ทำความรู้จักที่นอนแต่ละประเภท พร้อมวิธีดูแลรักษาให้ใช้งานได้ยาวนาน

ทำความรู้จักที่นอนแต่ละประเภท พร้อมวิธีดูแลรักษาให้ใช้งานได้ยาวนาน

ที่นอน ไอเทมหลักสำหรับ ห้องนอน ที่ต้องพิถีพิถันในการเลือกใช้งานให้เข้ากับตัวเอง เพราะโดยปกติแล้วคนเราใช้เวลาบนที่นอนในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของแต่ละวัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ฉะนั้นการเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายและพฤติกรรมการนอนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะหากมี ฟูกที่นอน ที่มีคุณภาพก็ย่อมช่วยส่งเสริมการนอนให้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้สามารถนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ตลอดทั้งคืน ส่งผลโดยตรงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันรวมไปถึงสุขภาพร่างกายของดีตามไปด้วย รวมถึงปัจจุบันมีที่นอนหลากหลายแบบให้เลือก เช่น ที่นอนยางพารา ที่นอนเมมโมรี่โฟม ที่นอนสปริง เป็นต้น ดังนั้นก่อนอื่น HomeGuru ขออาสาพาไปทำความรู้จัก ที่นอน แต่ละประเภท เพื่อที่จะได้ตัดสินใจเลือกซื้อที่นอนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด!

● ประเภทของ ที่นอน

อันที่จริงแล้วที่นอนนั้นแบ่งออกได้หลายประเภท แต่หลัก ๆ แล้วการแบ่งจากวัสดุผลิต ซึ่งจะช่วยให้พิจารณาเลือกซื้อได้เหมาะสมมากที่สุด โดยวัสดุที่นำมาผลิตที่นอนนั้นจะมีทั้งจากวัสดุธรรมชาติ, วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุแบบผสม สามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้

1. ที่นอนยางพารา (Latex Mattress) 

ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพารา จัดเป็นที่นอนที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่นำแผ่นยางพารามาทำเป็นที่นอน คุณสมบัติของ ที่นอนยางพารา จะมีความยืดหยุ่น ไม่แข็งหรือนุ่มจนเกินไป มีแรงต้านสูง ไม่ยุบตัว มีความคงทน ใช้งานได้ยาวนาน สามารถปรับเปลี่ยนหรือยวบตัวไปตามสรีระร่างกายของผู้นอนได้ดี จึงช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ เรียกได้ว่า ที่นอนยางพารา เป็นที่นอนอันดับต้น ๆ ที่เหมาะจะใช้ใน ห้องนอน ของผู้สูงอายุหรือ ห้องนอน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง แต่ ที่นอนยางพารา จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากและราคาสูงกว่าที่นอนชนิดอื่น ๆ

ที่นอนยางพารา ที่นอนยางพารา ที่นอนยางพารา

2. ที่นอนนุ่น (Kapok Mattress) 

ที่นอนนุ่น

เป็น ฟูกที่นอน ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ โดยตัวไส้ในของที่นอนจะทำมาจากต้นนุ่น ซึ่งเป็นพืชผลชนิดไม้ยืนต้น ให้ผลผลิตเป็นเส้นใยที่เหมาะแก่การนำไปทำที่นอนและหมอนต่าง ๆ เพราะนุ่นมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก ช่วยระบายอากาศ ให้ความรู้สึกเย็นสบาย และมีราคาค่อนข้างถูก แต่จะมีอายุการใช้งานที่ไม่ยาวนานนัก  และเสียรูปทรงได้ง่าย ยิ่งถ้าหากมีการใช้งานไปนาน ๆ แล้ว ฟูกที่นอน อาจเกิดการยุบตัวจนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้

3. ที่นอนใยมะพร้าว (Coconut Fiber Mattress) 

ที่นอนใยมะพร้าว

เป็นที่นอนที่ผลิตจากเส้นใยมะพร้าวที่นำมาแปรรูปให้เป็นแผ่นผ่านกระบวนการอัดแน่นและอบด้วยความร้อน ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อก่อนนำมาประกอบเป็นที่นอน ที่นอนใยมะพร้าวจะมีลักษณะที่ค่อนข้างแข็งกระด้าง มีความยืดหยุ่นน้อย คงสภาพได้ดีในระดับหนึ่ง สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมความชื้นเพราะด้านในจะมีความโปร่งของเส้นใยมะพร้าว และมีราคาไม่แพง เหมาะกับ ห้องนอน ของคนที่ชอบนอนที่นอนแข็ง ส่วนข้อเสียของที่นอนประเภทนี้คือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก เมื่อเสื่อมสภาพแล้วจะเกิดอาการเปื่อย ทำให้เกิดขุย ซึ่งผลส่งต่อระบบทางเดินหายใจได้ จึงไม่เหมาะกับ ห้องนอน ของผู้มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

