4 วิธีตรวจสอบ

4 วิธีตรวจสอบ
เคยไหมที่อยู่ๆ น้ำที่เคยไหลแรงก็ไหลอ่อน ไหลเอื่อย ปั๊มน้ำทำงานทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิดใช้น้ำด้วยซ้ำ บิลค่าน้ำก็พุ่งพรวดแบบผิดปกติ ทั้งที่ลองพิจารณาดูแล้วว่าสมาชิกในบ้านเท่าเดิม รูปแบบ ช่วงเวลาและปริมาณการใช้น้ำก็ไม่เปลี่ยน แต่ค่าน้ำเพิ่มขึ้นโดยหาสาเหตุไม่พบ หากบ้านไหนที่มีปัญหาแบบนี้อย่านิ่งดูดายนะครับ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณว่ากำลังเกิด น้ำรั่วซึม "ท่อประปารั่ว" หรือท่อประปาแตกที่ไหนสักที่ ทำให้ต้องเสียเงินเปล่าๆ โดยที่ไม่ได้ใช้น้ำ แถมยังอาจทำให้บ้านเกิดน้ำท่วมขัง ส่งผลให้เกิดความชื้นและเชื้อรา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้บ้านผุพังได้เร็วขึ้น ท่อประปารั่ว

วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบท่อประปารั่ว

หนึ่งในจุดที่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมนั้นมักมาจากท่อประปา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ลำเลียงน้ำที่มีทั้งแบบเดินลอยและฝังพื้น ฝังผนัง เนื้อหานี้ “HomeGuru” ชวนมาเรียนรู้วิธีตรวจสอบ ท่อประปารั่ว กันง่าย ๆ เพียง 4 ข้อก็รู้ชัด เพื่อรับมือกับปัญหาได้ถูกทาง ท่อประปารั่ว

1. เดินสำรวจรูรั่วและร่องรอยน้ำตามท่อประปา

หากท่อประปาที่บ้านเป็นแบบเดินลอย คือสามารถเห็นท่อได้ชัดเจนทุกจุด การตรวจสอบตำแหน่งรั่วทำได้ไม่ยาก เพราะจะเห็น น้ำไหลซึม น้ำขัง บนพื้นสนามหญ้าและมี น้ำรั่วซึม ตรงร่องรอยข้อต่อของท่อได้ชัดเจน ถ้ามีรอยรั่วรอยแตกมากจะรู้สึกได้ว่าน้ำไหลอ่อนลงไม่ค่อยแรงเหมือนเดิม สำหรับวิธีการตรวจสอบจุดท่อประปารั่วตามข้อต่อและสายท่อที่มองเห็นรอยน้ำเล็กๆ และต้องการความแน่ใจว่าน้ำรั่วซึมจริงหรือไม่ สามารถทำได้โดยการใช้ทิชชู่พันบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดรั่ว แล้วลองใช้น้ำดู จากนั้นปล่อยไว้ 15-30 นาที หากท่อประปามีน้ำรั่วซึมทิชชู่ก็จะเปียกชื้นให้เห็น
ท่อประปา ข้อต่อสามทางเกลียวใน-หนา น้ำยาประสานท่อ
ท่อประปารั่ว

2. ปิดก๊อกน้ำและวาล์วน้ำ สังเกตการทำงานของมิเตอร์

ตรวจสอบด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกจุดให้ปิดสนิท รวมถึง ฝักบัว เครื่องซักผ้าและทดสอบเครื่องใช้ทุกชิ้นที่ต่อท่อกับน้ำว่าไม่มีน้ำซึม ตัวเลขจะคงที่มีการไม่เคลื่อนไหว แต่ถ้าปิดหมดแล้วพบว่ามิเตอร์น้ำยังหมุนอยู่แสดงว่าน่าจะมีการรั่วซึม ให้ลองปิดวาล์วเช็คทีละส่วน ในกรณีที่บ้านมีหลายชั้นวาล์วน้ำมีหลายจุดอาจเริ่มจากการปิดวาล์วจ่ายน้ำที่ชั้นบนก่อน แล้วเช็คมาตรวัดน้ำดู หากตัวเลขหน้าปัดมิเตอร์น้ำยังไม่หยุดเดิน ก็สลับไปเปิดวาล์วจ่ายน้ำชั้นล่างหรือจะปิดทั้งหมดก่อนและเปิดเช็ควาล์วเป็นจุดๆ ไป ก็จะทำให้มองหาจุดที่คาดว่าท่อประปารั่วได้ง่ายขึ้น ท่อประปารั่ว

