ปัญหา
"ตะกอนในน้ำ" เป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเจอและคิดไม่ตกว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะส่วนใหญ่เชื่อว่าการที่น้ำมีตะกอน หรือน้ำประปาสกปรกเป็นปัญหาที่เกิดจากต้นน้ำ ซึ่งก็คือหน่วยงานอย่างการประปาภูมิภาค หรือการประปานครหลวง ครั้นจะไปเรียกร้องให้แก้ไขก็เป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวายและใช้เวลานาน จริงอยู่ครับที่ปัญหาน้ำประปาสกปรกส่วนหนึ่งมาจากระบบการส่งน้ำตั้งแต่ต้นทาง และระหว่างทางที่อาจมีปัจจัยต่างๆ ทำให้น้ำประปาปนเปื้อน หรือมีการปลอมปน
แต่อีกปัจจัยที่หลายๆ คนมองข้ามไป คือเรื่องของอุปกรณ์ระบบประปาใกล้ตัวภายในบ้านของเรานี่เอง HomeGuru จึงจะพาทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับว่า ตะกอนในน้ำ เกิดจากอะไร และจะแก้ปัญหาน้ำประปาสกปรกอย่างไรได้บ้าง
ตะกอนในน้ำเกิดจากอะไร
สาเหตุที่น้ำประปาสกปรก ขุ่น มีสีแดงๆ หรือมีตะกอนในน้ำนั้น หากเป็นปัญหาจากการลำเลียงน้ำใช้ก่อนจะเข้าสู่บ้านแต่ละหลัง ปัญหามักมาจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1. การซ่อมท่อจากทางการประปา
เนื่องจาก
ท่อประปานั้นจะวางอยู่ใต้ดิน หากมีปัญหาท่อแตกรั่วจนต้องมีการซ่อมแซม ระหว่างขั้นตอนการซ่อมแซมก็มีโอกาสสูงที่จะมีดินโคลนปนเปื้อนเข้าไปในน้ำ ซึ่งแม้จะมีการนำออกบริเวณจุดดับเพลิงและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน แต่ก็อาจมีดินโคลนตกค้างมาบ้าง
2. เนื่องจากน้ำประปาเป็นระบบกรอง
ไม่ใช่ระบบกลั่น ความขุ่นไม่เกิน5 NTU จาก 0-5 จึงมีตะกอนแฝงอยู่ในน้ำบางส่วน ซึ่งตะกอนพวกนี้จะตกภายใน
ท่อน้ำ กรณีที่มีการหยึดจ่ายน้ำเพื่อซ่อมท่อ มีการลดแรงดัน เพิ่มแรงดันต่างๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการกวนน้ำในท่อส่งให้ตะกอนเกิดการฟุ้งขึ้นมา และไหลไปกองอยู่บริเวณจุดต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปลายท่อน้ำครับ
แต่ในขณะเดียวกัน บางกรณีก็เป็นความเข้าใจผิดของผู้ใช้น้ำอย่างเราๆ ครับ เช่นกรณีที่เราเห็นฝ้าบางๆ จับตัวกันที่บริเวณผิวน้ำจนทำให้คิดว่าน้ำประปาสกปรก จริงๆ แล้วสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำตามธรรมชาติ เมื่อถูกความร้อนจากแสงแดดหรือสภาพแวดล้อมจากภายนอกนานๆ เข้าก็เกิดการตกตะกอนรวมตัวกันเป็นฝุ่นเล็กๆ สีขาวๆ ที่เห็นเป็นฝ้าเกาะอยู่บนผิวน้ำ ทำให้น้ำมีความกระด้างเจือปน แต่ไม่ได้แปลว่าตะกอนในน้ำแบบนี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพียงแต่อาจจะสร้างความไม่สบายใจต่อผู้ใช้น้ำจนอยากหาวิธีกำจัดให้หมดไป
ปัญหาตะกอนในน้ำบาดาล
สำหรับบ้านที่ใช้น้ำประปาจากน้ำบาดาล มักจะเจอปัญหาตะกอนในน้ำมากเป็นพิเศษ เพราะในน้ำบาดาลมักจะมีหินปูนและเหล็กมากกว่าน้ำจากแหล่งอื่น บางบ้านถึงกับเจอปัญหาตะกอนเหมือนคราบหินปูน เป็นเศษแข็งๆ เกาะติดอยู่ตามฝักบัว ก๊อกน้ำ และอุปกรณ์ประปาอื่นๆ หรือในเคสหนักที่เจอ คือ คราบตะกอนจับตัวจนเข้าไปเกาะในท่อทองแดง
เครื่องทำน้ำอุ่น จนทำให้เครื่องทำน้ำอุ่นทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพครับ
กรณีที่น้ำประปาสกปรกเนื่องจากน้ำมีตะกอนสนิม และสีขุ่น เกิดจากท่อส่งน้ำประปาเดิมที่ใช้น้ำบาดาลมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี ก่อให้เกิดตะกรันที่ติดอยู่ภายในท่อเดิม เมื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิต แรงดันสูงขึ้น จึงทำให้ตะกรันหลุดปะปนมากับน้ำประปา เกิดเป็นตะกอนในน้ำและน้ำเป็นสีขุ่น มีสนิมได้ครับ
น้ำมีตะกอนจากอุปกรณ์ประปาในบ้าน
นอกจากปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดตะกอนในน้ำแล้ว
อุปกรณ์ประปาในบ้านของเราเองก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำประปาสกปรกโดยไม่รู้ตัว เพราะเรามักจะละเลย ไม่ได้ดูแลรักษาอุปกรณ์การจ่ายน้ำต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอ นี่จึงเป็นอีกสาเหตุของตะกอนในน้ำที่เราต้องหันกลับมาดูแลรักษาด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้ครับ
