ถ้าโทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนยุคนี้ หน้ากากอนามัยคงเป็นอวัยวะที่ 34 เพราะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องมีติดตัวตลอดเวลา ด้วยสถานการณ์ที่แวดล้อมด้วยมหันตภัยสุขภาพ เช่น โรคระบาด COVID-19 ที่กลับมาได้ตลอดเวลา และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งกำลังเริ่มเข้มข้นขึ้นทุกขณะ การสวม
หน้ากากเอาไว้เสมอ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้หน้ากากที่วางขายตามท้องตลาดมีมากมาย การเลือกประเภทของหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ สามารถป้องกันทั้งการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และป้องกันอันตรายจากมลพิษของฝุ่นบางประเภทได้ แต่หากเลือกใช้ไม่เหมาะ ก็อาจไม่ช่วยอะไรเลยเช่นกัน เนื้อหานี้
HomeGuru จะพาไปทำความรู้จักกับ
หน้ากากอนามัย แบบต่างๆ เพื่อให้เลือกซื้อเลือกใช้ได้ตอบโจทย์ที่ต้องการมากที่สุดครับ
หน้ากากอนามัย เลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์
1. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น
หน้ากากเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หรือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (surgical face mask) ผลิตขึ้นจากผ้าหรือพอลิโพรไพลีน ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความปลอดภัยและราคาไม่แพง หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป สามารถป้องกันเชื้อโรคที่มีอนุภาคขนาด 3 ไมครอน ที่แพร่กระจายผ่านทางการไอจาม อย่างเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ และ COVID-19 ได้ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของ
หน้ากากชนิดนี้ คือ ไม่แนบกระชับกับใบหน้า เวลาใส่อาจมีช่องว่างด้านข้างและด้านล่างทำให้อากาศไหลผ่านได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้
2. หน้ากากคาร์บอน
หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอนสีดํา มีคุณสมบัติไม่ต่างจากหน้ากากทางการแพทย์ แต่จะมีชั้น Carbon ที่ช่วยกรองควันและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีกว่า สามารถกรองเชื้อโรคที่มีอนุภาคขนาด 3 ไมครอนได้ 66.37% และหากสวมใส่ 2 แผ่น จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันถึง 89.75% ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 หากมีรูปร่างเหมือนหน้ากากเยื่อกระดาษจะไม่สามารถกรองฝุ่นอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนได้ เพราะ
หน้ากากยังมีช่องว่างให้อากาศไหลเข้าได้ แต่หากเป็นลักษณะที่ครอบใบหน้าจมูกและปากจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. หน้ากาก N95
เป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง ลักษณะพิเศษของหน้ากากชนิดนี้คือ รูปร่างที่สามารถครอบลงไปที่บริเวณหน้า จมูกและปากได้อย่างมิดชิด (บางรุ่นมีช่องสำหรับหายใจให้ด้วย) จึงป้องกันเชื้อโรคที่มีอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอน อย่างเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ นอกจากนี้หน้ากาก N95 ยังป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ได้ด้วย โดยมีประสิทธิภาพในการกรองสูงถึงร้อยละ 95 เป็น
หน้ากากที่ตรงกับสถานการณ์ฝุ่นและเชื้อโรคมากที่สุด
ข้อด้อยของหน้ากาก N95 คือ ราคาแพงและไม่เหมาะที่จะใช้งานกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด โรคหอบหืดและหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากลมหายใจผ่านเข้าออกได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านภายใน ทำให้หายใจลำบาก
4. หน้ากากผ้า
