เชื่อว่าใคร ๆ ก็ต้องอยากมี
สระว่ายน้ำในบ้าน เป็นของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น แล้ววันนี้
HomeGuru ก็มีสิ่งที่เป็นประโยชน์มาฝากว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรรู้ก่อนจะตัดสินใจทำ สระน้ำในบ้าน ในบ้าน รวมไปถึงยังมี แบบสระว่ายน้ำในบ้าน ที่น่าสนใจมาให้ชมกันเป็นตัวอย่างไว้ให้ไปปรับทำตามความเหมาะสมกับพื้นที่ในบ้านของเรา หน้าร้อนนี้จะได้มี สระว่ายน้ำ ไว้ว่ายเล่นกันแบบเพลิน ๆ ทั้งสบาย และคลายร้อนได้ทั้งครอบครัวแบบที่ไม่ต้องออกไปไหนอีกด้วย
● ไอเดียทำ สระว่ายน้ำในบ้าน ว่ายสบาย คลายร้อน
1. สำรวจพื้นที่สำหรับทำ สระว่ายน้ำในบ้าน 2. รู้จักกับโครงสร้างของ สระว่ายน้ำ 3. รู้จักกับระบบของ สระน้ำในบ้าน 4. ระบบบำบัดสระว่ายน้ำที่ควรรู้ 5. รวม แบบสระว่ายน้ำในบ้าน ● สำรวจพื้นที่สำหรับทำ สระว่ายน้ำในบ้าน
ก่อนอื่นเลยการสำรวจพื้นที่ในบ้านของเราคือสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยบ้านที่เริ่มต้นตั้งแต่ 50 ตารางวา ขึ้นไปก็สามารถทำสระว่ายน้ำได้แล้ว สำหรับบ้านที่สร้างใหม่จะได้เปรียบกว่าบ้านที่สร้างเสร็จมาแล้ว เพราะเราสามารถเผื่อพื้นที่ในการลง สระน้ำในบ้าน ได้เลย ส่วนถ้าเป็นบ้านที่สร้างเสร็จมาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องลองดูว่ามีมุมไหนที่สามารถลงสระว่ายน้ำได้เพิ่มเติมหรือไม่ โดยที่เราไม่ต้องทำ สระว่ายน้ำ ให้มีขนาดใหญ่ก็ได้ แต่ก็ต้องไม่เล็กจนเกินไป อย่างน้อยควรจะกว้างเพียงพอในการที่เราสามารถว่ายน้ำไปมาเพื่อออกกำลังกายได้อย่างคล่องตัว ไม่ใช่ว่าว่ายไปแล้วแขนหรือขาไปชนขอบสระ หมุนตัวได้ไม่สะดวก ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ต่างอะไรกับอ่างน้ำที่ไว้ใช้แช่ตัวดี ๆ นี่เอง โดยขนาดสระว่ายน้ำที่ได้รับความนิยม มีดังนี้
1. สระว่ายน้ำสำหรับเด็ก
จะมีขนาดกว้างคูณยาวอยู่ที่ประมาณ 3 x 5 เมตร และมีความลึกตั้งแต่ 0.60 – 0.90 เมตร
2. สระว่ายน้ำสำหรับผู้ใหญ่
จะมีขนาดกว้างคูณยาวอยู่ที่ประมาณ 4 x 8 , 5 x 10 , 6 x 12 7 x 14 เมตร และมีความลึกตั้งแต่ 1.20 – 1.50 เมตร ระดับความลึกสำหรับสระผู้ใหญ่ที่แนะนำคือ 1.20 - 1.30 เมตร เมื่อยืนแล้วจะอยู่ระดับหน้าอกพอดี
3. สระว่ายน้ำ สำหรับออกกำลังกาย
จะมีขนาดกว้างคูณยาวไม่น้อยกว่า 3 x 10 เมตร และมีความลึกตั้งแต่ 1.20 – 1.50 เมตร
4. สระว่ายน้ำสำหรับติดตั้งสปริงบอร์ด
