ชุดโฮมเธียเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยเพิ่มอรรถรสให้วันพักผ่อนธรรมดา ๆ กลายเป็นวันพิเศษที่ทำให้ทุกคนในบ้านสามารถเพลิดเพลินไปกับการดูหนัง ฟังเพลงแบบฟิน ๆ ได้ทั้งวัน ยิ่งหากใช้ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ ควบคู่ไปกับจอทีวีที่มีความละเอียดสูง ให้ภาพที่สีสวย คมชัด ก็จะยิ่งเพิ่มความสมจริง และให้อารมณ์เหมือนมีโรงภาพยนตร์ส่วนตัวในบ้านกันเลยล่ะครับ แต่การจะเลือกชุดโฮมเธียเตอร์สักชุดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะระบบเสียงของชุดโฮมเธียเตอร์ที่มีมากมายหลายแบบอาจสร้างความสับสนได้
HomeGuru จึงขออาสาช่วยทุกคนวางแผนก่อนซื้อ ชุดโฮมเธียเตอร์ จากระบบเสียงให้ตรงกับความต้องการใช้งานที่สุดครับ
• เลือกระบบ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์
1. Receiver Home Theater หัวใจสำคัญของระบบเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ 2. ระบบการถอดรหัสเสียงในเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์จำเป็นหรือไม่ • เทคนิคเลือกซื้อ ชุดโฮมเธียเตอร์ ไม่ให้พลาดความคุ้ม
1. การวัดขนาดของห้องฟัง 2. ประเมิน และกำหนดงบประมาณ 3. ถามตัวเองว่าต้องการรองรับระบบเสียงขนาดไหน 4. สำรวจโปรโมชั่นในท้องตลาด 5. ไปซื้อโฮมเธียเตอร์รุ่นที่ต้องการ • เลือกระบบ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์
ปัจจัยแรกในการเลือกซื้อชุดโฮมเธียเตอร์คือการตอบตัวเองให้ได้อย่างชัดเจนก่อนว่าต้องการซื้อ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ (Home Theater) ไว้ใช้ทำอะไรบ้าง เช่น จะใช้ต่อกับเครื่องเล่นไฟล์อย่าง iPod เพื่อใช้ฟังเพลงด้วยหรือไม่ จะใช้เปิดไฟล์หนังที่มีเสียง 5.1/7.1 (มัลติแชนเนล) ด้วยไหม หรือเพียงต้องการให้เสียงจากช่องรายการทีวีปกติดีขึ้นเท่านั้น เพราะหากต้องการใช้งานชุดโฮมเธียเตอร์เพื่อการชมภาพยนตร์เป็นหลัก หรือเล่นเกมที่มีการบันทึกเสียงแบบมัลติแชนเนลด้วย ก็ควรเลือกชุด 5.1/7.1 (มัลติแชนเนล) แต่หากแค่ต้องการฟังเพลงเป็นหลัก ชุดเครื่องเสียงมัลติมีเดีย 2.0/2.1 ก็เพียงพอต่อความต้องการใช้งานแล้วครับ
1. Receiver Home Theater หัวใจสำคัญของระบบ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์
รีซีฟเวอร์โฮมเธียเตอร์ (Receiver Home Theater) เป็นตัวขยายเสียงในระบบเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ เพราะรีซีฟเวอร์มีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้ครับ • ทำหน้าที่เป็นจูนเนอร์ หรือเครื่องรับสัญญาณจากภาครับวิทยุ • ทำหน้าที่เป็นอินติเกรตแอมป์ ที่ใช้ขยายสัญญาณเสียงที่มาจากเครื่องเล่น DVD หรือมาจาก Box รับสัญญาณเคเบิลทีวี • ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่ส่งมาทั้งระบบดิจิตอล (Digital) และระบบอะนาล็อก (Analog) โดยจะอ่านสัญญาณแยกออกเป็น 5.1 แชนแนล หรือมากกว่านั้น และบางรุ่นอาจเป็น 7.1 แชนแนล เพื่อขับลำโพง • ทำหน้าที่เป็นลำโพง Center ใช้ขับเสียงกลางหรือเสียงพูด ซึ่งสำหรับการดูหนังแล้วลำโพง Center จะทำหน้าที่มากที่สุด • ทำหน้าที่เป็นลำโพงหน้าซ้าย-ขวา (Front) และลำโพง Surround เป็นลำโพงที่แยกมิติเสียง และช่วยให้การสร้างเอฟเฟคมีความสมจริง แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันรีซีฟเวอร์มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีช้ากว่าแอมปลิฟาย (Amplifier) สำหรับฟังเพลง ที่จะมีให้เลือกมากกว่า และมีการออกแบบวงจรที่หลากหลายกว่า เพราะนับตั้งแต่ ชุดโฮมเธียเตอร์ เกิดขึ้นมาในตลาด Home Use