หากนึกถึงปัญหาที่ทำให้คนรักบ้านต้องหนักใจแล้ว
ครัวทรุด แทบจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ บ้าน โดยเฉพาะการทรุดจากการต่อเติมครัวที่ไม่แข็งแรง ครัวเริ่มแตกร้าว และเอียงจนดูเหมือนจะพังเต็มที ซึ่งในวันนี้
HomeGuru จะพาคุณมาไขคำตอบว่า พื้นทรุดแก้ไขอย่างไร ได้บ้าง แล้วจะ ซ่อมพื้นทรุด อย่างไร ไม่ให้กลับมามีปัญหาอีกในอนาคต
การรับมือกับปัญหา ครัวทรุด บางครั้งก็ต้องมาแก้ไขปัญหาที่ต้นตอและสาเหตุที่แท้จริง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีกครั้ง
1. รู้ทันต้นเหตุของปัญหา ครัวทรุด 2. เทคนิคสังเกตว่าพื้นทรุดจริงหรือไม่? 3. วิธีแก้ไขและต่อเติมครัวใหม่ ไม่ให้กลับมามีปัญหาอีกครั้ง 4. เทคนิคง่าย ๆ ช่วยป้องกันปัญหา ครัวทรุด ได้ในอนาคต รู้ทันต้นเหตุของปัญหา ครัวทรุด
สำหรับปัญหา
พื้นทรุด นั้น มีต้นตอและสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะต้นเหตุจากฐานรากและเสาเข็ม ที่ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้เพียงพอ เมื่อทรุดแล้วจะสังเกตได้เลยว่า การล้มเอียงถูกแยกออกจากตัวบ้านอย่างชัดเจน ซึ่ง
HomeGuru จะขอสรุปสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดปัญหาดังกล่าว เอาไว้คร่าว ๆ 5 สาเหตุด้วยกัน นั่นก็คือ
1. ปัญหาจากการใช้เสาเข็ม
เรียกว่า เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาดังกล่าวนี้เลยทีเดียว โดยเฉพาะเสาเข็มที่มีจำนวน ขนาด ตลอดจนความลึกที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับน้ำหนักได้ ทั้งโครงสร้าง วัสดุ หรือแม้แต่การใช้งาน จึงส่งผลให้ตัวพื้นเริ่มทรุดตัวอย่างรวดเร็ว ในบางกรณี อาจเกิดจากเสาเข็มชำรุด แตก หัก หรืออาจจะแยกขาดออกจากกัน หรือปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินที่ไม่เหมือนกัน ทำให้มีความลึกไม่เท่ากัน และถ้าปักเสาเข็มไม่ตรงกับเสาบ้าน ก็สามารถส่งผลให้ฐานล่างเกิดการพลิกตัว จนนำมาสู่การเกิดปัญหา พื้นทรุด ได้เช่นกัน
2. ใช้วิธีต่อเติมโดยให้โครงสร้างอิงกับตัวบ้านเดิม
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาพื้นเอียงหรือทรุด นั่นก็คือ การต่อเติมแล้วมีโครงสร้างบางส่วนไปอิงกับตัวบ้านเดิม ไม่ว่าจะเป็น ผิวคานคอดินที่รับพื้น ผนัง หรือแม้แต่ฐานรากที่ช้อนอยู่บนฐานรากเดิม ยิ่งถ้าไม่ได้ต่อเติมด้วยการคั่นโครงสร้างด้วยแผ่นโฟม เพื่อทำให้มีการผสานระหว่างพื้นคอนกรีตด้วยแล้ว ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทรุดเอียงได้
3. วางของหนักไว้ในพื้นด้านที่ทรุดหรือเอียง
การวางของหนักโดยเฉพาะเคาน์เตอร์ครัวหรือตู้กับข้าวไว้ด้านที่ชิดกับรั้วบ้าน บางครั้งก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเท่าที่ควร เพราะขาดความสมดุล เป็นต้น
4. สภาพของดิน
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ตัวครัวที่ต่อเติมทรุดได้ง่าย บางครั้งก็เกิดขึ้นจากสภาพเดิมของดิน รวมไปถึงการลงเสาเข็มและฐานรากที่ไม่พอดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรับน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน อย่างเช่น หน้าดินทรุด ดินเกิดการเคลื่อนที่
5. สภาพแวดล้อมและสิ่งกระตุ้น
สาเหตุที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ การทรุดตัวที่มาจากสภาพแวดล้อมที่มาเป็นสิ่งกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม หรือโครงสร้างที่แช่น้ำเป็นเวลานาน ๆ จนทำให้เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งลักษณะของการทรุดก็มีทั้งระดับของพื้นโครงสร้าง ไปจนถึงการทรุดแบบระนาบเดียวกัน ซึ่งก็ควรพิจารณาว่าการทรุดของพื้นมีระดับประมาณเท่าไหร่ เพื่อที่จะหาวิธีการ ซ่อมพื้นทรุด ได้อย่างถูกวิธี
เทคนิคสังเกตว่าพื้นทรุดจริงหรือไม่?