หน้ากากผ้าสามารถนำมาซักและใช้ซ้ำได้จึงประหยัดกว่า คุณสมบัติด้านการป้องกันฝุ่นละอองจะไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดอนุภาคเล็กมากๆ ได้ เพราะผ้ามีเส้นใยใหญ่ แต่ก็มีชนิดผ้าที่มีเส้นใยเล็ก ทำให้มีประสิทธิภาพในการกันละอองน้ำได้ดี เช่น ผ้าสาลู, ผ้าใยสังเคราะห์, ผ้าฝ้ายมัสลิน ที่ยิ่งซักใยจะยิ่งเล็กเหลือประมาณ 1 ไมครอน (ไวรัส COVID-19 ขนาด 0.05-0.2 ไมครอน) เมื่อนำมาประกอบกัน 2 ชั้นจะป้องกันเชื้อโรคได้ 54-59% ซึ่งเพียงพอสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ป่วยใช้ในพื้นที่แออัด แต่ไม่เหมาะใช้ป้องกันฝุ่น PM 2.5
5. หน้ากากฟองน้ำ
เป็น
หน้ากากที่ผลิตจากโพลียูรีเทนคาร์บอน ใช้สำหรับใส่กรองอากาศ ควัน ฝุ่น หน้ากากชนิดนี้หายใจสะดวก สามารถซักทําความสะอาดได้ แห้งเร็ว พับเก็บไม่ยับ สามารถคืนรูปเดิมได้ไม่เสียทรง ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันนั้น สามารถกันเกสรดอกไม้และฝุ่นละอองขนาดไม่เล็กมาก แต่ไม่สามารถกันฝุ่นละออง PM 2.5 และเชื้อไวรัสได้ จึงไม่ตรงกับสถานการณ์ที่สุด
6. หน้ากากผ้าจากเส้นใย Amicor
เป็นนวัตกรรมใหม่ของหน้ากากผ้าจาก DEXZON ที่ผ่านการทดสอบจากห้องแลปแล้วว่ามีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัส SARS และ COVID-19 ได้ 99.96 % ภายใน 15 วินาที สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ 99 % และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังกัน UVA ได้ 98% กัน UVB ได้ 100% ผ้าด้านนอกผลิตจาก Polyester และ Amicor ที่ผ่านการถักทออย่างละเอียด ส่วนผ้าด้านในผลิตจาก Cotton 100% ช่วยลดการระคายเคืองจากการสวมหน้ากากเป็นเวลานาน ตัวโครงหน้าดีไซน์ด้วยรูปทรงสามมิติ (3D) ที่กระชับใบหน้า เพื่อการป้องกันที่สมบูรณ์แบบ พร้อมโครงลวดอ่อนปรับได้ตามรูปจมูก เสริมกับสายคล้องหู stopper เพื่อปรับระยะการสวมใส่ได้ตามต้องการ ทั้งยังดีไซน์ขอบถอดโครงลวดออกได้ง่ายมีความนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิวหนัง สามารถสวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ลดการอับชื้น ช่วยลดการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และฝ้าไม่ขึ้นแว่น สามารถซักและนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากว่า 100 ครั้งเลยครับ
วิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง
ทำความสะอาดมือก่อนใส่ หากเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ให้หันหน้ากากอนามัยด้านสีเขียวเข้มออก เพราะส่วนสีเขียวมีสารกันซึมเคลือบอยู่ จึงไม่ควรใส่กลับด้าน แต่หากเป็นหน้ากากอนามัยชนิดไม่มีสี ให้สังเกตรอยพับของหน้ากาก ด้านที่รอยพับชี้ลงด้านล่างจะเป็นด้านนอก นำด้านที่มีโลหะเส้นเล็กๆ วางที่สันจมูก กดโลหะให้โค้งแนบรับสันจมูก เพื่อให้หน้ากากแนบชิดใบหน้ามากที่สุด จากนั้นจึงดึงหน้ากากส่วนล่างให้ลงมาปิดคาง
ข้อควรคำนึงถึงอื่นๆ ในการเลือกหน้ากากอนามัย
นอกจากจะมองหาคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการแล้ว ยังควรเลือกขนาดของหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมพอดีกับขนาดของใบหน้า หากเป็นเด็กต้องเลือกขนาดเฉพาะ เพื่อไม่ให้หน้ากากอนามัยใหญ่เกินไป ไม่ควรวาง
หน้ากากบน
โต๊ะขณะถอด เพราะอาจสัมผัสเชื้อโรคบนพื้นผิวได้ หรือซื้อหน้ากากรุ่นที่มีสายคล้องคอใช้งานได้สะดวกและปลอดภัยไม่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคเพิ่ม
สำหรับการป้องกันตัวจากเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส COVID-19 และฝุ่นพิษนั้น ยังต้องดูแลตัวเองและสร้างพฤติกรรมสุขภาพควบคู่ไปกับการใส่หน้ากากอนามัยด้วย เช่น หมั่นล้างมือด้วย
สบู่หรือใช้
เจลแอลกอฮอล์, ลดการใช้มือสัมผัสใบหน้า สัมผัส
โต๊ะ ห้องน้ำ ราวจับในที่สาธารณะ หรือในช่วงที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ต้องงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง และควรมี
เครื่องฟอกอากาศติดบ้านไว้ด้วย จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตได้ครอบคลุมมากขึ้นครับ