แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ให้เย็นลงอย่างตรงจุด

แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ให้เย็นลงอย่างตรงจุด
แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน หนึ่งในปัญหาที่แก้ไม่ตกของเจ้าของบ้าน เพราะด้วยสภาพอากาศร้อนในเมืองไทย ที่ร้อนระอุขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน ที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 35.0-39.9 องศา จนต้องหาตัวช่วยคลาย ความร้อนใต้หลังคา กันให้วุ่น เพื่อลดอุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าว ด้วยหลากหลายวิธี เช่น ปลูกต้นไม้ ติดตั้งผ้าม่านกันแสงแดด UV แต่รู้หรือไม่ครับ วิธีที่หลาย ๆ บ้านเลือกใช้เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ วันนี้ HomeGuru มีเคล็ดลับในการ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ให้บ้านเย็นลงอย่างตรงจุด มาฝากทุกบ้านครับ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน

สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านร้อน

ก่อนจะหาวิธี แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทุกบ้านควรคำนึงถึง คือการหาสาเหตุหลักที่ทำให้ บ้านร้อนอบอ้าว โดยทั่วไปแล้วบ้านร้อนเกิดจาก ความร้อนจากแสงอาทิตย์ภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน ผ่านทางกระจก หน้าต่าง ประตู และจุดที่ความร้อนเข้ามาได้มากที่สุดคือบริเวณ หลังคา โดยไม่มีการระบายออกสู่ภายนอก ส่งผลให้บ้านมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น รวมถึงการสะสมความร้อนบนผนังปูนภายนอก ที่ถ่ายเทเข้ามาภายในตัวบ้าน อีกทั้งในช่วงเวลากลางคืนยังมีการสะสม และคลายความร้อนอีกด้วย ซึ่งหากมองจากสาเหตุหลักแล้ว วิธีการ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ที่ดีที่สุด คือการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ให้เข้ามายังตัวบ้านนั่นเองครับ สาเหตุหลักที่ทำให้บ้านร้อน

วิธีระบายความร้อนหลังคาบ้าน

1. ติดตั้ง ฉนวนกันความร้อนหลังคา บนฝ้า

ฉนวนกันความร้อนหลังคา (Insulation) หรือแผ่นกันความร้อน อีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้งบประมาณไม่มากนัก สำหรับบ้านสร้างใหม่ และบ้านเก่า เพื่อลดพลังงานความร้อนที่เข้ามาในตัวบ้านให้ลดน้อยลง ส่วนใหญ่นิยมติดตั้งบริเวณ ฝ้าเพดาน ใต้หลังคา เพื่อป้องกันความร้อนที่ได้รับจากหลังคาโดยตรง และส่วนของผนังบ้านเพื่อเก็บความเย็น และป้องกันความร้อนจากภายนอก โดยประสิทธิภาพในการกันความร้อนของ ฉนวนกันความร้อนนั้นเจ้าของบ้านสามารถพิจารณาได้จาก ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R ของ ฉนวนกันความร้อนครับ ค่า R หรือ ค่าการกันความร้อน เป็นความสามารถในการต้านทานความร้อน โดยฉนวนที่มีความหนา จะมีค่า R ที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นเจ้าของบ้านควรสังเกต หรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญเมื่อต้องการเลือกซื้อฉนวนไม่ว่าจะนำมาปูเหนือฝ้าเพดาน หรือใต้หลังคานะครับ ฉนวนกันความร้อนหลังคา