จะมีขนาดกว้างคูณยาวไม่น้อยกว่า 6 x 12 เมตร และมีความลึกตั้งแต่ 2.50 เมตร ขึ้นไป ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการเลือกจุดสำหรับลง สระน้ำในบ้าน คือ ตำแหน่งสระว่ายน้ำไม่ควรวางทางทิศตะวันตก เพราะจะเป็นการรับแดดช่วงบ่ายแบบเต็ม ๆ ส่วนทิศที่เหมาะสมในการจัดวางก็คือทิศเหนือ เราสามารถลงสระให้ชิดกับตัวบ้านเพื่อให้ร่มเงาของตัวอาคารช่วยป้องกันแสงแดดไปในตัว ซึ่งเราสามารถปรึกษากับผู้รับเหมาหรือบริษัทที่เราจะจ้างมาสร้างสระว่ายน้ำของเราอีกทีก็ได้
● รู้จักกับโครงสร้างของ สระว่ายน้ำ
สำหรับโครงสร้างของสระว่ายน้ำ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สระว่ายน้ำโครงสร้างคอนกรีต
ตามชื่อเลยก็คือ แบบสระว่ายน้ำในบ้าน โครงสร้างนี้ทั้งพื้นและผนังของสระว่ายน้ำจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ซึ่งสามารถเลือก
ออกแบบเองได้หลายรูปแบบ หลายรูปทรง สามารถปูกระเบื้องโมเสกสวย ๆ เสริมลูกเล่นต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีความแข็งแรงทนทานสุด ๆ อีกด้วย แต่จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนาน และจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
2. สระว่ายน้ำแบบสำเร็จรูป
เป็นสระว่ายน้ำที่ผลิตจากวัสดุประเภทโพลิเมอร์สำเร็จมาจากโรงงาน แล้วนำติดตั้งบนโครงสร้างรองรับสระที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กในพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ จะช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างลงได้ค่อนข้างมาก แต่จะมีรูปแบบให้เลือกไม่มากนัก บางทีขนาดอาจจะไม่พอดีกับพื้นที่ในการลง สระว่ายน้ำในบ้าน ของเรา
● รู้จักกับระบบของ สระน้ำในบ้าน
ระบบการทำงานของสระว่ายนะจะมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1. Skimmer
เป็นระบบที่นำน้ำไปบำบัดผ่านช่องด้านข้างของผนังสระ ซึ่งทำให้ผิวน้ำอยู่ต่ำกว่าพื้นรอบสระประมาณ 4 - 10 เซนติเมตร เป็นระบบที่ราคาไม่แพงมาก ประหยัดน้ำ เนื่องจากไม่มีถังสำหรับพักน้ำ และราคาจะประหยัดกว่าแบบ Over Flow
2. Over Flow
เป็นระบบน้ำล้นบำบัดโดยการให้น้ำในสระล้นออกมาที่รางน้ำล้นข้างสระ น้ำที่ล้นออกมาจะไปพักอยู่ที่ถังพักน้ำ จากนั้นจะปั๊มผ่านเครื่องกรองน้ำในห้องเครื่อง ซึ่งมีส่วนทำให้ผิวน้ำดูมีความตึงสวยอยู่ระดับเดียวกับพื้นรอบสระ
● ระบบบำบัดสระว่ายน้ำที่ควรรู้
จะนิยมใช้ด้วยกัน 3 ระบบ ที่เราคุ้นหูกันดี นั่นก็คือ
1. ระบบคลอรีน
เป็นระบบฆ่าเชื้อของ สระว่ายน้ำ ที่ราคาถูกกว่าระบบอื่น นิยมใช้กันทั่วไป มีทั้งแบบเหลว แบบเม็ด และแบบผง ใช้วิธีการค่อย ๆ ละลายลงในสระ แต่คลอรีนนี้จะสามารถฆ่าเชื้อได้ก็ต่อเมื่อค่า pH ในน้ำอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 และคลอรีนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวได้สำหรับบางคน ดังนั้นควรละลายคลอรีนในช่วงที่ไม่มีคนใช้งานสระแล้ว เพราะเราต้องทำการเปิดเครื่องกรองทิ้งไว้อีก 3 – 4 ชั่วโมงด้วย
