ราวพยุง ออกแบบได้ไร้ขีดจำกัด เพื่อทุกการใช้งาน

ราวพยุง ออกแบบได้ไร้ขีดจำกัด เพื่อทุกการใช้งาน
ราวพยุง หรือ ราวกันล้ม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถออกแบบเพื่อให้ทุกคนภายในครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งในด้านอายุ และสภาพร่างกาย แต่จะออกแบบอย่างไรให้ ราวกันล้ม สามารถอำนวยความสะดวก และกลายเป็นอีกหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถติดตั้งให้ต่อเนื่องจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องนึงได้โดยไม่รู้สึกขัดตาได้ HomeGuru มีคำแนะนำในการติดตั้งราวพยุงมาฝากครับ

ประเภทของ ราวพยุง หรือราวกันล้ม ที่ควรมีติดบ้านไว้

ราวพยุง

1. ราวพยุงตัวแบบเส้นตรงธรรมดา

หรือราวจับมือแบบราวเดี่ยว ความยาวมีให้เลือกหลายขนาด 35 cm, 60 cm, 90 cm และ 120 cm ใช้สำหรับพยุงตัวขณะเดิน ยืน หรืออิริยาบถต่างๆ สามารถติดตั้งบนผนังได้ทั้งภายใน และภายนอกบ้าน ราวจับในห้องน้ำ

2. ราวพยุงตัวรูปตัว L

เป็นอุปกรณ์ที่ติดเพิ่มภายในห้องน้ำ เพื่อช่วยพยุงตัวให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือคุณแม่ตั้งครรภ์ลุกนั่งได้ง่ายขึ้น ราวจับในห้องน้ำ

3. ราวพยุงตัวรูปตัว V

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ตัวช่วยสำหรับการทรงตัว หรือใช้พยุงตัวในการเข้าห้องน้ำเช่นเดียวกับราวพยุงรูปตัว V เช่นกันครับ ราวกันล้ม

4. ราวพยุงกันลื่นตัว U

เป็นราวทรงตัวแบบพับขึ้นลง ใช้ติดตั้งบนผนังข้างเก้าอี้อาบน้ำ หรือโถสุขภัณฑ์เพื่อพยุงตัวขึ้น ราวพยุงต่อเนื่อง

5. ราวพยุงกันลื่นตัว T

เหมาะสำหรับติดตั้งในห้องน้ำเพื่อช่วยการพยุงตัวป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น กันลื่นในห้องน้ำ โดยติดตั้งบนผนัง หรือพื้นข้างโถสุขภัณฑ์ ราวพยุงต่อเนื่อง

6. ราวพยุงต่อเนื่อง

เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการทำราวจับต่อเนื่องจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องนึง เพื่อให้การเดินของผู้สูงวัยมีความต่อเนื่อง โดยเจ้าของบ้านสามารถเลือกติดตั้งได้ตามความเหมาะสมของมุมห้อง เพื่อให้คงความสวยงามไว้

3 ห้องที่ควรมี ราวพยุง ติดไว้

ห้องน้ำ

การออกแบบห้องน้ำต้องให้ความใส่ใจ และคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานของทุกคนภายในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่มีผู้สูงวัย ผู้พิการ และคุณแม่ตั้งครรภ์อาศัยอยู่ด้วย อุปกรณ์กันลื่นในห้องน้ำอย่างราวพยุงจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ราวพยุงตัวแบบเส้นตรงธรรมดา ราวพยุงกันลื่นตัว T ราวพยุงกันลื่นตัว U
ราวพยุง ราวพยุงหรือราวจับในห้องน้ำ ควรติดผนังบริเวณโถสุขภัณฑ์ โดยอาจจะใช้ ราวพยุงรูปตัวแอล (L) เพื่อช่วยให้การทรงตัวง่ายขึ้น หรือเลือกใช้ ราวพยุงต่อเนื่องที่สามารถติดตั้งได้ตามความยาว และปรับมุมได้ตามความต้องการ และความเหมาะสมของห้องน้ำ เพื่อให้การเดินของผู้สูงวัย หรือเด็กๆ มีความต่อเนื่อง และปลอดภัยยิ่งขึ้นครับ

ห้องนอน

เพราะการพักผ่อนต้องการการออกแบบที่ลงตัวโดยเฉพาะกับผู้สูงวัย ห้องนอนเป็นห้องที่มีการใช้งานเป็นประจำ และมีการใช้งานในช่วงเวลากลางคืน จึงเป็นความเสี่ยงสำหรับผู้สูงวัย หรือเด็กๆ การติดตั้ง ราวพยุง ในห้องนอน อาทิ บริเวณเตียงนอน หรือติดตั้งราวพยุงต่อเนื่องเพื่อให้เดินเชื่อมต่อไปยังห้องอื่นๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ปลอดภัย และสะดวกสบายยิ่งขึ้นครับ
ราวพยุงตัวรูปตัว L ราวพยุงตัวรูปตัว V ราวพยุงกันลื่นตัว U
ราวพยุง

