วิธีเช็คไฟรั่ว อย่างปลอดภัยด้วย ไขควงเช็คไฟรั่ว

วิธีเช็คไฟรั่ว อย่างปลอดภัยด้วย ไขควงเช็คไฟรั่ว
วิธีเช็คไฟรั่ว เรื่องพื้นฐานในบ้านที่จำเป็นต้องเรียนรู้ไว้ เพราะหากเกิดเหตุน่าสงสัยว่าไฟกำลังรั่วหรือไม่จะได้สามารถตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อความมั่นใจว่าเป็นแค่การกังวลใจไปเอง หรือบ้านกำลังส่งสัญญาณเตือนเราจริง ๆ ว่ากำลังเกิดไฟฟ้ารั่วอยู่ แต่ไฟรั่วเกิดจากอะไร จะสังเกตอย่างไรได้บ้าง และต้องใช้ อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว อย่างไรจึงจะเป็น วิธีเช็คไฟรั่ว อย่างปลอดภัย HomeGuru ได้รวบรวมทุกคำตอบมาให้แล้วครับ

• วิธีเช็คไฟรั่ว ให้ชัวร์ว่าบ้านปลอดภัยไร้ปัญหา

1. ไฟรั่วเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง 2. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไฟรั่ว 3. รู้ได้อย่างไรว่าเกิดไฟรั่วในบ้าน 4. วิธีเช็คไฟรั่วอย่างปลอดภัยด้วย ไขควงเช็คไฟรั่ว 5. ปัญหาไฟรั่วในบ้านป้องกันได้อย่างไร วิธีเช็คไฟรั่ว

• ไฟรั่วเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

ไฟรั่ว หรือ กระแสไฟฟ้ารั่ว คือการที่กระแสไฟฟ้าเกิดการรั่วไหลไปที่วัสดุหุ้มของสายไฟฟ้า หรือบริเวณโครงโลหะที่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน หรือแม้กระทั่งการรั่วไหลไปยังจุดติดตั้งของระบบไฟฟ้า เช่น ผนังบริเวณที่ติดตั้งระบบไฟฟ้า เสาโคมไฟที่เป็นโลหะ หรือเสาโลหะที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นต้น ทำให้จุดต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้เกิดกระแสไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า ที่หากเผลอสัมผัสโดยไม่ทันระวัง หรือไม่รู้ตัวก็อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย ๆ เลยครับ กระแสไฟฟ้ารั่วที่ว่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน และอาจเกิดขึ้นได้กับทุกขั้นตอนของการทำงานระบบไฟฟ้า ตั้งแต่การติดตั้งหรือเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างผิดวิธี การชำรุดหรือเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าตามไปอายุการใช้งาน ตลอดจนการละเลย ขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาไฟรั่วได้เช่นกันครับ แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดคือการที่ฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดการชำรุดเสียหาย หรือเสื่อมสภาพจนทำให้ตัวนำหรือจุดเหล่านั้นมีแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้น เมื่อบริเวณที่มีปัญหาดังกล่าวไปสัมผัสกับโครงโลหะของตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเองก็จะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วขึ้นมาครับ วิธีเช็คไฟรั่ว
ไขควงลองไฟ ไขควงวัดไฟ ไขควงเช็คไฟ

• จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไฟรั่ว

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่า “ไฟดูด” หรือมีประสบการณ์ตรงมาบ้างแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วส่วนหนึ่งของการเกิดไฟดูดคือการที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้า เมื่อไปสัมผัสถูกบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่จึงเกิดอาการไฟดูดนั่นเองครับ และไม่เพียงแค่ไฟดูดเท่านั้น เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าในบ้านรั่วยังส่งผลกระทบอย่างอื่นตามมาอีกครับ

1. ไฟรั่ว เป็นสาเหตุให้เกิดไฟดูด

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า ไฟดูด หรือ Electric Shock จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟรั่วอยู่ ซึ่งการสัมผัสโดยตรงแบบไม่มีอะไรกั้นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยระดับความรุนแรงของการถูกไฟดูดจะขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าและระยะเวลาที่ถูกไฟดูดครับ