ถึงแม้การทรุดตัวของครัวจะเกิดขึ้นแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องรู้ว่าอาการ พื้นทรุด ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน เพื่อที่จะได้หาวิธีการรับมือและแก้ไขปัญหาได้ถูกวิธี • พื้นบ้านแยกออกจากกัน ซึ่งอาจจะแยกออกจากส่วนที่ต่อเติมเข้าไป • ผนังมีรอยร้าวหรือรอยยาว จะสังเกตได้จากบริเวณรอบ ๆ เช่น รอยแตกลายงาบริเวณผิวปูน • โครงสร้างคานบ้าน กับบริเวณผนังเริ่มแยกออกจากกันจนเห็นได้ชัด • บริเวณพื้นบ้านทรุดตัวลงต่ำ บริเวณทางเดินมีรอยแยก หรือหากปูกระเบื้องจะสังเกตได้ว่ามีรอยแตก • หากพื้นเอียงจะสังเกตได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า • ดินบริเวณรอบ ๆ เกิดการทรุดตัว หรือมีโพรงดินใกล้ ๆ บริเวณตัวบ้าน
วิธีแก้ไขและต่อเติมครัวใหม่ ไม่ให้กลับมามีปัญหาอีกครั้ง
เมื่อเกิดปัญหา ครัวทรุด สิ่งที่คนรักบ้านกังวล ก็คือ การไม่รู้ว่า พื้นทรุดแก้ไขอย่างไร ได้บ้าง หากต้องการต่อเติม
บ้านทรุด แล้ว จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกซ้ำสอง โดยการแก้ไขด้วยการต่อเติมครัว จะต้องแยกวิธีออกออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. ส่วนต่อเติมแยกขาดจากตัวบ้าน
ในกรณีที่เกิดการทรุดตัวจากการก่อสร้าง โดยต่อเติมแยกออกจากตัวบ้านอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการก่อผนังหรือปูกระเบื้องเชื่อมเพื่อให้ชนกับตัวบ้าน จะสังเกตได้ว่า มีรอยร้าวเกิดขึ้นที่รอยต่อ การแก้ไขไม่ควรไปบุกระเบื้องหรือปูกระเบื้องทับ เพราะจะทำให้รอยแตกร้าวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แนวทางการแก้ไขหลัก ๆ คือ ต้องแก้ไขรอยร้าวที่พื้นและผนัง ด้วยการสกัดตามแนวรอยร้าวให้เป็นร่องลึกประมาณ 1 ซม. กว้าง 1 ซม. แล้วลงยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น ประเภท PU หรือ
ซิลิโคน เพื่อป้องกันน้ำและแมลง แต่หากเป็นรอยแยกที่บริเวณหลังคา แนะนำว่าให้นำแผ่นสเตนเลสหรือเหล็กชุบสังกะสี เสียบเข้าไปในร่องยาแนวด้วย
2. การทรุดตัวจากโครงสร้างพื้น และหลังคาเชื่อมกับตัวบ้าน
หากเป็นปัญหาที่โครงสร้าง การ ซ่อมพื้นทรุด จะค่อนข้างซับซ้อนและยากกว่า เพราะมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทรุดตัว โดยแนวทางการแก้ไขคือ
2.1. การทรุดตัวของดินมีไม่มาก
สำหรับการซ่อมพื้นจากการทรุดตัวของดินที่ไม่มากเกินไป จะสังเกตได้ว่ารอยแตกร้าวจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในช่วงแรกเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีอัตราการแตกร้าวที่น้อยลง เพราะโดยทั่วไปแล้ว ดินจะทรุดตัวไปจนกว่าจะถึงระดับที่แน่น การแก้ไขคือ ให้ซ่อมรอยร้าวด้วยวัสดุอุดที่มีความยืดหยุ่น เช่น PU ไม่ควรอุดด้วยปูนเด็ดขาด
2.2. การทรุดตัวมีอัตราที่มากกว่าปกติ