ระบบโฮมเธียเตอร์ก็ยังคงมุ่งเน้นผลิตให้กับกลุ่ม Mid-End จนไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของรีซีฟเวอร์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้ผลิต เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาฟังก์ชั่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เพิ่มเข้ามาในเครื่องเล่นรุ่นใหม่ ๆ แทนที่จะพัฒนาปรับปรุงเรื่องของคุณภาพเสียงอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น สนามเสียงเทียมในแบบต่าง ๆ อย่าง Hall, โรงหนัง, สนามเสียงที่ใช้ในห้องแคบ ๆ หรือการปรับเสียงตามแนวเพลงร็อค, แจ๊ส, ป๊อบ รวมไปถึงเรื่องของวงจรอีควอไลเซอร์ปรับแต่งความถี่สูง หรือเหล่าโปรแกรม Pro Logic ต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ทำให้คุณภาพเสียงลดลง เพราะหากใครมีปะสบการณ์ใช้งานจริงก็จะพบว่าการปรับเสียงเหล่านี้มีส่วนทำให้คุณภาพเสียงของรีซีฟเวอร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าโหมดปรับแต่งเหล่านี้เป็นเพียงลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วอยากให้พิจารณาในเรื่องของกำลังขับมากกว่าครับ
2. ระบบการถอดรหัสเสียงใน เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ จำเป็นหรือไม่
สำหรับระบบการถอดรหัสเสียง เช่น Dolby Digital, Dolby Pro-Logic, DTS รวมไปถึง THX มักจะทำให้ผู้ที่กำลังเลือกซื้อชุดโฮมเธียเตอร์สับสนว่ามันคืออะไรกันบ้าง และมีความจำเป็นแค่ไหน เนื่องจากระบบถอดรหัสเสียงของ Dolby ดูเหมือนจะครองตลาดเครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ไปแล้ว โดยระบบเหล่านี้จะทำหน้าที่แยกเสียงที่ถูกบันทึกมาจากแผ่น DVD ให้ถูกต้องที่สุด โดยแยกเสียงจากซ้ายไปขวา และจากเซอร์ราวด์ไปเซ็นเตอร์ เครื่องที่ติด Label พวกนี้ก็สามารถทำงานกับแผ่นที่บันทึกมาในระบบนั้น ๆ ได้ ซึ่งรีซีฟเวอร์ส่วนใหญ่จะมีระบบถอดรหัสแทบทุกตัว ส่วน Label THX ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นระบบเสียง แต่จริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น รีซีฟเวอร์ที่สามารถติด Label THX ได้ จะต้องนำเครื่องไปให้ THX ทดสอบว่าเครื่องยี่ห้อนั้น ๆ หรือรุ่นนั้น ๆ ผ่านมาตรฐาน THX หรือไม่ ซึ่งมาตรฐานที่กล่าวถึง เช่น กำลังขับ การตอบสนองความถี่ และความเที่ยงตรง ต้องอยู่ระดับใดถึงจะใช้มาตรฐาน THX ได้ ส่วนการถอดรหัสเสียงระบบ Dolby หรือ DTS ถือเป็นตัวทำหน้าที่นั่นเองครับ ที่สำคัญ คือ การเลือกใช้ลำโพง
โฮมเธียเตอร์ทั้งหมดควรจะเป็นลำโพงยี่ห้อเดียวกัน และรุ่นเดียวกัน เพราะจะทำให้ได้สนามเสียงที่กลมกลืนกันทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันนี้จะมีลำโพงแบบที่จำหน่ายเป็น Set อยู่แล้ว ส่วนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่ระดับ Low ถึง Hi ตามแต่งบประมาณที่แต่ละคนตั้งไว้ แต่หลักในการเลือกซื้อที่เหมือนกัน คือ สเปคลำโพงทั้งหมดควรอยู่ใน Series เดียวกันนั่นเองครับ
• เทคนิคเลือกซื้อ ชุดโฮมเธียเตอร์ ไม่ให้พลาดความคุ้ม
หลังจากตอบตัวเองได้แล้วว่าต้องการใช้งาน เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ อย่างไร และระบบเสียงจำเป็นที่ควรพิจารณามีอะไรบ้าง ก็มาถึงขั้นตอนต่อไปในการเลือกซื้อชุดโฮมเธียเตอร์กันแล้วครับ โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยครับ
1. การวัดขนาดของห้องฟัง