4. ที่นอนสปริง (Spring Mattress) 

จัดอยู่ในประเภทที่นอนที่มีการผสมระหว่างวัสดุธรรมชาติและวัสดุสังเคราะห์ มีเทคโนโลยีการผลิตที่ช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักเข้าไว้ด้วยกัน จึงทำให้ที่นอนประเภทนี้เป็นที่นอนยอดนิยมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกยุคทุกสมัย ด้วยคุณสมบัติในด้านความยืดหยุ่นและการคืนตัวที่ดี มีน้ำหนักเบา และมีโครงสปริงอยู่ภายในซึ่งมีส่วนช่วยในการรองรับสรีระร่างกาย ทำให้มีความหนามากกว่าที่นอนประเภทอื่น และในปัจจุบันที่นอนสปริงถูกแบ่งออกได้อีก 3 แบบ ดังนี้

4.1 ที่นอนบอนแนลล์สปริง (Bonnell Spring Mattress) 

ที่นอนสปริง

เป็นสปริงแบบดั้งเดิมที่มีรูปทรงนาฬิกาทราย ซึ่งถือว่าเป็นโครงสปริงที่ดี สามารถรองรับสรีระร่างกายได้อย่างเต็มที่ สร้างในลักษณะของการยึดสปริงแต่ละลูกเข้าไปในแผ่นของ ฟูกที่นอน ซึ่งจุดด้อยของสปริงตัวนี้คือการยึดสปริงแต่ละลูกเข้าไปในที่นอนทั้งหลังได้ไม่แน่นเท่าที่ควร จึงอาจทำให้ขดลวดสปริงล้มง่าย มีโอกาสก่อให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างสปริงจนก่อให้เกิดเสียงดังเมื่อคุณขยับพลิกตัวไปมา

4.2 ที่นอนออฟฟเซตสปริง (Offset Spring Mattress) 

ที่นอนสปริง

สปริงประเภทนี้ถูกพัฒนามาจาก Bonnell Spring เป็นสปริงที่มีการทำงานแบบเชื่อมโยง ขมวดปมถึงกัน จึงมีความแข็งแรงและแข็งกระด้างมากกว่า เพราะหัวสปริงมีขอบสี่เหลี่ยมทำให้ยึดกับสปริงได้ค่อนข้างดีและไม่เกิดการเสียดสีของสปริง ไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้เวลาขยับตัว อาจะส่งผลรบกวนคนข้างๆด้วย

4.3 ที่นอนพ็อกเก็ตสปริง (Pocket Spring Mattress) 

ที่นอนสปริง

เป็นสปริงแบบแยกอิสระถูกห่อหุ้มด้วยถุงผ้าสปันบอนด์ และวางเรียงเป็นแถวๆ เป็นลูกๆ ติดๆ กันเพื่อให้เกิดความหนาแน่น ด้วยการผลิตแบบนี้จะช่วยลดปัญหาการเสียดสีกันระหว่างวงสปริงได้ จึงไม่ก่อให้เกิดเสียง ซึ่งจุดเด่นของที่นอนประเภทนี้คือการรับน้ำหนักเฉพาะจุด เนื่องจากแต่ละวงสปริงนั้นแยกกันอย่างอิสระ จึงทำให้เวลาขยับพลิกตัวไปมา ก็จะไม่ส่งแรงสะเทือนไปยังคนข้างๆ ไม่มีปัญหาเวลานอน มีความยืดหยุ่นสูง แถมรับรองน้ำหนักได้เป็นอย่างดี และมีอายุการใช้งานสูงอีกด้วย

ที่นอนสปริง ที่นอนสปริง ที่นอนสปริง

5. ที่นอนฟองน้ำ (Sponge Mattress) 

ที่นอนฟองน้ำ

ผลิตโดยการใช้เครื่องอัดแรงดันสูงบีบอัดฟองน้ำชิ้นเล็กๆ รวมเข้าด้วยกันตามด้วยกระบวนการผสมทางเคมี แล้วจึงนำมาขึ้นรูปจนกลายเป็นที่นอนตามรูปทรงและขนาดที่ต้องการ ส่วนมากที่นอนประเภทนี้มักจะนำไปผสมกับวัสดุประเภทอื่น อย่างเช่น ใยมะพร้าว เพื่อทำให้ที่นอนมีความแข็งมากขึ้นและ ฟูกที่นอน สามารถรองรับน้ำหนักและสรีระร่างกายได้ดียิ่งขึ้น คุณสมบัติเด่นของที่นอนฟองน้ำคือจะมีความนุ่มและน้ำหนักเบา ในส่วนของอายุการใช้งานของ ฟูกที่นอน ก็ขึ้นอยู่กับเกรดของฟองน้ำ แต่ถ้าหากใช้ฟองน้ำที่ไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ มีความสามารถในการระบายน้อย จึงเกิดกลิ่นอับได้ง่าย อีกทั้งยังมีความหนาแน่นน้อย จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเพราะอาจเกิดการยุบตัวได้ค่อนข้างง่าย

