5 จุด เช็คบ้านก่อนฝนมา ปลอดภัย ไร้กังวล

5 จุด เช็คบ้านก่อนฝนมา ปลอดภัย ไร้กังวล
"เช็คบ้านก่อนฝนมา" เพราะฤดูฝนเป็นฤดูที่ทำให้การอยู่อาศัยภายในบ้านสุขสบายมากที่สุด ด้วยบรรยากาศฝนพรำช่วยสร้าง ความชุ่มฉ่ำเย็นใจ แค่คิดถึงบรรยากาศเสียงฝนตก พร้อมกับได้นั่งชมหยาดฝนตกลงริมหน้าต่าง เพียงเท่านี้ก็ทำให้การอยู่อาศัยภายในบ้านรู้สึกเพลิดเพลินใจกว่าฤดูร้อนเป็นไหนๆ จริงไหมครับ แต่ในความชุ่มฉ่ำใจนั้น มักมาพร้อมกับสาระพัดปัญหา ทั้งความชื้นก่อให้เกิดเชื้อรา หลังคารั่วซึม น้ำท่วม ขัง หญ้ารก ลมพัดต้นไม้หัก
และอีกสาระพันปัญหาที่ต้องเตรียมการไว้ก่อนหน้าฝนจะมา เพื่อให้ฤดูฝน เป็นฤดูกาลพักผ่อนของคนที่ชื่นชอบการอยู่บ้าน เนื้อหาชุดนี้ HomeGuru ชวนมา ตรวจเช็ค 5 จุดใหญ่ เพื่อเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนฝนมากันครับ
เช็คบ้านก่อนฝนมา

ตรวจเช็ครอยรั่วซึม รอบบ้าน

ก่อนเข้าหน้าฝนควรสำรวจตรวจสอบรอยรั่วรอบๆ ตัวบ้าน โดยเฉพาะจุดใหญ่ๆ อย่างหลังคา เพราะเป็น ส่วนสำคัญที่ต้องสัมผัสกับเม็ดฝนโดยตรง หากเกิดรอยร้าว รั่ว ซึม จะส่งผลให้เกิดปัญหาบานปลายตาม มามาก วิธีสังเกตเบื้องต้น ให้ผู้อ่านสังเกตสีของแผ่นฝ้า หากมีคราบดำหรือน้ำตาลอ่อนๆ เป็นวงรอบๆ เป็นไปได้ว่าเกิดจากน้ำหยดใส่แผ่นฝ้า จำเป็นต้องให้ช่างตรวจหารอยรั่วของหลังคาในบริเวณดังกล่าว
อะคริลิกทากันนํ้ารั่วซึม อะคริลิกทากันนํ้ารั่วซึม อะคริลิกทากันนํ้ารั่วซึม
เช็คบ้านก่อนฝนมา วิธีการแก้ปัญหาไม่ยุ่งยากครับ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กันซึมหลากหลายรูปแบบ ใช้ได้ทั้งหลังคากระเบื้อง คอนกรีตและหลังคา Slab คอนกรีต กรณีเกิดรอยร้าวไม่เกิน 1 มม. สามารถทาน้ำยากันซึมได้เลย หากรอยร้าว 1-5 มม. ให้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์โพลียู-ซีล ร่วมกับน้ำยากันซึม หรือหากรอยรั่วมากกว่า 5 มม. ใช้ร่วมกับเทปชีลตามขนาดของรอยรั่ว ร่วมกับน้ำยากันซึม เว้นแต่รอยรั่วจะกว้างมาก แนะนำให้เปลี่ยน กระเบื้องหลังคา ย่อมสะดวกกว่าครับ
นอกจากหลังคาแล้วผลิตภัณฑ์กันซึม ยังสามารถแก้ปัญหารอยร้าวบนผนังบ้านได้อีกด้วย เพียงแค่ทาทับ อุดรอยรั่ว ฝนที่สาดลงผนัง ไม่สามารถซึมผ่านเข้ามาภายในบ้านได้

ดูแลรักษางานไม้

ไม้กับความชื้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้อยู่ใกล้กัน แต่หลายๆ ส่วนภายในบ้านผลิตหรือตกแต่งด้วยผลิตภัณฑ์ จากไม้ เช่น วงกบ บานหน้าต่าง ประตูระเบียง เฟอร์นิเจอร์ หากต้องเจอกับละอองฝนสาดเข้ามาเป็น เวลานาน ความชื้นจากน้ำจะทำให้เนื้อไม้บางชนิดบวมพองผิดรูปและเกิดเชื้อรา เช็คบ้านก่อนฝนมา กรณีงานไม้ที่อยู่ภายในบ้าน แค่เพียงไม่ให้มีน้ำรั่วจากหลังคาหรือสาดทางช่องหน้าต่าง เช็ดทำ ความสะอาดเชื้อราอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็ช่วยรักษาเนื้อไม้ให้อยู่คงทนได้ แต่สำหรับไม้ที่อยู่นอกบ้าน เช่น ระเบียงไม้, ระแนงไม้ สามารถทาสีย้อมไม้กันน้ำ เพื่อเคลือบเนื้อไม้ให้รองรับการอยู่กลางแจ้ง กลางฝน ได้ดีกว่าเดิม จะช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้อ่านที่ต้องการคงสีธรรมชาติของ เนื้อไม้ไว้ ปัจจุบันมีสีย้อมไม้ชนิดใส ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเนื้อไม้ แต่ยังคงให้สีธรรมชาติของไม้ เช่นเดิมครับ
สีย้อมไม้ สีย้อมไม้ สีย้อมไม้