ห้องครัว

ห้องครัวเป็นอีกหนึ่งห้องโปรดที่เหล่าบรรดาผู้สูงวัยที่รักการทำอาหารขาดไม่ได้ ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ และการเลือกใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องพื้นควรเลือกวัสดุที่ดูแลทำความสะอาดง่าย มีความทนทาน ไม่ลื่นทั้งในขณะที่แห้ง หรือเปียก ซึ่งแน่นอนว่าหากห้องครัวมีขนาดกว้างก็จำเป็นต้องติด ราวพยุงต่อเนื่อง บริเวณผนังทางเดินเพื่อป้องกันการลื่นตลอดทางเดิน
ราวพยุงตัวรูปตัว L ราวพยุงกันลื่นตัว U ราวพยุงตัวแบบเส้นตรงธรรมดา
ราวพยุง นอกเหนือจากราวพยุงแล้ว การดูแลเกี่ยวกับฟืนไฟ อย่างเตาแก๊ส เตาไฟฟ้า ควรมีปุ่มเปิดด้านหน้าหรือด้านข้าง เพื่อไม่ให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ใกล้กับภาชนะที่ตั้งไฟอยู่บนเตา และเลือกใช้อ่างล้างจานแบบก้นตื้นแทนการใช้อ่างก้นลึก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโดยไม่ต้องก้ม หรือเอื้อมล้างจานมากจนเกินไปครับ ราวพยุง

ติดตั้ง ราวพยุง อย่างไรให้ถูกวิธี

การติดตั้งราวพยุง หรือ ราวกันล้ม ทุกๆ บ้านสามารถติดตั้งได้เองแบบง่ายๆ นะครับ เพียงมีอุปกรณ์เครื่องมือช่างประจำบ้านอย่างสว่านเจาะรู โดยทั่วไปแล้วราวพยุงจะมีขั้นตอนไม่เยอะคือ เจาะรูที่ผนังตามตำแหน่งที่วางไว้ให้ลึกประมาณ 2.5 เซนติเมตร และใช้พุกใส่ในรูที่เจาะไว้ด้วยค้อน จนปลายพุกขยายตัว แล้วนำสกรูว์ยึดตัวราวจับกับพุก และปิดฝากครอบเป็นอันเสร็จครับ แต่สำหรับราวพยุงต่อเนื่อง จะมีอุปกรณ์ในการติดตั้งเพิ่มเติมจากราวพยุงประเภทอื่นๆ ดังนี้
  • ราวพยุงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.4 เซนติเมตร โดยขนาดความยาวเบื้องต้นจะอยู่ที่ 100cm
  • ฝาปิดปลายราวจับ
  • ข้องอราวมือจับปรับมุม
  • ก้านยืดราวติดผนัง
  • ข้อต่อความยาวราวมือจับ
ราวพยุงตัวรูปตัว L ราวพยุงตัวรูปตัว L ราวพยุงตัวรูปตัว V
ติดตั้งราวพยุง

ขั้นตอนการติดตั้งราวพยุง

1. ใช้ดินสอทำเครื่องหมายตำแหน่งการติดตั้งราวพยุงสองฝั่งให้ครบทุกจุดเพื่อเจาะรู หลังจากนั้นใช้สว่านเจาะรูตามที่มาร์คเอาไว้ให้ครบทุกจุด 2. ฝังพุกเข้าไปตามตำแหน่งรูที่เจาะเอาไว้ พร้อมขันนอตยึดฝาปิดปลายราวมือจับ แล้วใส่ราวพยุงพร้อมขันนอตยึดฝาปิดปลายราวมือจับอีกด้าน หากราวพยุงมีความยาวเกินไปสามารถใช้อุปกรณ์ ลูกหนูตัด เพื่อให้ได้ความยาวตามที่ต้องการได้ 3. ติดตั้งขายึดของราวพยุงกับฝาปิดปลายราวมือจับ 4. หากทำการติดตั้งราวพยุงให้ต่อเนื่องกันบริเวณมุมห้อง ระหว่างราวพยุง ต้องติดตั้งก้านรับราว และติดตั้งตัวข้องอปรับมุมพร้อมยึดนอตเกลียวปล่อยเพื่อยึดกับราวพยุง แต่หากช่วงรอยต่อไม่ใช่บริเวณมุมห้องให้ใช้ตัวข้อต่อความยาวเพื่อเชื่อมต่อราวพยุงได้เลยครับ 5. ทดลองใช้งานว่าราวพยุงมีความแข็งแรงหรือไม่ หากไม่มั่นคงแนะนำให้ขันสกูรว์อีกครั้งครับ ติดตั้งราวพยุง ราวพยุง ไม่เพียงแต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องความปลอดภัยเท่านั้นนะครับ แต่ยังสามารถออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนการใช้งานให้ (Flexible Use) ตรงกับสไตล์ของแต่ละบ้านเพื่อเชื่อมต่อให้ทุกๆ ห้องภายในบ้านมีความต่อเนื่อง และความปลอดภัย ติดตั้งราวพยุง โดยราวพยุงต่อเนื่องที่ดี HomeGuru แนะนำให้เลือกใช้ราวพยุงขนาดของท่อที่ 3.4 เซนติเมตร เพื่อให้จับง่ายกระชับมือ วัสดุของราวพยุงควรผลิตจาก PVC พิมพ์ลาย จะช่วยให้ตัววัสดุไม่เย็น สามารถจับได้ไม่สะดุด

และแกนด้านในควรเป็นวัสดุอลูมิเนียมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม และสามารถคงความสวยงามให้กับบ้านอีกด้วยครับ


สอบถามบริการเพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