เชื่อได้เลยว่า แทบทุกบ้านต้องมี
ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ด้วย การออกแบบบ้านและ
ห้องน้ำผู้สูงอายุ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้งานอย่างสะดวก และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัยไปพร้อมกันด้วย เพราะ
ห้องน้ำ ถือเป็นอีกหนึ่งห้องที่สำคัญ และอันตรายด้วยเหมือนกัน
HomeGuru จึงพาไปทำการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุ ที่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องรอบคอบกับช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลและใส่ใจไม่ต่างจากเด็กๆ จึงต้องได้รับการออกแบบให้ปลอดภัยและพร้อมใช้งานในทุกช่วงเวลา ซึ่งการออกแบบห้องน้ำเฉพาะแบบนี้ จึงมีหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงที่พลาดไม่ได้
องค์ประกอบในการออกแบบห้องน้ำผู้สูงอายุ ที่ไม่ควรมองข้าม พื้นที่ภายใน
ห้องน้ำผู้สูงอายุ ควรมีขนาดกว้าง x ยาว อย่างน้อย 1.65x2.75 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร เพื่อให้มีระยะในการหมุนตัวได้ 180 องศา สำหรับผู้ใช้ wheelchairs แบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็น 3 ส่วน คือ ส่วน
อ่างล้างหน้า ส่วน
ชักโครก และ
ส่วนอาบน้ำ พื้นไม่ลื่น โดยปกติห้องน้ำมักออกแบบแยก
โซนเปียกแห้ง ไว้เพื่อการดูแลที่ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้ปลอดภัยขึ้น แต่โซนเปียกแห้งที่ออกแบบกันนิยมทำพื้นโซนเปียกหรือโซนอาบน้ำ ต่ำกว่าโซนอื่นๆ ตรงจุดนี้เป็นจุดอันตรายที่ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรออกแบบพื้น
ห้องน้ำผู้สูงอายุ ให้อยู่ระดับเดียวกัน หากเป็นห้องน้ำเดิมที่ทำพื้นไว้อยู่แล้ว ให้ทำการรื้อกระเบื้องพื้นและโถสุขภัณฑ์เดิมออก เทปูนทรายปรับระดับพื้นห้องน้ำและทำการปูกระเบื้องใหม่ โดย
กระเบื้อง ที่นำมาใช้ควรมีค่าความฝืดผิวกระเบื้องตั้งแต่ R10 ขึ้นไป หรืออาจเป็นพื้นไม้ที่ทนทานและกันลื่นได้ ซึงสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
ไม้ปูพื้นทนทาน กันพื้นลื่น ติดตั้งอุปกรณ์จำเป็นในห้องน้ำผู้สูงอายุ ติด
ราวจับและมือจับ ในส่วนต่างๆ เพื่อให้ระหว่างการใช้งานผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกและปลอดภัย รวมถึง
ฝักบัว อาบน้ำ ควรเลือกเป็นแบบที่ปรับระดับได้ตามความสูงของผู้ใช้งานและมีระบบควบคุมความร้อนของน้ำให้อยู่ในองศาที่พอเหมาะ และไม่ลืมที่จะปู
พรมกันลื่น ในส่วนอาบน้ำและ
อ่างอาบน้ำ ขนาดของชักโครกที่เหมาะสมในห้องน้ำผู้สูงอายุ เลือกใช้
ชักโครก ขนาด 16-18 นิ้ว เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ ด้วยความกว้างที่พอเหมาะกับการนั่งและรองรับน้ำหนัก และสะดวกในการลุกนั่งอีกด้วย
เลือกกระเบื้องห้องน้ำผู้สูงอายุ ให้ปลอดภัย ผิวสัมผัสของกระเบื้องเป็นอีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ควรเลือกใช้
กระเบื้อง ชนิดไม่ลื่น เป็น
กระเบื้องแกรนิต หรือกระเบื้องเกรซพอร์ซเลน มีผิวหยาบ หรือผิวขรุขระ สังเกตจากค่าความฝืดของกระเบื้อง (ค่าR) มีระบุในแคตตาล็อคหรือสอบถามกับพนักงาน ควรเลือกค่า R10 สำหรับบริเวณที่ต้องเปียกน้ำ หรือดูวิธีการเลือกเพิ่มเติมได้จาก
เทคนิคเลือกกระเบื้องปูพื้นพร้อมวิธีปูกระเบื้องให้ปลอดภัย และควรใช้กระเบื้องแผ่นเล็กมากกว่าแผ่นใหญ่ เพราะร่องยาแนวของกระเบื้อง แผ่นเล็กจะมีแรงเสียดทานในการสัมผัสและปลอดภัยมากขึ้น แยกสี