ขนาดห้อง คือ สิ่งที่ควรคิดถึงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะออกจากบ้านไปเลือกซื้อเลยครับ นั่นก็เพราะว่าลำโพงในชุด เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ ทุกตัวจะมีระดับเสียงที่เป็นโซน “เสียงดี” ไม่เท่ากัน ยิ่งลำโพงมีขนาดเล็กก็จะยิ่งมีขีดจำกัด และการนำชุดโฮมเธียเตอร์ที่มีลำโพงตัวเล็ก ๆ ไปวางไว้ในห้องที่ตกแต่งจัดเต็มแบบโรงหนังขนาดย่อมก็อาจจะทำให้พลาดความกลมกลืนในรายละเอียดของเสียงขณะชมภาพยนตร์ก็เป็นได้ครับ และนอกจากนี้ การเร่งเสียงให้ดังเกินลิมิตความสามารถของลำโพงก็มีส่วนทำให้อายุการใช้งานของเครื่องเสียงลดลงอีกด้วย ฉะนั้นแล้วขนาดของห้องจึงเป็นข้อมูลลำดับแรกที่ควรตรวจสอบไว้ก่อนที่จะไปพิจารณาในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปครับ
2. ประเมิน และกำหนดงบประมาณ
หลังจากที่ทราบขนาดห้องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือประเมินงบประมาณในการซื้อ ชุดโฮมเธียเตอร์ ที่จะต้องใช้กัน โดยถ้าห้องที่ต้องการใช้งานมีขนาดใหญ่พอสมควรก็อาจจะต้องมีงบประมาณมากหน่อยในการจะเลือกชุดโฮมเธียเตอร์แบบจัดเต็ม เพื่อให้ได้ออกมาอย่างที่หวังไว้ ซึ่งการกำหนดงบประมาณเอาไว้จะช่วยให้การตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นแบบไม่ทำให้กระเป๋าฉีกครับ
3. ถามตัวเองว่าต้องการรองรับระบบเสียงขนาดไหน
เนื่องจากในปัจจุบันวงการ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเสียงแบบใหม่ที่เพิ่มเอาเสียงจากด้านบนเพดานเข้ามาด้วย ซึ่งใครที่ติดใจในเสียงรอบทิศทาง หรือเคยได้มีโอกาสเข้าชมภาพยนตร์แบบ Dolby Atmos มาบ้างแล้ว และมีงบประมาณค่อนข้างมาก ก็แนะนำให้จัดเต็มเพื่อรองรับเสียงกระหึ่ม สมจริงแบบยาว ๆ ไปเลยครับ แต่สำหรับใครที่ปิดฝ้าไปเรียบร้อยแล้วแต่ยังต้องการระบบเสียงแบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลครับ เพราะการนำลำโพง Dolby Enable Speaker มาวางข้างบนคู่หน้าก็จะได้แชนแนลเสียงด้านบนเพิ่มเข้ามาทันทีเช่นกันครับ
4. สำรวจโปรโมชั่นในท้องตลาด
การเลือกซื้อ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ ให้ได้ราคาที่คุ้มค่าที่สุดอาจจะต้องอาศัยช่วงโปรโมชั่น หรือตามงานอิเล็กทรอนิกส์เอ็กซ์โปต่าง ๆ ซึ่งเหตุผลหลักก็เพื่อจะได้ซื้อสินค้าในราคาต่ำกว่าปกติ ไม่ว่าจะจากการที่ห้างร้านนำมาลดราคาเอง หรือจากโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ ฉะนั้น หากมีแพลนจะซื้อชุดโฮมเธียเตอร์ก็คอยติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับโปรโมชั่นจากหลาย ๆ ที่ เมื่อได้เป้าหมายที่ต้องการแล้วก็ลุยไปขั้นตอนสุดท้ายได้เลยครับ
5. ไปซื้อโฮมเธียเตอร์รุ่นที่ต้องการ
เมื่อเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้วก็ถึงเวลาเดินเข้าไปซื้อชุดโฮมเธียเตอร์ตามที่ตั้งใจเอาไว้ แต่ก่อนที่จะรีบสินค้ากลับบ้านก็อย่าลืมตรวจสอบสินค้าให้เรียบร้อย เช็คสภาพให้ดีว่าไม่มีส่วนที่ชำรุดเสียหาย รวมไปถึงการตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันสินค้า และที่สำคัญที่สุด ต้องเลือกซื้อชุดโฮมเธียเตอร์ของจากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือด้วยนะครับ
ทั้งหมดนี้คือเทคนิคดี ๆ ในการวางแผนเพื่อเลือกซื้อ
ชุดโฮมเธียเตอร์ จาก
HomeGuru ให้ได้ เครื่องเสียงโฮมเธียเตอร์ ที่ได้มาตรฐาน ไม่พลาดทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ ได้สินค้าคุณภาพดี คุ้มค่า คุ้มราคา และไม่ต้องกลับมาเสียใจภายหลังครับ ซึ่งหากใครกำลังมองหาชุดโฮมเธียเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อความบันเทิงอื่น ๆ ก็สามารถมาเลือกซื้อได้ที่โฮมโปรทุกสาขา หรือช้อปออนไลน์ผ่านทาง www.homepro.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1284 ครับ