เช็คปลั๊กไฟในบ้าน และปลั๊กไฟกลางแจ้ง

ปลั๊กไฟในบ้านและปลั๊กไฟกลางแจ้ง เป็นจุดเสี่ยงที่สำคัญมาก เพราะหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล อาจ ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ การออกแบบตำแหน่งปลั๊กไฟจึงต้องไม่ต่ำเกินไป และควรเดินระบบไฟแยก ออกจากส่วนอื่นๆ เพื่อสามารถปิดการใช้งานในช่วงหน้าฝนได้ นอกจากนี้ควรติดตั้งร่วมกับปลั๊กไฟที่มี ฝากครอบ เพื่อป้องกันฝนละอองสาด เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ระบบไฟช่วงหน้าฝนได้อย่างปลอดภัยครับ

ตรวจสอบพื้นที่น้ำขังและพื้นที่เปียกลื่น

อุบัติเหตุในบ้านที่มาพร้อมกับฝน หลายๆ กรณีเกิดจากการเดินลุยน้ำขังบนพื้นที่เปียกลื่น โดยเฉพาะเด็ก และคนชราที่ทรงตัวไม่ค่อยดี หลังฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน เรามักจะพบคราบตะไคร่สีเขียวเกาะติด อยู่บนพื้นคอนกรีตภายนอก หรือคราบดินโคลนลื่นๆ บริเวณกระเบื้องหน้าบ้าน ระเบียงกลางแจ้งและ ทางเดินในสวน สำหรับงานกระเบื้องภายนอก โดยปกติจะเลือกแผ่นกระเบื้องชนิดกันลื่น แต่หากพื้นเปียกชื้นบ่อยครั้งอาจ ก่อให้เกิดคราบเมือกที่ก่อให้เกิดการลื่นได้ แนะนำให้แก้ปัญหาด้วยผลิตภัณฑ์ทากันลื่น ซึ่งจะช่วยป้องกัน คราบสกปรกและช่วยกันลื่นได้ดีกว่าเดิมครับ หรือหากเป็นพื้นวัสดุอื่นๆ เช่น งานหิน พื้นคอนกรีต ก่อน ฝนตกขัดถูทำความสะอาดสักครั้ง เพราะคราบที่สะสมเมื่อโดนความเปียกชื้นจะเกิดการลื่นได้
น้ำยากันลื่น น้ำยากันลื่น น้ำยากันลื่น

ระวังอันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับฝน

ฤดูฝนปีที่ผ่านมา หลายท่านอาจได้ดูข่าวดังในโลกโซเชียล กรณีงูเข้าบ้านผ่านทางชักโครก เพราะฤดูฝน เป็นฤดูที่สาระพัดสัตว์ต้องการที่หลบฝน ทั้งตะขาบ แมงป่อง งู และสัตว์มีพิษหลายๆ ชนิด โดยสัตว์ เหล่านี้จะแทรกตัวมาตามช่องทางรกสายตา ทั้งพุ่มไม้ หญ้า กองขยะ หรือจุดอับสายตา วิธีการป้องกัน เพียงเดินดูรอบๆ บ้าน สังเกตจุดล่อแหลมต่างๆ โดยเฉพาะกิ่งไม้ที่พาดถึงตัวบ้าน ควรตัดแต่งกิ่งให้ดูโปร่งโล่ง เช็คบ้านก่อนฝนมา
ต้นไหนที่พุ่มหนาเกินไปให้ตัดแต่งออก เพราะนอกจากจะเป็นทางเดินของ สัตว์มีพิษแล้ว หากมีลมกรรโชกแรง พุ่มไม้หนาอาจหักล้มลงมาได้ ส่วนสนามหญ้าควรตัดให้ถี่กว่าเดิม เนื่องจากหญ้าเป็นพืชที่ชอบน้ำ ฤดูฝนหญ้าจึงยาวไวกว่าปกติครับ
นอกจาก 5 ข้อ เช็คบ้านก่อนฝนมา ที่กล่าวข้างต้นแล้ว อย่าลืมเช็ครางน้ำฝน ทางระบายน้ำ ว่าอุดตันหรือไม่ และดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ ฟิตติ้งต่างๆ ในบ้านด้วยนะครับ เพราะหน้าฝนประตูอาจจะฝืดจากสนิมหรือการขยายตัวของไม้ได้ สำหรับ ใครที่อยากจะตรวจเช็คสภาพบ้านพร้อมปรับปรุง แวะมาบอกเล่าอาการของบ้านกันได้ที่ Home Service by HomePro มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้านมาให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษา การออกแบบติดตั้ง งาน บริการทาสีผนังทั้งภายนอกและภายใน ซ่อมแซมและปรับปรุงทุกห้องในบ้าน ปูพื้นกระเบื้อง ติดตั้ง Snake Block ป้องกันงูในห้องน้ำ ไปจนถึงบริการติดตั้ง ย้ายจุดเครื่องใช้ไฟฟ้า เรียกได้ว่าครบวงจรครับ เช็คบ้านก่อนฝนมา
สอบถามบริการเพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