แน่นอนว่า หากอัตราการทรุดมีมากกว่าปกติ ดินทรุดค่อนข้างมาก จะสังเกตได้ว่ารอยร้าวจะกว้าง พื้นเอียง เอนออกจากแนวอาคารอย่างชัดเจน จนทำให้ไม่อาจใช้งานได้ เมื่อสังเกตแล้วว่าการทรุดของพื้นหยุดหรือน้อยลงจากเดิมแล้ว ให้แก้ไขด้วยการรื้อผนังโดยรอบออก แล้วเปลี่ยนวัสดุให้มีน้ำหนักเบาลงจากเดิม เพื่อลดความเสี่ยงกับปัญหาพื้นเอียงหรือทรุดในอนาคต เช่น โครงเหล็กบุด้วยไม้เทียม หลังจากนั้นให้ปรับระดับพื้นใหม่ อีกหนึ่งวิธีของการแก้ไขปัญหาครัวทรุด คือ การเสริมความแข็งแรงด้วยเสาเข็มประเภทไมโครไพล์ (Micro Pile) เสาเข็มท่อเหล็ก หรือเสาเข็มคอนกรีตเล็ก ๆ ก็ได้ เพื่อให้รองรับน้ำหนักของโครงสร้างครัวได้มากขึ้น แต่วิธีนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ควรให้วิศวกรหรือบริษัท ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะมาดำเนินการให้แทน ทั้งนี้ ควรเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายก่อนว่าวิธีนี้จะคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับการรื้อถอนแล้วสร้างใหม่
เทคนิคง่าย ๆ ช่วยป้องกันปัญหา ครัวทรุด ได้ในอนาคต
ถึงแม้ว่าจะแก้ไขปัญหาพื้นเอียงในเบื้องต้นไปบ้างแล้ว แต่อย่าลืมว่าส่วนที่ต่อเติมเข้าไปใหม่นั้น ในอนาคตก็อาจเกิดปัญหาการทรุดตัวของพื้นได้อีกเช่นกัน การป้องกันปัญหาแบบง่าย ๆ คือ • เลือกพื้นที่ที่ใช้ต่อเติม ควรหลีกเลี่ยงการต่อเติมบนดินที่ผ่านการถมมาน้อยกว่า 1 – 2 ปี หรือบริเวณที่เป็นบ่อและบึง เพราะดินไม่แน่นอาจทรุดตัวได้อีก • แยกโครงสร้างใหม่และเก่าออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการทรุดตัว หรือดึงโครงสร้างบ้านเดิมให้เสียหายตามไปด้วย • หากเป็นไปได้ควรใช้เสาเข็มที่ต่อเติมใหม่ มีความยาวเทียบเท่ากับของเดิม • ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัว เช่น ระบบผนังเบา เคาน์เตอร์อิฐมวลเบา ผนังไม้เทียม โครงเหล็กบุด้วยไม้เทียม • จัดวางผังกระจายน้ำหนักภายในครัว เพื่อช่วยสร้างความสมดุลและป้องกันการทรุดเอียดได้ เช่น การวางเคาน์เตอร์มุมหนึ่ง และในมุมฝั่งตรงกันข้ามควรวางตู้เย็นที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน ไม่ควรเอาไปวางข้าง ๆ
เคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น
ปัญหา
ครัวทรุด และ
พื้นทรุด ที่เกิดขึ้นกับบ้านนั้น มีระดับของปัญหาที่ต่างกันออกไป ความยากและง่ายก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายของปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของบ้านควรตัดสินใจให้รอบคอบว่าควร ซ่อมพื้นทรุด อย่างไรถึงจะคุ้มค่าที่สุด แต่หากต้องการเลือกซื้อสินค้าสำหรับซ่อมแซมบ้าน เราขอแนะนำให้มาเลือกซื้อสินค้าที่ HomePro เพราะนอกจากจะมีสินค้าดี ๆ ให้เลือกสรรแล้ว ยังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
สอบถามบริการเพื่อปรับปรุง หรือ ต่อเติมครัว เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice
Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT โปรโมชั่นเพิ่มเติมจาก Home Service :
https://bit.ly/3Bj8Yzs