3. สังเกตการทำงานเครื่องปั๊มน้ำ

ปกติบ้านที่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำจะทราบดีว่าเครื่องปั๊มจะดังทุกครั้งที่มีการเปิดใช้งานก็อกน้ำหรือกดชักโครก และไม่ดังเมื่อไม่ได้ใช้งาน หากเจ้าของบ้านได้ยินทำงานของปั๊มน้ำเป็นระยะถี่ขึ้นหรือดังแม้จะไม่มีการใช้น้ำ แสดงว่าน่าจะมีการรั่วซึมของน้ำเกิดขึ้น จุดน้ำรั่วที่สัมพันธ์กับการทำงานของปั๊มน้ำที่มักพบบ่อยคือ น้ำรั่วในห้องน้ำตรงชักโครก สามารถลองเช็คยางอุดชักโครกโดยยกลูกลอยขึ้นหาเชือกผูกเอาไว้ จากนั้นเปิดน้ำให้เต็มถังพักน้ำและปิดวาวล์น้ำที่ไหลเข้าถัง แล้วรอดูระดับน้ำ 1 ชั่วโมง หากน้ำลดแสดงว่ามีการรั่ว หรือในกรณีที่มีท่อประปาหลุดใต้พื้นบ้าน ซึ่งมีสาเหตุจากพื้นรอบบ้านทรุดดึงให้ปั๊มออกห่างจากตัวบ้าน ท่อที่ฝังใต้บ้านเกิดฉีกขาดจนน้ำรั่ว ปั๊มน้ำก็ทำงานถี่ขึ้นได้เช่นกัน
ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำ
ท่อประปารั่ว

4. สังเกตความชื้นบนผนังและเพดาน

บ้านหลายๆ หลังที่หารอย ท่อรั่ว ด้วยตาเปล่าจนทั่วก็ยังหาไม่พบ จุดรั่วอาจอยู่ที่ท่อประปาแบบฝังพื้น ฝังบนผนัง หรือซ่อนบนเพดานเพื่อความสวยงาม ซึ่งจะเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการหาจุดรั่ว แต่เราอาจสังเกตได้ (หากอาการแสดงชัด) คือ ผนังมีความชื้นตามแนวท่อจนผนังหลุดล่อน, เพดานมีคราบน้ำสีน้ำตาลและเชื้อราดำขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอาจมีการรั่วซึมของท่อน้ำเกิดขึ้นแล้ว ข้อนี้อาจต้องให้ช่างผู้ชำนาญการที่มีเครื่องมือในการหาจุดที่รั่ว เพื่อให้พบต้นตอที่ชัดเจน ท่อประปารั่ว การอยู่ร่วมกับคนในครอบครัวที่ใส่ใจซึ่งกันและกัน จะมองเห็นสิ่งผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ที่ส่งสัญญาณออกมา ทำให้การรับมือและแก้ไขทำได้ง่าย ไม่เรื้อรังยาวนาน ปัญหาเกี่ยวกับบ้านก็เช่นเดียว หากหมั่นใส่ใจ ดูแลอยู่เสมอ ย่อมรู้ได้เร็ว ได้ไวและแก้ไขได้ตรงจุด

อย่าปล่อยให้น้ำหยดเดียวเป็นชนวนก่อให้เกิดปัญหาบานปลายที่แก้ได้ยากในภายหลัง


สอบถามบริการตรวจเช็คระบบน้ำเพิ่มเติม Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ @Homeproservice Call Center 1284

ปัญหาเรื่องบ้านที่น่าสนใจ

เพิ่มสินค้าจำนวน ชิ้นลงรถเข็นแล้ว
{product_name}
จำนวน 1 ชิ้น
สินค้าแนะนำ