ฟิล์มกรองแสง เป็นนวัตกรรมการป้องกันแสงแดดและความร้อนที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะฟิล์มกรองแสงสำหรับติดรถยนต์ที่คนขับรถยนต์เกือบ 100% ใช้งานอยู่ แต่สำหรับ
ฟิล์มกรองแสงอาคาร นั้นอาจจะยังไม่ได้รับความนิยมเท่าฟิล์มรถยนต์ เพราะผู้อยู่อาศัยมีตัวเลือกในการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ให้บ้านมากกว่ารถยนต์ เช่น การใช้ผ้าม่าน การสร้างระแนงหรือกันสาดบังแดด เป็นต้น
HomeGuru จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ฟิล์มกรองแสง สำหรับบ้านให้มากขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ทุกคนได้ตัดสินใจว่าการ ติดฟิล์มกระจกบ้าน จะช่วยปกป้องบ้านจากความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหนครับ
• ฟิล์มกรองแสงอาคาร จะช่วยลดความร้อนให้บ้านได้อย่างไร • ประโยชน์ของการ ติดฟิล์มกระจกบ้าน • ประเภทของ ฟิล์มกรองแสงอาคาร • เลือกความเข้มฟิล์มกรองแสง ต้องพิจารณาอย่างไร • ฟิล์มกรองแสงอาคาร จะช่วยลดความร้อนให้บ้านได้อย่างไร
ด้วยคุณสมบัติของ “โพลีเอสเตอร์” ที่ใช้ในการผลิต ฟิล์มกรองแสง นั้นจะมีความเหนียว ทนทาน มีความยืดหยุ่นสูง ดูดซับความชื้นน้อย และสามารถทนต่ออุณภูมิได้ทั้งสูงและต่ำ และในขั้นตอนการผลิตได้ผ่านกระบวนการเคลือบไอโลหะหรือเซรามิกเพื่อช่วยสะท้อนความร้อน รวมถึงมีสารป้องกัน UV ในฟิล์ม จึงทำให้การ ติดฟิล์มกระจกบ้าน สามารถช่วยลดทั้งความร้อน ลดแสงจ้าจากแดด หรือแม้แต่ช่วยลดรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
• ประโยชน์ของการ ติดฟิล์มกระจกบ้าน
แน่นอนว่าการติดฟิล์มให้บ้านจะช่วยเกี่ยวกับการป้องกันความร้อนจากแสงแดดเป็นหลัก แต่ ฟิล์มกรองแสงอาคาร มีประโยชน์อีกมากมายที่วัสดุกันแดดแบบอื่น ๆ ให้ไม่ได้ และหลายคนอาจคาดไม่ถึงครับ
1. ช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่กระจกแตก
เนื่องจากคุณสมบัติของโพลีเอสเตอร์ที่ใช้ผลิต ฟิล์มกรองแสง ที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่ามีผิวเรียบ มีความเหนียว ทนทาน และยืดหยุ่นได้ดี จึงสามารถช่วยยึด
กระจกไม่ให้แตกร้าวได้ง่าย และช่วยป้องกันการแตกกระจายของแผ่นกระจกได้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทำให้กระจกแตกจริง ๆ การ ติดฟิล์มกระจกบ้าน จึงช่วยลดอันตรายจากการถูกเศษกระจกบาดหรือเศษกระจกหล่นใส่ได้ดีครับ
2. ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้บ้าน
หากต้องการป้องกันความร้อนหรือแสงอาทิตย์ที่จ้าเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการให้มีแสงสว่างภายในบ้าน การเลือกใช้ผ้าม่านบังแดดอาจไม่ตอบโจทย์ในข้อนี้นัก เพราะการบังแดดโดยใช้
ผ้าม่านจำเป็นต้องปิดผ้าม่านให้ทึบจนแสงธรรมชาติไม่สามารถลอดผ่านได้ ต่างจากการใช้ ฟิล์มกรองแสงอาคาร ที่แม้จะไม่มีอะไรมาบดบังแสงสว่างก็ยังสามารถให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านได้ เพราะเมื่ออยู่ภายนอกบ้านจะไม่สามารถมองเข้ามาด้านในบ้านได้ ซึ่งไม่ว่าจะเลือกติดฟิล์มดำ หรือฟิล์มปรอทก็สามารถให้ความเป็นส่วนตัวได้เช่นกันครับ
3. ช่วยลดแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ได้ดี
โดยทั่วไปแล้ว ฟิล์มกรองแสงอาคาร จะมีความสามารถในการกรองแสงให้เลือกใช้งานได้หลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มกรองแสงความเข้ม 40 , 60 , 80 ที่ช่วยลดแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ได้ในระดับที่แตกต่างกัน จึงสามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการใช้งานได้ ช่วยให้แสงสว่างที่ส่องผ่านเข้ามาภายในบ้านอยู่ในระดับที่ไม่มากจนเกินไป ช่วยให้สบายตากว่าการไม่ติดฟิล์มครับ