1. ท่อประปา
หาก
ท่อประปาภายในบ้านเป็นท่อเก่าที่ใช้งานมานาน หรือเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีที่มีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี อาจมีปัญหาท่อเป็นสนิมอุดตัน หรือผุกร่อนได้ง่าย ทำให้คุณภาพน้ำประปาเปลี่ยนไปจนน้ำประปาสกปรก มีคราบแดงเนื่องจากน้ำมีตะกอนสนิมปะปนอยู่ ดังนั้น หากพบว่าท่อเก่าเป็นสนิมควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันทีครับ
2. ท่อและอุปกรณ์ประปาแตกรั่ว
หากพบว่ามีการรั่วไหลเกิดขึ้น ทั้งที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ จากถังชักโครกหรือถังเก็บน้ำที่ลูกลอยชำรุด ทำให้น้ำไหลทิ้งอยู่ตลอดเวลา ไปจนถึงการรั่วไหลจากท่อแตกรั่วใต้ดินที่มองไม่เห็น ควรรีบซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เพราะนอกจากท่อและอุปกรณ์ที่รั่วจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำประปาแล้ว อาจเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกเข้าไปในท่อจนทำให้เกิดตะกอนในน้ำและน้ำประปาสกปรกตามมา จึงต้องหมั่นตรวจสอบสภาพของท่อ และเปลี่ยนเมื่อครบอายุการใช้งานหรือเมื่อพบปัญหาทันทีครับ
3. ปั๊มน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำ
กรณีที่มีการติดตั้ง
ปั๊มน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำที่สูบน้ำจากเส้นท่อโดยตรง จะทำให้ดูดสิ่งสกปรกจากบริเวณใกล้เคียง เช่น น้ำขุ่นจากท่อน้ำที่แตกรั่ว หรือน้ำขุ่นแดงจากท่อสนิม เข้ามาใน
ระบบท่อประปาภายในบ้านด้วย ดังนั้นจึงควร
ติดตั้งถังพักน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ก่อน แล้วจึงสูบจากถังพักน้ำนั้นจ่ายไปยังท่อประปาภายในบ้านอีกทีก็จะได้น้ำที่สะอาดปลอดภัย ไม่มีตะกอนในน้ำครับ
4. ถังพักน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือแท้งค์น้ำ
ควรล้างทำความสะอาดและหมุนเวียนน้ำในถังพักน้ำ
ถังเก็บน้ำ หรือ
แท้งค์น้ำ อย่างน้อยทุก 6 เดือน เพราะหากไม่มีการล้างทำความสะอาดเลย อาจทำให้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เล็ดลอดเข้าไปและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้น้ำประปาสกปรกจากสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ควรปิดฝาถังพักน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือแท้งค์น้ำให้มิดชิดเสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นและแมลงครับ
5. เครื่องกรองน้ำ
อุปกรณ์กรองน้ำเพื่อความสะอาดอย่างเครื่องกรองน้ำ หากใช้งานมานานแล้วไม่เปลี่ยน
ไส้กรองหรือสารกรองตามกำหนด หรือไม่มีการล้างทำความสะอาด
เครื่องกรองน้ำเลยก็อาจกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียดีๆ นั่นเอง การทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจให้มากขึ้นครับ
6. อุปกรณ์จ่ายน้ำในบ้าน
อุปกรณ์จ่ายน้ำในบ้านที่ใช้งานมานาน เช่น
ก๊อกน้ำ ฝักบัว สายชำระ และอุปกรณ์อื่นๆ ก็ควรดูแลความสะอาด และหมั่นตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและโอกาสเกิดน้ำประปาสกปรกจากการปนเปื้อนผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ครับ
ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดตะกอนในน้ำจากต้นทางและระหว่างการจ่ายน้ำจากส่วนกลางได้ แต่หากเราใส่ใจ ดูแลรักษาอุปกรณ์ประปาภายในบ้านของเราเองเป็นประจำ ปัญหาตะกอนในน้ำ และน้ำประปาสกปรกจากปัจจัยอื่นๆ ก็จะหมดไปได้แน่นอนครับ หากใครกำลังพบปัญหาน้ำประปาสกปรก หรือน้ำมีตะกอนอยู่ก็สามารถนำวิธีที่
HomeGuru รวบรวมมาให้ไปลองปรับใช้กันดูได้นะครับ
สอบถามบริการเกี่ยวกับระบบน้ำ เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice
Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service :
https://bit.ly/3Bj8Yzs