทุกประเภท สามารถใช้ได้ดีแม้กับพื้นที่เปียกชื้น หรือพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีความแข็งแรงทนทานมาก ฉีกขาดยาก สามารถป้องกันการรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยม ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีในการทำระบบกันซึมดาดฟ้าเลยครับ
จะเห็นได้ว่า กันซึมดาดฟ้า นั้นมีหลากหลายแบบให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกันซึมประเภทไหนก็สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมและงบประมาณที่ตั้งไว้ แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการเลือกผลิตภัณฑ์ ทากันซึมดาดฟ้า ที่ต้องเลือกให้ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึงเลือกใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญให้ดำเนินการให้ในกรณีที่ไม่สะดวกในการลงมือจัดการด้วยตัวเอง หากใครสนใจสีทากันซึมที่ได้มาตรฐาน มีให้เลือกหลากหลาย ก็ลองแวะมาที่โฮมโปรสาขาใกล้บ้าน หรือช้อปออนไลน์ได้ทาง
www.homepro.co.th และหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการทำระบบกันซึมก็สามารถแวะเข้ามาพูดคุยกับช่างมืออาชีพ Home Service by HomePro ได้ที่โฮมโปรทุกสาขาเช่นกัน หรือติดต่อผ่านทางช่องทางต่อไปนี้ได้เลยครับ
สอบถามบริการเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice
Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service :
https://bit.ly/3Bj8Yzs