กระเบื้อง ในส่วนเปียกและแห้งให้สังเกตได้ง่ายและชัดเจน นอกจากนี้การดูแลความสะอาดของพื้นกระเบื้องก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หากมีคราบสกปรกตามพื้น ซึ่งสามารถดูวิธีดูแลพื้นและกำจัดคราบต่างๆ ได้ในบทความ
ร่องยาแนวดำและคราบกระเบื้อง สะอาดได้ด้วยวิธีที่คุณคาดไม่ถึง ประตูเปิด-ปิดง่ายในยามฉุกเฉิน ประตูห้องน้ำ ผู้สูงอายุ ควรเลือกใช้เป็นแบบบานเลื่อน มีขนาดกว้าง 36 นิ้ว ให้ผู้ใช้ wheelchairs สามารถนำรถเข้าไปได้อย่างสะดวก ใช้ที่ล็อคแบบที่เปิดง่ายและเก็บกุญแจไว้ใกล้ๆ ห้องน้ำเผื่อในยามฉุกเฉิน หรือผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือกระทันหัน หรือติดตั้งสวิตซ์ฉุกเฉิน ไว้ใกล้ๆกับบริเวณ ชักโครกและอ่างอาบน้ำ โดยให้เอื้อมได้จากระยะ 25 ซม.และ 95 ซม. จากระดับพื้น
ปลั๊กไฟและระบบเตือนภัยในห้องน้ำผู้สูงอายุ น้ำกับไฟไม่ใช่ของคู่กัน เพื่อความปลอดภัย
ปลั๊กไฟ ที่อยู่ใน
ห้องน้ำ ควรมีฝาปิด หรือติดตั้งให้ไกลจากส่วนเปียก รวมถึงควรมีระบบกริ่งหรือโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินติดไว้ด้วย
อุปกรณ์เสริมในห้องน้ำผู้สูงอายุ เพื่อการใช้งานที่สะดวกขึ้น Support Arm ราวจับช่วยพยุง ในการลุก-นั่ง ควรมีรูปร่างโค้งมน มีด้านจับขนาดใหญ่ เพื่อให้ยึดจับได้สะดวก ใช้ติดในจุดที่ต้องมีการลุก-นั่ง เช่น บริเวณชักโครก ส่วนอาบน้ำ Hand Rails มือจับสำหรับการยึดเกาะให้มั่นคง ในลักษณะของมือจับ จะมีขนาดสั้นกว่าราวจับ ใช้ในจุดที่ต้องใช้การประคองหรือจับเพื่อให้ยืนได้มั่นคง Shower Seat เก้าอี้นั่งอาบน้ำ อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้สูงอายุ ควรเลือกที่นั่งเหมาะกับสรีระ ไม่ลื่น ทำจากวัสดุที่อ่อนนุ่ม รับน้ำหนักได้มาก ปรับระดับความสูงตามความสูงของผู้ใช้ได้ VIDEO
Floor Drain ออกแบบพื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ ให้มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเอียง (Barrier-free) ไม่มีขั้น (Step) ป้องกันการสะดุด ระดับของพื้นห้องน้ำและพื้นห้องด้านนอกควรอยู่ในระดับเดียวกันหรือใช้ทำเป็นทางลาดเอียงช่วยสำหรับผู้ใช้ wheelchairs Faucet ควรใช้ก๊อกแบบอัตโนมัติ ที่มีเซ็นต์เซอร์จับระยะ เพราะมีระบบเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ ใช้งานได้ประมาณ 40-60 วินาทีต่อครั้ง ช่วยประหยัดน้ำ หรือเลือกใช้ก๊อกน้ำ แบบก้านปัดหรือก้านโยก ผู้ใช้ไม่ต้องออกแรงมาก เปิดปิดน้ำได้รวดเร็ว ควรเลือกก๊อกรุ่นที่มีก้านยาวพิเศษ ให้ผู้ใช้ไม่ต้องเอื้อม Thermostatic Lever Handle Exposed Bath Mixer ฝักบัวและก๊อกแบบก้านโยกที่มีความยาวพิเศษ เพื่อลดการออกแรงช่วยให้สะดวกในการอาบน้ำ แต่ต้องเลือกที่มีระบบปุ่มนิรภัย (Safety) ที่จะควบคุมความร้อนให้ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ป้องกันอันตรายจากน้ำร้อนลวก ทั้งนี้นอกจากอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังสามารถเรียนรู้และติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพิ่มเติมได้จากบทความนี้
อุปกรณ์ความปลอดภัยผู้สูงอายุเพื่อทุกคนในครอบครัวอุ่นใจได้มากกว่าเคย นอกจากจะมีสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ห้องน้ำผู้สูงอายุ แล้ว ที่โฮมโปรยังมีสินค้าที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุให้คุณได้เลือก เพื่อคนที่คุณรักอีกมากมาย เช่น หมอนสุขภาพ กล้องวงจรปิด พรมกันลื่น ไฟกระพริบ ไฟไนท์ไลท์ เพื่อความปลอดภัยสำหรับคนที่คุณห่วงใย VIDEO
เลือกห้องที่ใช่ ในแบบที่ชอบ สอบถามบริการออกแบบ 3D เพิ่มเติมได้ที่ Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ
Call Center 1284