2. ไฟรั่ว เป็นสาเหตุให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า

อีกหนึ่งผลกระทบจากการเกิดไฟรั่วภายในบ้าน นั่นคือทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลนี้จะพยายามไหลไปตามจุดต่าง ๆ ที่เป็นสื่อไฟฟ้าเพื่อลงดินตามธรรมชาติของไฟฟ้า จึงเป็นสาเหตุให้ต้องเสียค่าไฟเพิ่มมากขึ้น หรือหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นก็ให้ลองนึกถึงกรณีที่ท่อน้ำประปาในบ้านมีการรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำ ทำให้ค่าน้ำประปาเพิ่มมากขึ้นโดยเปล่าประโยชน์นั่นเองครับ

3. ไฟรั่ว เป็นสาเหตุของอัคคีภัย

ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดของไฟรั่วในบ้านคงหนีไม่พ้นการเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ซึ่งเป็นเหตุรุนแรงที่มีกรณีตัวอย่างให้เห็นกันมาแล้วมากมาย เพราะการที่ภายในบ้านมีกระแสไฟฟ้ารั่วจะทำให้มรการไหลของกระแสไฟฟ้าจนเกิดความร้อนขึ้น หากไม่รู้ตัว หรือไม่รีบแก้ไข ปล่อยเอาไว้นานจนเกิดการสะสมความร้อนในปริมาณมากพอจนเกิดการติดไฟ ก็จะทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างไม่คาดไม่ถึงเลยครับ ดังนั้น การใช้ อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว คอยตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยเลยครับ วิธีเช็คไฟรั่ว

• รู้ได้อย่างไรว่าเกิดไฟรั่วในบ้าน

เมื่อได้ทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีไฟรั่วภายในบ้านกันไปแล้ว คำถามต่อมาคือจะทราบได้อย่างไรว่าไฟฟ้าในบ้านยังเป็นปกติ หรือมีจุดไหนที่กำลังมีไฟรั่วอยู่ จริง ๆ แล้วในเบื้องต้นเราสามารถลองสังเกตสัญญาณเตือนไฟฟ้ารั่วที่อาจทำให้เกิดไฟช็อตภายในบ้านได้ ด้วยจุดสังเกตต่าง ๆ ดังนี้ครับ

1. สังเกตได้จากค่าไฟที่สูงขึ้นจนผิดปกติ

อย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่าเหตุใดการเกิดไฟรั่วจึงส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้น ดังนั้น หากพบว่าบิลค่าไฟฟ้าสูงขึ้นจนผิดปกติทั้ง ๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้าในบ้านโดยเฉลี่ยเท่าเดิม และไม่ได้เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการเพิ่มค่า FT ของการไฟฟ้า ก็ให้รีบตรวจสอบโดยให้ลองสังเกตดูอัตราการหมุนของมิเตอร์ไฟฟ้าว่ามีความเร็วสม่ำเสมอหรือไม่ หรืออาจลองทดสอบโดยการจดเลขมิเตอร์เอาไว้ จากนั้นให้ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในบ้านโดยไม่ต้องดึงเบรกเกอร์หรือคัทเอาท์ลง แล้วลองสังเกตที่มิเตอร์ว่าแผ่นจานด้านในมิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่ หากแผ่นจานที่ว่านี้ยังคงหมุนอยู่ หรือหากทิ้งไว้สักพักแล้วค่าตัวเลขมิเตอร์ยังขยับเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงยังมีไฟฟ้าอยู่ในระบบ และอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งภายในบ้านนั่นเองครับ