6. ที่นอนเมมโมรี่โฟม (Memory Foam Mattress) 

ที่นอนเมมโมรี่โฟม

ผลิตขึ้นมาจากโฟมสังเคราะห์ มีความหนืดและยืดหยุ่น เวลานอนจะรู้สึกว่าร่างกายจมลงไปกับที่นอนตามน้ำหนักที่กดทับลงไป มีความยวบโอบอุ้มร่างกาย รองรับสรีระและแรงกดทับได้ดี ช่วยลดการกดทับบนกระดูก รวมถึงช่วยลดการปวดคอและหลัง แต่ข้อควรระวังคือหากเมมโมรี่โฟมที่นิ่มเกินไป สรีระผู้นอนจะจมลงไปในที่นอน อาจทำให้การพลิกตัวไปมาตามธรรมชาติในยามหลับลดลง ส่งผลให้ปวดเมื่อยตัวได้ ที่นอนประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับ ห้องนอน ของคนมีคู่หรือคนที่นอนพลิกตัวบ่อย ๆ เพราะเวลาลุกหรือขยับตัวจะไม่รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่คืนตัวได้ช้า แต่การคืนตัวของที่นอนจะไม่ดีเท่าที่นอนยางพารา โดยมีทั้งที่นอนแบบเมมโมรีโฟมล้วนและแบบสปริงเสริมชั้นเมมโมรีโฟมบาง ๆ

ที่นอนเมมโมรี่โฟม ที่นอนเมมโมรี่โฟม ที่นอนเมมโมรี่โฟม

 

● วิธีการดูแลรักษา ฟูกที่นอน

เนื่องจาก ที่นอน คือปัจจัยหลักสำหรับการพักผ่อน ดังนั้นการดูแลรักษา ทำความสะอาดที่นอนให้ปราศจากฝุ่นละออง แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อสุขอนามัยภายใน ห้องนอน และสุขภาพ อีกทั้งยังสามารถยืดอายุการใช้งานของที่นอนให้นานและคุ้มค่ามากขึ้นกว่าเดิม โดยมีวิธีการดูแลรักษาที่นอนดังนี้

1. ควรพลิก ที่นอน กลับด้าน และสลับหัวท้ายที่นอนเป็นประจำทุก 3 เดือน เพื่อรักษาความคงตัวให้ที่นอนอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

2. ควรแกะพลาสติกที่ห่อหุ้มที่นอนและดึงผ้าปูที่นอนออกทุกสัปดาห์ รวมถึงทิ้งระยะการผึ่งที่นอนไว้ครั้งละหลาย ๆ ชั่วโมง เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้

3. สามารถใช้ผ้ารองกันเปื้อนเพื่อให้ที่นอนสะอาดและดูใหม่อยู่เสมอ

4. สามารถใช้น้ำสบู่ทำความสะอาดรอยเปื้อนต่าง ๆ ได้โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสบู่ถูตรงรอยเปื้อนเบา ๆ และปล่อยให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้งานครั้งต่อไป

5. เปิดผ้าม่านให้แสงแดดส่องเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อโรคบ้าง แต่ถ้าหากที่นอนเป็นที่นอนเมมโมรี่โฟมหรือ ที่นอนยางพารา ก็ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดโดยตรง เพราะที่นอนทั้ง 2 ประเภทจะเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าปกติ ซึ่งก็แนะนำว่าให้เปิดหน้าต่างพอให้อากาศระบายและมีความร้อนเข้ามาบ้างก็เพียงพอแล้ว

ทั้งหมดนี้คือประเภทของ ที่นอน และวิธีการดูแลรักษาที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของที่นอนให้ยาวนานยิ่งขึ้น HomeGuru หวังว่าการเลือกซื้อที่นอนครั้งต่อไปทุกคนจะเลือกที่นอนที่ถูกใจได้อย่างไม่ลังเล ให้การนอนหลับพักผ่อนเต็มไปด้วยประสิทธิภาพพร้อมรับวันใหม่ที่สดใสได้ในทุกวัน


ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