2. ระบบเกลือ
เป็นระบบฆ่าเชื้อด้วยเกลือที่ได้ความเป็นธรรมชาติ เหมาะกับการใช้งานกับ สระว่ายน้ำในบ้าน มาก ๆ เพราะไม่อันตรายต่อผิว แถมยังเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวอีก รสชาติของน้ำในสระจะมีความกร่อยเล็กน้อย ระบบนี้แน่นอนว่าราคาสูงกว่าระบบคลอรีนอย่างแน่นอน
3. ระบบโอโซน
แบบสระว่ายน้ำในบ้าน ระบบนี้พูดแค่ชื่อก็ดูหรูหราไฮโซจริง ๆ เป็นระบบที่ฆ่าเชื้อโรคในน้ำแบบที่เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพมาก ทำให้ไม่มีสารตกค้างในน้ำ ด้วยการผลิตก๊าซโอโซนจากเครื่องอัดอากาศมาบำบัดน้ำในสระโดยตรง และใช้เวลาฆ่าเชื้อโรคสั้นกว่าระบบอื่นอีกด้วย โดยทั้งการสำรวจพื้นที่ ทั้งโครงสร้าง ทั้งระบบต่าง ๆ ของสระว่ายน้ำที่ได้กล่าวมา ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหน้างานและงบประมาณของเรากันอีกทีว่า สระน้ำในบ้าน ของเราควรจะต้องทำออกมาในรูปแบบไหน แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้รับเหมาหรือบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่เราจะทำการจ้างมาสร้างสระว่ายน้ำของเราอีกทีก็ได้ครับ
● รวม แบบสระว่ายน้ำในบ้าน
เป็นแบบที่เรียบง่ายและดูโมเดิร์น ตกแต่งรอบสระด้วยต้นไม้เพื่อช่วยบังแสงแดด และทำให้ดูสดชื่นสบายตา
หรือจะทำชิดติดกับตัวบ้าน เปิดประตูมาก็โดดตู้มกันได้เลย
สวยหรู ดูแพง น่าเล่นสุด ๆ
จัดไฟกันนิดหน่อย ก็เป็นมุมสำหรับปาร์ตี้ชิล ๆ ได้เลย
แบบสระว่ายน้ำในบ้าน รูปทรงวงกลม ก็มินิมอลไม่เบา
หรือจะทำแบบฟรีสไตล์ตามใจฉันไปเลยก็ดูแปลกตาไปอีกแบบ
ทำสระเด็กคู่กับสระผู้ใหญ่แบบนี้ก็ว่ายน้ำแบบเซฟ ๆ ได้ด้วยกันทั้งครอบครัว
การมี สระว่ายน้ำในบ้าน นอกเหนือจากข้อมูลที่กล่าวมา ก็ยังมีในเรื่องของการทำความสะอาด การเติมเคมี และการบำรุงรักษา สระว่ายน้ำ อย่าลืมว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ สระน้ำในบ้าน ตามมาอีกด้วย
HomeGuru ขอแนะนำว่าให้ตัดสินใจคำนวณทุกอย่างให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาหนักใจกันภายหลัง ส่วนถ้าใครได้ แบบสระว่ายน้ำในบ้าน ที่ถูกใจแล้วก็เตรียมตัวยื่นแบบให้กับผู้รับเหมาแล้วรอว่ายน้ำในสระว่ายน้ำของเราให้เย็นชุ่มฉ่ำกันได้เลย ถ้าใครอยากได้ของตกแต่งรอบสระว่ายน้ำสวย ๆ ก็สามารถมาดูได้ที่ โฮมโปรทุกสาขา หรือช้อปออนไลน์ผ่านทาง
www.homepro.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Call Center โทร 1284