2. สังเกตได้จากเครื่องตัดไฟในบ้านที่ตัดไฟบ่อยจนผิดปกติ

สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่มีการติดตั้งตามอาคารบ้านเรือน หรือที่เรียกกันว่า RCD นั้น จะเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ตรวจจับค่าไฟฟ้าและตัดไฟเมื่อค่าไฟฟ้านั้นเกินกว่าค่ามาตรฐานที่เริ่มเป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยอุปกรณ์ RCD นี้จะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองแบบ นั่นคือ RCCB ที่ใช้ตัดไฟรั่วแบบเฉพาะจุด และ RCBO ที่สามารถใช้ได้ทั้งตัดไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟช็อต และ ไฟฟ้าลัดวงจร แบบครอบคลุมทั้งบ้าน หากใช้เป็นเมนสวิตช์ก็จะสามารถใช้แทนเบรกเกอร์ได้ เรียกได้ว่า RCD เป็น อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว อีกประเภทก็ได้ครับ เพราะไม่ว่าจะเป็น RCD แบบไหน กรณีที่มีไฟรั่วหรือไฟเกิน ระบบจะทำการตัดไฟแบบอัตโนมัติ ดังนั้น ข้อสังเกตุเบื้องต้นคือหากมีการตัดไฟบ่อย ๆ และตรวจสอบแล้วตัวเครื่องยังทำงานปกติ ไม่มีการขัดข้อง นั่นก็อาจหมายถึงการมีไฟรั่วภายในบ้านนั่นเองครับ
เบรกเกอร์กันไฟรั่ว ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต เซอร์กิตเบรกเกอร์

3. สังเกตได้จากการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าถูกไฟดูด

สิ่งผิดปกติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถใช้เป็นข้อสังเกตว่าภายในบ้านอาจมีไฟรั่ว คือ การสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า จุดติดตั้งระบบไฟฟ้า หรือโครงโลหะต่าง ๆ ภายในบ้านแล้วารู้สึกว่าถูกไฟดูดนั้นเองครับ เพราะโดยปกติแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ง่ายหรือมีโครงสร้างโลหะ รวมถึงบริเวณต่าง ๆ ภายในบ้านที่มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่จะมีการติดตั้งสายดินไว้ภายในระบบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน สายดินจะทำหน้าที่นำไฟฟ้าที่รั่วไหลลงดินผ่านทางสายดิน แทนที่จะผ่านร่างกายเรา ดังนั้น หากต่อสายดินอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว แต่ยังรู้สึกว่าถูกไฟดูดบ่อย ๆ แม้ว่าจะเป็นอาการไฟดูดเล็กน้อย ไม่ได้รุนแรงมาก แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่าอาจมีไฟรั่วที่จุดใดจุดหนึ่งในบ้านหรือในบริเวณนั้น ๆ เช่นกันครับ

4. สังเกตได้จากอุณหภูมิภายในบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติ

อีกหนึ่งข้อสังเกตที่เคยมีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นแล้ว คือเรื่องของอุณหภูมิภายในบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นจนผิดปกติ โดยผิดปกติในที่นี้คือความร้อนในบ้านนั้นร้อนขนาดที่นำไข่ไก่มาวางไว้ที่พื้นบ้านสักพักไข่ไก่นั้นสามารถกลายเป็นไข่ลวกได้เลยครับ แต่เมื่อมีการทดสอบโดยการตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านแล้วจึงพบว่าอุณภูมิภายในบ้านค่อย ๆ ลดลงจนกลับมาเป็นปกติ เมื่อตรวจสอบโดยละเอียดจึงพบว่ามีไฟรั่วบนฝ้าเพดาน ทำให้กระแสไฟไหลลงดินไปตามคานปูนเสริมเหล็กใต้พื้นดิน จนส่งผลให้บ้านร้อนกว่าปกติไปมาก และสอดคล้องกับค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นแบบผิดปกติ เรื่องของอุณภูมิภายในบ้านจึงเป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตที่บ้านกำลังบอกเราอยู่ได้ครับ อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว

• วิธีเช็คไฟรั่ว อย่างปลอดภัยด้วยไขควงเช็คไฟรั่ว

หลาย ๆ คนคงคุ้นหูกับคำว่าไขควงลองไฟ หรือไขควงวัดไฟกันมาบ้างแล้ว โดยเครื่องมือชิ้นนี้ถือเป็น อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว ที่ควรมีไว้ติดบ้านมาก ๆ เลยครับ เพราะ ไขควงเช็คไฟรั่ว นี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านว่ามีปัญหาไฟรั่วหรือไม่ เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก และที่สำคัญคือใช้งานง่ายมาก ๆ โดยไขควงวัดไฟนี้สามารถแบ่งได้สองแบบ คือ ไขควงวัดไฟแบบธรรมดาที่มีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับ และไขควงวัดไฟแบบตัวเลขดิจิตอล ซึ่งมีวิธีใช้งานดังนี้ครับ 1. ไขควงเช็คไฟรั่ว แบบธรรมดาจะประกอบด้วยหลอดนีออนต่ออยู่กับความต้านทานค่าสูง โดยความต้านทานนี้จะทำหน้าที่จำกัดปริมาณกระแสไฟที่จะไหลผ่านหลอดนีออนและร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะใช้งาน หากนำไปแตะกับส่วนที่มีไฟจะถือเป็นการต่อไฟครบวงจร ไฟฟ้าจะไหลจากปลายไขควงวัดไฟผ่านหลอดนีออน ตัวต้านทาน มือและร่างกายลงสู่พื้นดินที่ยืนอยู่ หากมีไฟรั่วหรือแรงดันสูงหลอดนีออนตรงปลายไขควงก็จะสว่างขึ้นครับ โดยไขควงลองไฟทั่วไปมักจะมีปุ่มที่บริเวณด้านบน หรือเป็นแบบคลิปหนีบปากกาสำหรับให้ใช้นิ้วแตะเพื่อให้ไฟไหลครบวงจรผ่านร่างกาย ไฟนีออนจึงจะติดแดงขึ้นมาได้ 2. ควรเลือกใช้ไขควงวัดไฟให้เหมาะสมกับชนิดของไฟฟ้า ซึ่งจะมีไฟฟ้ากระแสตรง DC แบบที่ใช้ในรถยนต์ และไฟฟ้ากระแสสลับ AC ที่มาจากการไฟฟ้าฯ เพื่อใช้งานทั่วไปภายในอาคารบ้านเรือนครับ 3. นอกจากชนิดของไฟฟ้าแล้ว ขนาดแรงดันไฟฟ้าก็ต้องพอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป การวัดไฟฟ้าในบ้านที่ใช้ไฟ 200 – 250 โวลต์ แต่ใช้ไขวงวัดไฟสำหรับแรงดัน 80 – 125 โวลต์ อาจทำให้รู้สึกว่ามีไฟรั่วผ่านไขควงมากเวลาสัมผัส และไม่ปลอดภัยนัก 4. วิธีเช็คไฟรั่ว ด้วยไขควงวัดไฟต้องระมัดระวังไม่ไปแตะหรือสัมผัสส่วนเปลือยของไขควง หรือควรเลือกใช้ไขควงวัดไฟที่มีฉนวนหุ้มให้เหลือเฉพาะส่วนปลายที่ต้องใช้สัมผัสวัตถุ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจรครับ อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว
ไขควงลองไฟ ปากกาวัดไฟฟ้า ปากกาเช็คกระแสไฟ
5. การใช้ ไขควงเช็คไฟรั่ว ที่ถูกต้องคือการใช้ปลายไขควงแตะลงบนวัตถุที่ต้องการทดสอบก่อน จากนั้นใช้นิ้วแตะที่ปุ่มด้านบน หรือตรงคลิปหนีบให้ครบวงจร และผู้ทดสอบต้องไม่สวมรองเท้าหรือยืนอยู่บนฉนวน เพราะอาจทำให้ไฟไม่ติด และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าไม่มีไฟรั่วได้ครับ 6. ขณะใช้งานไขควงวัดไฟต้องระมัดระวังไม่ให้ไขควงไปแตะหรือสัมผัสถูกส่วนที่เป็นขั้วไฟคนละชั้วพร้อมกัน โดยเฉพาะในพื้นที่แคบ ๆ ที่อาจมีขั้วไฟต่างเฟส หรือขั้วไฟ ขั้วดิน และขั้วนิวทรอลอยู่ใกล้ ๆ กัน เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนมีประกายไฟพุ่งอย่างรุนแรง เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานมาก ๆ ครับ 7. ห้ามนำไขควงวัดไฟไปใช้ทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดัน หรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยเด็ดขาด 8. สำหรับไขควงวัดไฟที่ไม่ได้มีการใช้งานมานาน หลอดไฟนีออนหรือตัวต้านทานที่อยู่ภายในอาจชำรุด หรือหากเป็นไขควงวัดไฟแบบดิจิตอล ไฟแสดงผลก็อาจไม่ทำงาน ดังนั้นก่อนการใช้งาน ไขควงเช็คไฟรั่ว ทุกครั้งจึงควรทดสอบอุปกรณ์กับส่วนที่รู้แน่ชัดอยู่แล้วว่ามีไฟเสีย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของไขควงวัดไฟเสียก่อนครับ 9. ในกรณีที่ทดสอบแล้วพบว่าไขควงวัดไฟชำรุด ห้ามนำไขควงวัดไฟนั้นไปซ่อมหรือดัดแปลงเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่เด็ดขาดครับ ไขควงเช็คไฟรั่ว