4. ช่วยป้องกันรังสี UV โจมตีบ้าน
แสงแดดจ้าย่อมมาพร้อมกับรังสี UV ที่ทำลายผิวให้หมองคล้ำ เกิดริ้วรอย ฝ้า กระ และร้ายแรงที่สุดคือการก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง และแม้ว่าการป้องกันรังสี UV เพื่อผิวสวยจะไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนคาดหวังจากการติด ฟิล์มกรองแสง แต่ก็ถือเป็นข้อดีที่โดดเด่นจากวัสดุป้องกันความร้อนแบบอื่น ๆ อีกทั้งการช่วยลดรังสี UV นี้ยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านไม่ให้ซีด กร่อน หรือเก่าไวอีกทางหนึ่งด้วยครับ
5. ช่วยลดความร้อนให้บ้านเย็นสบาย
ฟิล์มกรองแสง แบบที่ผลิตจากโพลีเอสเตอร์คุณภาพสูงนั้น นอกจากจะมีคุณสมบัติช่วยลดแสงจ้าจากดวงอาทิตย์ และช่วยป้องกันรังสี UV ได้ดีแล้ว ยังสามารถสะท้อนความร้อนได้ดีถึง 99% จึงช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้ดีไม่แพ้การใช้ผ้าม่าน Blackout หรือการติดตั้ง
ฉนวนกันความร้อนเลยครับ เรียกว่าแดดเมืองไทยแรงแค่ไหนก็เอาอยู่
6. ประหยัดค่าไฟฟ้า ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า
เหตุผลที่กล้าพูดได้ว่า ติดฟิมล์กระจกบ้าน แล้วช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ นั่นก็เพราะเมื่อความร้อนในตัวบ้านหรืออาคารลดลง
เครื่องปรับอากาศในบ้านจึงไม่ต้องทำงานหนักเท่าบ้านที่มีอุณหภูมิสูง ดังนั้นจึงเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ รวมถึงเกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น ส่งผลโดยตรงให้ค่าไฟฟ้าลดลงมากถึง 20% ซึ่งหากคำนวนค่าไฟฟ้าที่ลดลงในแต่ละเดือนแล้ว หลายคนจะพบว่าการติด ฟิล์มกรองแสงอาคาร นั้นคุ้มค่าในระยะยาว เพราะจะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 5 - 7 ปีครับ
• ประเภทของ ฟิล์มกรองแสงอาคาร
ฟิล์มกรองแสงที่เราเห็นว่าหน้าตาดูคล้าย ๆ กันนั้น แท้จริงแล้วมีคุณสมบัติ และข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันอยู่ไม่มากก็น้อย ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกฟิล์มติดกระจกบ้าน เรามาทำความรู้จักฟิล์มแต่ละแบบกันก่อนดีกว่าครับ
1. ฟิล์มใส
เป็นฟิล์มกรองแสงที่เน้นป้องกันความร้อนโดยเฉพาะ สามารถกันความร้อนและรังสี UV ได้ดี แต่ไม่เท่าฟิล์มดำกับฟิล์มปรอท ความโดดเด่นของฟิล์มใสคือมีความใสเหมือนกระจกใส ไม่บดบังการมองเห็น จึงเหมาะสำหรับโชว์รูม ร้านค้า หรือร้านอาหาร ที่ต้องการให้มองเห็นสินค้าภายในร้านได้ชัดเจนครับ
2. ฟิล์มดำ
เป็นฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารป้องกันความร้อนต่าง ๆ จนทำให้มีสีดำเข้ม จึงช่วยป้องกันแสงสว่างและรังสี UV ได้ดีกว่าฟิล์มใส รวมถึงสามารถช่วยลดอาการแสบตา ช่วยให้สบายตาได้ แต่ข้อควรระวังหากจะเลือกติดฟิล์มดำ คือ ต้องมั่นใจว่าฟิล์มที่เลือกนั้นมีระดับความเข้มที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน เพราะหากเลือกฟิล์มดำที่มีความเข้มมากก็อาจทำให้ภายในบ้านดูมืดทึบกว่าที่ต้องการได้เช่นกันครับ
3. ฟิล์มปรอท
เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีการเคลือบสารป้องกันความร้อนประเภทโลหะ ทำให้เนื้อฟิล์มมีความมันเงาคล้ายกระจกเงา จุดเด่นคือราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับฟิล์มกรองแสงแบบอื่น ๆ สามารถกันความร้อนและช่วยสะท้อนแสงได้ดีมาก รวมถึงให้ความเป็นส่วนตัวได้มาก แต่ข้อเสียคือความมันเงาคล้ายกระจกเงานี้เองที่อาจสะท้อนแสงจนไปรบกวนเพื่อนบ้านได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้งานในบริเวณบ้านชั้นล่างที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงครับ
4. ฟิล์มเซรามิก
เป็นฟิล์มกรองแสงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษที่ให้ความเป็นส่วนตัวสูง โดยหากมองจากภายนอกบ้านจะมีสีดำเข้ม แต่หากมองจากภายในบ้านจะมีความคมชัด แตกต่างจากฟิล์มปรอทที่แม้จะมองจากภายนอกบ้านไม่เห็น แต่หากมองจากภายในบ้านก็ไม่ชัดเจนเท่าฟิล์มเซรามิกเช่นกัน นอกจากนี้จุดเด่นที่ฟิล์มเซรามิกทำได้ดีอีกข้อหนึ่งคือความสามารถในการกันความร้อนสูง แต่สะท้อนแสงน้อย จึงไม่ค่อยรบกวนเพื่อนบ้าน อีกทั้งราคาไม่สูงมากด้วยครับ
• เลือกความเข้ม ฟิล์มกรองแสง ต้องพิจารณาอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าความเข้มของฟิล์มกรองแสงนั้นมีให้เลือกใช้งานหลากหลายตามความต้องการ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าฟิล์มกรองแสงความเข้ม 40 , 60 , 80 ที่เห็นทั่วไปนั้นเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่แบบไหน คำตอบง่าย ๆ ของเรื่องนี้คือการพิจารณาจากทิศทางของแสงแดด และความต้องการใช้งานแสงสว่างในพื้นที่นั้น ๆ เป็นหลักนั่นเองครับ
1. ฟิล์มใส
เป็นฟิล์มกรองแสงที่แสงสว่างสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 70% ช่วยป้องกันความร้อนได้ดี แต่รับแสงสว่างได้ในปริมาณมาก จึงเหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างมาก เช่น โถงทางเดิน ห้องน้ำ ห้องทำงาน หรือห้องครัว เป็นต้น
2. ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 40
เป็นฟิล์มกรองแสงที่แสงสว่างสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 30 - 40% เป็นระดับความเข้มที่ให้ความรู้สึกโปร่งสบาย ไม่อึดอัดหรือดูทึบจนเกินไป เหมาะสำหรับห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องที่มักจะใช้งานในช่วงเวลากลางวันครับ
3. ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 60
เป็นฟิล์มกรองแสงที่แสงสว่างสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 15 - 20% ถือเป็นฟิล์มที่มีความเข้มในระดับกลาง ๆ เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ที่หันไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากเป็นทิศที่มีแสงแดดเข้ามาตลอดช่วงบ่ายครับ
4. ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 80
เป็นฟิล์มกรองแสงที่แสงสว่างสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 3 - 7% เท่านั้น ดังนั้นหากต้องการความมืดและความเป็นส่วนตัวมากเป็นพิเศษ อย่างห้องนอนที่เน้นการพักผ่อน หรือห้องแต่งตัวที่อยากให้ดูมิดชิด ก็สามารถเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงที่มีความเข้ม 80 ได้เลยครับ มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า ฟิล์มกรองแสง นั้นมีประโยชน์มากกว่าการช่วยกันความร้อนให้กับบ้าน แต่ยังให้ความเป็นส่วนตัว ความสวยงาม ทันสมัย รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานได้ในคราวเดียวกัน และการเลือก
ติดฟิล์มกระจกบ้าน ให้ตรงความต้องการใช้งานก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงต้องศึกษาเรื่องรายละเอียดของฟิล์มแต่ละแบบสักหน่อย ทั้งนี้ก็เพื่อความคุ้มค่าในระยะยาวที่เราจะได้รับนั่นเองครับ