ประเภท...ฉนวนกันความร้อนหลังคา ที่นิยมใช้

ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น เป็น ฉนวนกันความร้อนหลังคา ที่เจ้าของบ้านหลาย ๆ บ้านเลือกใช้ เพราะหาซื้อง่าย สามารถติดตั้งได้ด้วยตนเองทั้งใต้หลังคา และใต้ฝ้าเพดาน อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนาน และช่วยป้องกันเชื้อรา แมลง และสัตว์ โดยฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น แบ่ง ออกเป็น 4 ชนิดดังนี้ ประเภท ฉนวนกันความร้อนหลังคา ที่นิยมใช้ ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiber Glass) หรือ ไมโครไฟเบอร์ เป็นที่นิยมอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ครับ เพราะมีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือ แผ่นสะท้อนความร้อน UV เป็น ฉนวนกันความร้อนหลังคาที่มีราคาถูกกว่าฉนวนกันความร้อนใยแก้ว มีความเหนียวทนทาน ไม่ลามไฟ หากต้องการให้ได้ประสิทธิภาพในการลด ความร้อนใต้หลังคา แนะนำให้ติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อช่วยในการดูดซับความร้อนครับ ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือ โฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน ส่วนใหญ่นิยมใช้ติดตั้งในโรงงาน แต่ในปัจจุบันนำมาติดตั้งใต้หลังคาบ้านมากขึ้น เพราะมีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ได้ดีเช่นกันครับ ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือ โฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย บางบ้านนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดาน หรือผนังบ้าน โดยไม่ต้องติดตั้งฉนวนประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม
ฉนวนใยแก้วกันความร้อน ฉนวนใยแก้วกันความร้อน ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนหลังคา

2. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน

หลังคาบ้านถือเป็นเกราะป้องกันแสงแดดด่านแรกที่มีความสำคัญกับการลดอุณหภูมิภายในบ้าน โดยทั่วไปแล้วควรเลือกใช้วัสดุที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศ อย่างในประเทศไทยที่มีหน้าร้อนยาวนานกว่าหน้าหนาว และหน้าฝน หลังคาบ้านส่วนใหญ่จึงเป็นกระเบื้องที่มีสีอ่อน เพราะสีไม่เพียงแต่จะให้ความสวยงามกับบ้านเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความร้อน และความเย็นภายในบ้านอีกด้วยครับ หลังคากันความร้อน ที่มีสีสว่าง จะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เพราะสีสว่าง จะไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้ แต่จะทำการสะท้อนแสง หรือ Reflection แทนครับ เช่น สีขาว สีเขียวอ่อน สีเทา แต่หากบ้านไหนที่ต้องการคุมโทนความเข้มของบ้านด้วยการใช้หลังคาสีเข้ม ก็ควรเลือกวัสดุ หลังคากันความร้อน ที่ผ่านการเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน เพื่อช่วยลด ความร้อนใต้หลังคา ครับ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน

3. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น

อิฐมอญ เป็นวัสดุโครงสร้างบ้านที่หาซื้อง่าย ราคาถูก แต่มีความคงทน เจ้าของบ้านจึงนิยมใช้เป็นโครงสร้างบ้าน แต่โดยทั่วไปแล้วจะนิยมก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น เท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหา บ้านร้อนอบอ้าว เพราะได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นหากต้องการ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน อาจจำเป็นต้องก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะทิศที่โดนแดดในช่วงบ่าย เช่น ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง และที่สำคัญ ช่วยลดค่าไฟ เพราะอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาครับ บ้านร้อนอบอ้าว

4. ระยะยื่นชายคาที่เหมาะสม

ความเหมาะสมของระยะชายคา เป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยลด ความร้อนใต้หลังคา เพราะนอกจากชายคาจะช่วยกันแสงแดด กันฝนแล้ว ยังช่วยระบาย ความร้อนใต้หลังคา ให้บ้านเย็นสบายมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วระยะยื่นชายคาที่เหมาะสมสำหรับกันแดดจะอยู่ที่ 1.00 – 1.80 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละห้องด้วยครับ เช่น ห้องน้ำ อาจจะต้องการแสงแดดในปริมาณที่มากกว่าห้องนั่งเล่น ห้องนอน และห้องทำงาน จึงต้องมีการออกแบบโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้โครงสร้างทีเหมาะสม แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน

5. เลือกพื้น “กระเบื้อง” ที่ให้ความเย็น

กระเบื้องพื้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ บ้านร้อนอบอ้าว เย็นลงได้ หากเลือกปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว เช่น หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายลวดลายตามเทรนด์ และการออกแบบตกแต่งภายในบ้านครับ ลดบ้านร้อน

DIY ระบายความร้อนใต้หลังคา

การ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน บางบ้านไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้เสมอไป การเลือกแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุด้วยวิธีการง่าย ๆ และเจ้าของบ้านสามารถทำเองได้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่เลือกที่จะทำครับ เช่น การติดตั้งระแนงบังแดด ระแนงบังแดด ไม่เพียงแต่จะช่วยบังแดดให้บ้านเท่านั้น เจ้าของบ้านยังสามารถออกแบบเป็นงานตกแต่ง ให้บ้านสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วยนะครับ โดยการติดตั้งและรูปแบบของระแนงบังแดด ควรคำนึงถึงทิศทางของแสงแดดเป็นหลัก เช่น ทิศตะวันออก จะโดนแดดในช่วงเช้า ควรเลือกติดตั้งระแนงบังแดดในมุมสูงที่บริเวณด้านบนประตู หรือหน้าต่าง เพื่อเป็นเสมือน หลังคากันความร้อน ทิศใต้ จะโดนแดดในช่วงบ่าย ระแนงกันแดดควรยื่นออกจากผนังในแนวตั้ง และทิศตะวันตก เป็นทิศที่มีการสะสมความร้อนตลอดทั้งวัน ควรติดตั้งระแนงกันแดดบริเวณหน้าต่างในแนวนอน ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถ DIY ระแนงกันแดดได้ด้วยตนเองโดยเลือกวัสดุที่เหมาะสม ที่สามารถกันแดด กันฝน เพื่อยืดระยะเวลาในการใช้งานครับ ระแนงบังแดด ติดกระจกฟิลม์บริเวณประตู และหน้าต่าง เพื่อสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้านได้ เป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง หากไม่ต้องการติดตั้งผ้าม่าน เพราะในปัจจุบันมี DIY Sticker ทั้งแบบกาวและแบบสุญญากาศ เหมือนสติกเกอร์ทั่ว ๆ ไป ทำให้ติดตั้งง่าย แถมราคาก็ไม่สูงมากอีกด้วยครับ
ฟิล์มกันความร้อน DIY ฟิล์มกันความร้อน สีฉนวนกันความร้อน TOA
กระจกฟิลม์บริเวณประตู และหน้าต่าง ปลูกต้นไม้สร้างร่มเงา เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับตัวบ้าน และเป็นการฟอกอากาศไปในตัว การปลูกต้นไม้เป็นวิธีที่ดีในการลดปัญหา บ้านร้อนอบอ้าว โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง ฉนวนกันความร้อนหลังคา หรือ พัดลมระบายความร้อนใต้หลังคา โดยเจ้าของบ้านสามารถออกแบบสวน และเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในบ้านได้ด้วยตนเอง หรือเลือกทำ DIY ปลูกต้นไม้แบบกระถางไม้แขวน หรือการจัดสวนแบบแนวตั้งก็ได้นะครับ แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน การแก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน ที่ HomeGuru แนะนำไว้ข้างต้น ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันไม่ให้ บ้านร้อนอบอ้าว เพียงเท่านั้นนะครับ แต่ยังช่วยเรื่องการอยู่อาศัยของทุกคนในครอบครัว เพราะ ความร้อนภายในบ้านส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะกับเด็ก และผู้สูงวัย ที่อาจเกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ครับ ดังนั้นการแก้ปัญหาบ้านร้อนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยไม่ว่าจะแก้ที่ต้นเหตุ หรือปลายเหตุก็ตาม
สอบถามบริการติดตั้งงานปูฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