เรื่องต้องรู้! มาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร

เรื่องต้องรู้! มาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร

ปลั๊กไฟ ประเภทปลั๊กพ่วงหรือปลั๊กสามตา เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นสำคัญที่ HomeGuru เชื่อว่าทุกบ้านต้องมี! เพราะเป็นอุปกรณ์ประจำบ้านที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้มากที่สุดชิ้นหนึ่ง แต่กลับเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟช็อต ไฟไหม้ หรือไฟฟ้าลัดวงจรบ่อยๆ เนื่องจากมักมีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบนรางปลั๊กไฟเดียวกัน พร้อมๆ กันหลายตัว การเลือกปลั๊กไฟสักอัน จึงเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าปลั๊กพ่วงแบบที่เราเลือกใช้ที่บ้านได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินจริงๆ วันนี้ HomeGuru มีคำตอบมาให้ครับ

มอก. ปลั๊กพ่วง

ทำไมต้องปลั๊กไฟ มอก.

ปลั๊กพ่วง ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน เช่น สายไฟ เต้ารับไฟฟ้า เต้าเสียบ รางปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาตรฐานเพียงแค่ส่วนของสายไฟตามมาตรฐานบังคับ มอก. 11-2553 เท่านั้น จึงเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิต นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายแสดงเครื่องหมาย มอก. บนผลิตภัณฑ์ สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภคว่าเป็นสินค้าปลอดภัยและได้มาตรฐาน อีกทั้งจากปัญหาอัคคีภัยในบ้านเนื่องจากปลั๊กพ่วงนั้น ทำให้ทาง สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กำหนดมาตรฐาน มอก. 2432-2555 ขึ้นมา เพื่อควบคุมและบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทปลั๊กพ่วง ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ปลั๊กไฟ มอก. ตามข้อกำหนดฉบับนี้จึงใช้คุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค และป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย

มอก. ปลั๊กพ่วง

เลือกปลั๊กไฟอย่างไรให้ได้มาตรฐาน มอก.

วิธีเลือกปลั๊กพ่วง รวมไปถึงปลั๊กไฟ USB ให้ปลอดภัยไร้กังวล สามารถเลือกได้ตามมาตรฐานที่ทาง สมอ. กำหนดเลยครับ โดยสังเกตุแยกเป็นส่วนๆ ได้อย่างชัดเจน ดังนี้

เต้ารับไฟฟ้า

ต้องเป็นเต้ารับ 3 รูเสียบ มีขั้วสายดินมาตรฐานประเทศไทย เต้ารับ Universal ไม่สามารถใช้ได้นะครับ ที่สำคัญคือต้องมีตัวปิดช่อง (Shutter) ซึ่งเมื่อเสียบขาปลั๊กรูเดียวจะไม่สามารถเสียบลงได้ ต้องเสียบขาปลั๊กลงพร้อมกันเท่านั้น นอกจากนี้ยังต้องมีสัญลักษณ์ระบุทางเดินกระแสไฟฟ้าไว้อย่างชัดเจนด้วย

ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ

มอก. ปลั๊กพ่วง

เต้าเสียบตามมาตรฐานปลั๊กไฟ มอก.

ต้องเป็นแบบ 3 ขากลม ซึ่งเป็นเต้าเสียบ 2 ขั้ว พร้อมขั้วสายดิน มีฉนวนกันกระแสไฟฟ้าที่โคนขาปลั๊ก เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรงจากผู้ใช้ ขาทั้ง 3 ขาต้องแน่นหนา ไม่สามารถหมุนออกได้ แรงดันของเต้าเสียบและเต้ารับต้องเท่ากัน กระแสของเต้าเสียบต้องไม่น้อยกว่าเต้ารับ มีสัญลักษณ์ระบุข้อมูลผู้ผลิต รหัสสินค้า แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด กระแสไฟฟ้า รวมถึงสัญลักษณ์ทางเดินกระแสไฟฟ้า และเลขที่ มอก. 166-2549 ด้วยครับ

มอก. ปลั๊กพ่วง

เลือกปลั๊กไฟ สังเกตุได้จากสายไฟฟ้า

ต้องเป็นสายไฟฟ้าแบบกลมประเภท 3 ขั้วเท่านั้น แรงดันไฟฟ้าของสายไฟต้องไม่ต่ำกว่าเต้ารับและเต้าเสียบ มีสัญลักษณ์ระบุข้อมูลผู้ผลิต รหัสชนิดของสายไฟ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด จำนวนแกนและพื้นที่หน้าตัด อุณภูมิสูงสุดบนสายไฟ และเลขที่ มอก. 11-2553

อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน

หากมีจำนวนเต้ารับไฟฟ้าตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน แต่ไม่ใช่ประเภทฟิวส์ (Fuse) นะครับ อุปกรณ์ที่ใช้ได้คือ Circuit Breaker หรือ Circuit Switch และกระแสไฟฟ้าที่กำหนดของตัวอุปกรณ์ป้องกันเองต้องไม่เกินที่กำหนดในตัวรางปลั๊กไฟด้วยครับ

ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ ปลั๊กไฟ

มอก. ปลั๊กพ่วง

สวิทซ์ไฟฟ้าบนรางปลั๊กไฟ

ถือเป็นอุปกรณ์เสริมบนตัวรางปลั๊กไฟที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่นเดียวกับช่อง USB บนปลั๊กไฟ USB แต่ถ้ามีก็ต้องมีมาตรฐานบังคับอ้างอิงตาม มอก. 824-2551 หรือ IEC61058

เครื่องหมายและฉลากที่ต้องระบุ

จะต้องมีการระบุกระแสไฟฟ้า สังเกตุตัวเลขที่หน่วยเป็นแอมแปร์ และระบุแรงดันไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็นโวลต์ นอกจากนี้ยังต้องระบุเครื่องหมายการค้า รุ่นสินค้า และกำลังไฟฟ้าสูงสุดของปลั๊กพ่วงหรือตัวเลขระบุจำนวนวัตต์ครับ

มอก. ปลั๊กพ่วง

นอกจากนี้แล้ว ปลั๊กไฟ มอก. ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ใช้ควรต้องรู้อีก เช่น โรงงานผลิตต้องผ่านการตรวจมาตรฐานก่อนผลิตสินค้า มอก. รางปลั๊กไฟต้องผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟ ตัวน็อตต้องไม่เป็นหัว 4 แฉก หรือหัวแบน และผลิตภัณฑ์ต้องได้ IP20 ป้องกันสิ่งแปลกปลอมตั้งแต่ขนาด 12.5 มม. เข้าไปได้ ส่วนปลั๊กไฟ USB นั้นยังไม่มีมาตรฐานบังคับ


สอบถามบริการตรวจเช็คระบบไฟเพิ่มเติม

Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro

Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice

Call Center 1284


ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