• ปัญหาไฟรั่วในบ้านป้องกันได้อย่างไร

แม้ว่าปัญหาไฟฟ้ารั่วจะสามารถแก้ไขได้ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นก่อนย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอครับ เช่นเดียวกันกับการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วภายในบ้านที่กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะปัญหาจากไฟรั่วอาจสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาล ซึ่งการป้องกันปัญหาไฟรั่วในบ้านก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้ครับ 1. ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน เพื่อช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอันตรายจากไฟฟ้ารั่วที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยสัญลักษณ์ของสายดินคือจะเป็นสายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง ส่วนที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นให้เลือกแบบที่เต้าเสียบเป็นแบบสามขา เพื่อใช้กับเต้ารับแบบสามรูครับ 2. ติดตั้ง อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว และป้องกันไฟรั่ว หรือ RCD ไว้ภายในบ้าน ซึ่งจะช่วยตัดไฟเมื่อเกิดไฟรั่วจนถึงค่ากระแสรั่วที่กำหนดโดยอัตโนมัติ 3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจุดติดตั้งระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่บนพื้นผิวที่เปียกแฉะครับ 4. เลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก แผ่นไม้แห้ง เป็นต้น หรือหากต้องซ่อมแซมงานระบบไฟฟ้าก็ให้หาวัสดุเหล่านี้มาปูพื้นและยืนบนนั้นขณะซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยครับ 5. หากสงสัยว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจุดติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านมีไฟรั่วหรือไม่ ควรทำการทดสอบด้วย ไขควงเช็คไฟรั่ว อย่างถูกวิธี ไม่ควรไปสัมผัสบริเวณจุดต้องสงสัยโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตนั่นเองครับ ไขควงเช็คไฟรั่ว ทั้งหมดนี้คือ วิธีเช็คไฟรั่ว ด้วยการใช้ ไขควงเช็คไฟรั่ว ที่ HomeGuru ได้รวบรวมเอาเทคนิคการใช้งานที่ถูกต้องมาฝากกัน เพราะไม่ว่าจะซ่อมแซม แก้ไช หรือทดสอบอะไรก็ตาม ย่อมต้องให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะระบบงานไฟฟ้าที่ประมาทไม่ได้เด็ดขาดครับ และสำหรับใครที่กำลังมองหาไขควงวัดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และครบครันก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อกันได้ที่โฮมโปรทุกสาขา หรือช้อปออนไลน์ง่าย ๆ แค่คลิก www.homepro.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ HomePro Call Center 1284 ครับ หากตรวสอบในเบื้องต้นแล้วพบว่า ไฟดับ ไฟรั่ว เพื่อความชัวร์และปลอดภัย ควรเรียกช่างฉุกเฉินเฉพาะทางมาแก้ไขดีกว่านะครับ
สอบถามบริการเพิ่มเติม/เรียกช่างฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ได้ที่ Facebook : Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice Call Center : 1284 Mobile app : https://bit.ly/372RTMT

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